นิยาม
กระแสความถี่สองกระแสที่ไม่เหมือนกันตัดผ่านในร่างกาย จุดที่ตัดกันนั้นจะส่งผลรบกวนสนามไฟฟ้าทำให้เซลล์มะเร็งมีมีอุณหภูมิระดับ42.5 องศาเซลเซียส ถึง 43.5 องศาเซลเซียส ทำต่อเนื่องกันอย่างต่ำ 40 นาที ทำให้เซลล์มะเร็งถูกระงับการเจริญเติบโตและทำให้เซลล์นั้นตายได้ ทั้งทำให้เซลล์นั้นได้รับพิษเคมีโดยตรง อีกทั้งส่งเสริมผลลัพธ์ของการทำคีโมและฉายแสงให้ดีขึ้นได้ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
หลักการ
เนื่องจากสภาพของเนื้องอกมีเส้นเลือดของเนื้อเยื่อเจริญเติบโตและหลอดเลือดมีความต้านทานมากกว่าที่อื่นและประสาทรับความรู้สึกความร้อนแย่กว่าเส้นเลือดปกติ จึงลำบากในการระบายความร้อน เมื่อใช้เทคนิคการให้ความร้อนเนื้อเยื่อก้อนเนื้อมีอุณหภูมิสูงกว่าเนื้อเยื่อปกติประมาณ 5 ถึง10 องศาเซลเซียส เนื้อเยื่อปกติจะทนต่อความร้อนได้42.5 องศาเซลเซียส ถึง 43.5 องศาเซลเซียส แต่เซลล์มะเร็งจะทนไม่ได้ การให้ความร้อนนั้นจึงทำลายเซลล์เนื้อเยื่อมะเร็งและไม่มีผลกระทบต่อเซลล์เนื้อเยื่อปกติ เช่น ไม่มีผมร่วง ไขกระดูกทำงานผิดปกติ เป็นต้น
ทำไมความร้อนสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้
1.ความร้อนจะสามารถทำลายเยื้อหุ้มเซลล์มะเร็งก่อน ในขณะเดียวกันความร้อนสามารถยับยั้ง DNA และ RNA และการสังเคราะห์โปรตีน ทำให้มีการยับยั้งเซลล์มะเร็งมากขึ้น ส่งผลให้เซลล์มะเร็งถูกทำลาย
2.ความร้อนทำให้ Lysosomal มีการเพิ่มจำนวนมากขึ้นในมะเร็ง ปล่อยกรด Hydrolases จำนวนมาก ทำให้เยื่อหุ้มเซลล์มะเร็งมีการแตกร้าวส่งผลให้เซลล์มะเร็งถูกทำลาย
3.ความร้อนสามารถยับยั้งการหายใจของเซลล์มะเร็ง ส่งผลให้ออกซิเจน Glycolysis มีจำนวนเพิ่มขึ้น เกิดจากการสะสมของกรดแลคติก ความเป็นกรดและเอนไซม์ในร่างกายมีจำนวนเพิ่มขึ้น ในที่สุดส่งผลทำให้เซลล์มะเร็งถูกทำลาย
4.ความร้อนสามารถ ป้องกันการสั่งการและเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ปรับค่าการกำจัดเซลล์มะเร็งในร่างกาย ซึ่งข้อดีตรงนี้การทำคีโม การฉายแสงและการผ่าตัดไม่สามารถเทียบได้เลย
จุดเด่น
1.มีผลข้างเคียงน้อย
2.คอมพิวเตอร์ควบคุมอุณหภูมิความร้อนได้อย่างแม่นยำ
3.การเพิ่มความร้อนตามสถานะภายนอกและภายในของเนื้องอก ถ้าใช้ควบคุ่กับการทำคีโมและการฉายแสง จะทำให้ผลลัพธ์ของการทำคีโมและฉายแสงได้ผลที่ดียิ่งขึ้น
ผู้ป่วยที่เหมาะสมใช้วิธีนี้
1.มะเร็งที่แสดงออกตามร่างกาย
2.ผู้ที่มีอาการน้ำท่วมที่ช่องอกหรือช่องท้อง
3.มะเร็งที่อยู่ลึกตรงหน้าอก มะเร็งที่หน้าท้องและมะเร็งที่เชิงกราน
4.มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ มะเร็งรังไข่ และมะเร็งมดลูกเป็นต้น