โรคตับแข็งเป็นโรคตับเรื้อรังชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย สามารถเกิดจากหนึ่งปัจจัยหรือหลายปัจจัยที่ทำลายตับเป็นเวลานาน ตับจะเกิดรอยโรคที่ค่อยๆ เป็นมากขึ้น มีลักษณะกระจายและเป็นพังผืด อาการแสดงคือ เซลล์ตับตายลงแบบแพร่กระจาย เนื้อเยื่อเกิดพังผืดเพิ่มขึ้นและต่อเนื่อง อีกทั้งเซลล์ตับเกิดก้อนเล็กๆ ตะปุ่มตะป่ำขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาการทั้งสามนี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงสลับกันไป ทำให้โครงสร้างของกลีบตับและทางไหลเวียนของเลือดค่อยๆ เปลี่ยนไป ตับจึงเปลี่ยนรูปร่าง แข็งขึ้นและกลายเป็นตับแข็งในที่สุด
ตามตัวเลขสถิติที่ 55 ประเทศเสนอให้กับองค์การอนามัยโลก (WHO) นั้นแสดงให้เห็นว่า ทั่วโลกจะมีจำนวนคนเสียชีวิตด้วยโรคตับแข็งมากกว่า 3 แสน 1 หมื่นคนต่อปี แต่หลายปีมานี้ตัวเลขได้เพิ่มขึ้นเป็น 5 แสนคน ในภาคตะวันตกของยุโรปและสหรัฐอเมริกา ตัวเลขของผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคตับแข็งนั้นอยู่ในลำดับที่ 5 ของสาเหตุการเสียชีวิต ซึ่งเป็นรองเพียงโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเท่านั้น โรคตับแข็งมักพบมากในผู้ที่มีอายุระหว่าง 21 - 50 ปี หรือประมาณ 85% ของผู้ป่วยโรคตับแข็งทั้งหมด โดยเปรียบเทียบระหว่างเพศชายกับเพศหญิงเป็น 4 - 8 : 1 ซึ่งเพศชายวัยกลางคนจะมีโอกาสเป็นโรคตับแข็งมากที่สุด
มีสาเหตุมากมายที่ก่อให้เกิดโรคตับแข็งได้ ซึ่งสาเหตุหลักๆ ได้แก่ โรคตับอักเสบจากไวรัส เช่น โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคไวรัสตับอักเสบซี เป็นต้น นอกจากนี้ยังเกิดจากปัจจัยเสี่ยงเรื้อรัง เช่น โรคตับจากการดื่มแอลกอฮอล์ โรคไขมันพอกตับ ภาวะคั่งของน้ำดี ยา โภชนาการ เป็นต้น
1. โรคตับอักเสบจากไวรัส : ปัจจุบันในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โรคตับอักเสบจากไวรัส โดยเฉพาะโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคตับแข็งที่มีภาวะความดันในหลอดเลือดดำสูง
2. ติดแอลกอฮอล์ : การดื่มสุราปริมาณมากเป็นเวลานาน เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคตับแข็งได้ ซึ่งในปัจจุบันเข้าใจว่า แอลกอฮอล์อาจจะมีพิษต่อตับโดยตรง ทำลายเซลล์ตับอย่างรุนแรง
3. การขาดโภชนาการ : นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นว่า การขาดโภชนาการจะทำให้ความสามารถในการต้านพิษและไวรัสของเซลล์ตับลดลง กลายเป็นสาเหตุทางอ้อมที่ทำให้เกิดโรคตับแข็ง
4. สารพิษจากอุตสาหกรรมและยา : การสัมผัสกับสารพิษจากอุตสาหกรรมเป็นเวลานานหรือซ้ำกันหลายครั้ง หรือการใช้ยาบางประเภทเป็นเวลานาน สามารถทำให้ตับอักเสบจากสารพิษหรือตับอักเสบจากยา ซึ่งกระตุ้นให้เกิดโรคตับแข็งได้
5. ความผิดปกติของระบบการหมุนเวียน : ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบแบบหดรั้งเรื้อรัง จะทำให้ตับขาดออกซิเจนเนื่องจากมีเลือดคั่่งที่ตับเป็นเวลานาน ทำให้เซลล์ตับตายและกลายเป็นพังผืด เรียกว่า โรคตับแข็งแบบเลือดคั่งหรือโรคตับแข็งจากหัวใจ ( cardiac cirrhosis )
6. ความผิดปกติของการเผาผลาญอาหาร
7. การคั่งของน้ำดี : เมื่อท่อน้ำดีภายนอกตับอุดตันหรือมีน้ำดีคั่งในตับ สารบิลิรูบินที่มีความเข้มข้นสูงจะทำลายเซลล์ตับ หากน้ำดีคั่งเป็นเวลานานก็จะทำให้เกิดโรคตับแข็ง
8. โรคพยาธิใบไม้ในเลือด (Schistosomiasis) : เนื่องจากไข่ของพยาธิที่อยู่บริเวณกลุ่มหลอดเลือดจะกระตุ้นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันให้เจริญเกิน จนกลายเป็นตับพังผืดจากพยาธิ ซึ่งสามารถก่อให้เกิดภาวะความดันสูงในระบบหลอดเลือดดำของตับ เรียกว่า โรคตับแข็งจากโรคพยาธิใบไม้ในเลือด (Schistosomiasis)
9. สาเหตุไม่ชัดเจน : สาเหตุของโรคตับแข็งบางส่วนยังไม่ชัดเจน เรียกว่า คริปโตเจนนิค เซอร์โรสิส ( cryptogenic cirrhosis )
จากการวินิจฉัยระยะแรกพบว่า เนื่องจากระบบการทำงานทดแทนของตับยังค่อนข้างแข็งแรง จึงทำให้อาการยังไม่ชัดเจน แต่ในระยะท้ายๆ ระบบจำนวนมากของร่างกายจะได้รับผลกระทบเนื่องจากสมรรถภาพการทำงานของตับเสื่อมลง ซึ่งมีอาการแสดงสำคัญคือ ตับทำงานผิดปกติและเกิดภาวะความดันสูงในระบบหลอดเลือดดำของตับ อีกทั้งเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ทางเดินอาหารมีเลือดออก โรคสมองจากตับ การติดเชื้อทุติยภูมิ โรคมะเร็ง เป็นต้น
1. อยากอาหารน้อยลง : เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดในโรคตับแข็งระยะแรก บางครั้งจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย เนื่องจากส่วนใหญ่ตับที่แข็งจะทำให้เกิดเลือดคั่งในกระเพาะอาหารกับลำไส้ จึงก่อให้เกิดการหลั่งกับการดูดซึมของกระเพาะอาหารและลำไส้ที่ผิดปกติ
2. น้ำหนักลด : เป็นอาการที่พบบ่อยในโรคตับแข็งระยะแรก เนื่องจากความอยากอาหารลดลง รับประทานอาหารไม่เพียงพอ การย่อยอาหารและการดูดซึมของกระเพาะอาหารกับลำไส้ผิดปกติ ทำให้การประกอบโปรตีนไข่ขาวในร่างกายลดลง
3. อ่อนเพลีย ไม่มีแรง : เป็นหนึ่งในอาการที่พบในโรคตับแข็งระยะแรก จากอาการอ่อนเพลียเล็กน้อยจนกระทั่งไม่มีแรง ซึ่งสัมพันธ์กับการดำเนินของโรคตับ
1. ความผิดปกติของการสารคัดหลั่งภายใน : ในโรคตับแข็งระยะสุดท้าย การทำงานของตับจะเสื่อมลงมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ความสามารถทางชีวภาพของฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงโดยตรง ปริมาณสารคัดหลั่งของฮอร์โมนเอสโตรเจนจะสูงขึ้น มีฮอร์โมนเอสโตรเจนในเลือดมาก ขณะเดียวกันฮอร์โมนแอนโดรเจนก็จะถูกยับยั้งไปด้วย เป็นต้น
2. อาการในระบบทางเดินอาหาร : โดยทั่วไปจะมีอาการแสดงคือ ภาวะโภชนาการค่อนข้างต่ำ ความอยากอาหารลดลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อทานอาหารแล้วจะรู้สึกไม่สบายท้องส่วนบน ท้องอืด คลื่นไส้กระทั่งอาเจียน โรคตับแข็งระยะสุดท้ายจะมีความทนรับต่อไขมันและโปรตีนค่อนข้างต่ำ หากทานอาหารมันๆ จะทำให้ท้องเสียง่าย ผู้ป่วยโรคตับแข็งจะรู้สึกท้องอืดแทบทนไม่ไหวเนื่องจากอาการท้องมานและมีแก๊สในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งในระยะสุดท้ายมักเกิดอาการลำไส้เป็นพิษเนื่องจากมีแก๊ส
3. เลือดออกง่ายและโลหิตจาง : โรคตับแข็งระยะสุดท้ายมักเกิดอาการเลือดกำเดาไหล เลือดออกตามเหงือก รวมทั้งเลือดออกใต้ผิวหนัง เยื่อเมือกทางเดินอาหารเป็นแผลเลือดออก เลือดออกโพรงจมูก อาเจียนเป็นเลือดและอุจจาระเป็นสีดำ ผู้หญิงมักจะมีเลือดประจำเดือนออกมามาก เป็นต้น
4. ท้องมาน : ก่อนเกิดอาการท้องมานในโรคตับแข็งระยะสุดท้ายมักเกิดอาการท้องอืด มีน้ำในท้องมาก ทำให้ท้องพอง ผนังท้องตึงเหมือนกับท้องของกบ ทำให้ผู้ป่วยเดินไม่สะดวก
5. ความดันสูงในระบบหลอดเลือดดำของตับ : มีอาการแสดงคือ เส้นเลือดดำในหลอดอาหารโป่งขอด ม้ามโตขึ้น มีน้ำในท้อง เป็นต้น ซึ่งอาการเส้นเลือดดำในหลอดอาหารโป่งขอดนั้นเป็นอันตรายที่สุด เนื่องจากผนังเส้นเลือดดำที่โป่งขอดจะบางมากจึงแตกได้ง่าย ทำให้เกิดเลือดออกในทางเดินอาหาร
6. อาการอื่นๆ ทั่วร่างกาย : อาการอ่อนเพลียไม่มีแรงเป็นหนึ่งในอาการของโรคตับแข็งระยะสุดท้าย ซึ่งผู้ป่วยโรคตับแข็งระยะสุดท้ายส่วนใหญ่จะมีอาการผิวหนังหยาบกร้าน หน้าตาหมองคล้ำร่วมด้วย
1. การตรวจโดยภาพถ่ายทางการแพทย์ : การตรวจอัลตราซาวด์ตับ น้ำดีและม้าม ซึ่งการตรวจอัลตราซาวด์ตับคือการประเมินระดับของโรคตับแข็ง สามารถพิจารณาร่วมกับระดับค่า AFP ( alpha-fetoprotein ) ที่สูงขึ้น และยังเป็นวิธีที่สำคัญในการตรวจพบมะเร็งตับระยะแรกอีกด้วย
2. การตรวจสาเหตุของโรค : การตรวจสาเหตุของโรครวมถึงการตรวจเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและ HBVDNA หากไวรัสตับอักเสบบีแสดงผลว่าเอนติเจนเป็นบวกก็บ่งชี้ว่าเป็นผู้ที่มีพาหะไวรัสตับอักเสบบี
3. การตรวจสมรรถภาพของตับ : เพื่อทำความเข้าใจอาการป่วยของผู้ป่วยโรคตับแข็งว่าหนักเบาแค่ไหน
4. การตรวจค่าบ่งชี้ตับเป็นพังผืด 4 ข้อ : การเป็นพังผืดของตับเป็นขั้นตอนของโรคตับเรื้อรังพัฒนาไปเป็นโรคตับแข็ง การตรวจค่าบ่งชี้ตับเป็นพังผืด 4 ข้อสามารถช่วยตรวจพบเร็วและรักษาโรคตับเป็นพังผืดอย่างทันท่วงที ซึ่งมีความสำคัญมากต่อการหลีกเลี่ยงไม่ให้ตับพังผืดพัฒนาไปเป็นโรคตับแข็ง
5. การตรวจชิ้นเนื้อตับ : การเจาะตรวจชิ้นเนื้อตับสามารถวินิจฉัยโรคตับแข็งได้
6. การตรวจโดยการส่องกล้องช่องท้อง : สามารถตรวจอวัยวะและเนื้อเยื่อในช่องท้อง เช่น ตับ ม้าม เป็นต้น ได้โดยตรง และสามารถเจาะเนื้อเยื่อไปตรวจได้ ซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับผู้ป่วยที่มีความลำบากในการวินิจฉัย
โรคตับแข็งเป็นอาการแสดงหลังการเปลี่ยนแปลงของโรคตับ หากไม่ระมัดระวังก็อาจจะพัฒนากลายเป็นโรคมะเร็งตับได้ ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต เพราะฉะนั้นการตรวจโรคตับแข็งจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
1. วิธีการรักษาโดยทั่วไป
(1) การพักผ่อน : ผู้ที่เป็นตับแข็งระยะต้นควรลดกิจกรรมในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม ส่วนผู้ที่เป็นตับแข็งระยะหลังควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ
(2) อาหาร : ควรรับประทานอาหารที่มีพลังงานสูง โปรตีนและวิตามินสูง อาหารที่ถูกปากอย่างเหมาะสม
(3) วิธีการรักษาแบบประคับประคอง
2. วิธีการรักษาด้วยยาแพทย์แผนจีน : การรักษาโรคตับแข็งด้วยยาแพทย์แผนจีนนั้นมีประวัติมายาวนาน โดยเน้นการปรับความสมดุลของตับ บำรุงเลือดให้ไหลเวียนคล่อง ซึ่งมีบทบาทในการบรรเทาอาการของผู้ป่วยโรคตับแข็งและการป้องกันตับเป็นพังผืด
วิธีการรักษาโรคตับแข็งแบบพิเศษ
เทคโนโลยีการรักษาโดยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด เป็นเทคโนโลยีการรักษาด้วยเซลล์ประเภทหนึ่ง และเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงอีกด้วย ก่อนอื่นต้องใช้เครื่องมือเฉพาะมาคัดแยกเซลล์ต้นกำเนิด แบ่งแยกเลือดภายนอกของผู้ป่วยหรือเซลล์ต้นกำเนิดไขกระดูก จากนั้นทำให้เซลล์สะอาด คัดแยก วินิจฉัยและเพาะเลี้ยงที่ห้องปฏิบัติการปลอดเชื้อ ท้ายสุดจึงนำกลับเข้าไปในร่างกาย โดยการนำเซลล์ต้นกำเนิดเข้าไปในตับผ่านหลอดเลือดแดงของตับ หลังจากเซลล์ต้นกำเนิดถูกปลูกถ่ายไปยังเนื้อเยื่อตับของผู้ป่วย ก็จะแบ่งตัวเป็นเซลล์ตับ เพื่อทดแทนเซลล์ตับที่ถูกทำลายหรือตายไปจากอาการอักเสบและจากเชื้อไวรัส ฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของตับ บรรลุเป้าหมายของการรักษา
สามารถได้รับการสนับสนุนด้านใดได้บ้าง
จากผลการปฏิบัติพิสูจน์ให้เห็นว่า การบริการของทีมแพทย์ซึ่งบูรณาการหลายแขนง เช่น แผนกผ่าตัดเนื้องอก แผนกอายุรกรรมเนื้องอก แผนกแพทย์แผนจีน แผนกพยาธิวิทยา แผนกภาพถ่ายทางการแพทย์ วิสัญญีแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาล เป็นต้น ช่วยกำหนดแผนการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เหมาะสมที่สุด และประหยัดที่สุดให้แก่ผู้ป่วยได้ ช่วยปรับผลการรักษาของผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น
จากระบบทางการแพทย์ที่เน้นการบริการครบถ้วนในครั้งเดียว โดยการบูรณาการหลายแขนงของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว บูรณาการการตรวจและการรักษาให้กับผู้ป่วย ด้านหนึ่งโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเสนอการบริการด้านการแพทย์ที่ครบวงจรให้แก่ผู้ป่วย อีกด้านหนึ่งยกระดับประสิทธิภาพทางการแพทย์ให้สูงขึ้น โดยไม่เพิ่มภาระให้แก่ผู้ป่วย อีกทั้งช่องทางการติดต่อระหว่างแพทย์และผู้ป่วยมีหลายช่องทาง ได้แก่ ทางออนไลน์ ทางอีเมล์ ทางโทรศัพท์ หรือการพบปะกัน เพื่อขยายช่องทางการบริการให้คำปรึกษา ช่วยให้พวกเขารักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ผู้ป่วยจะได้พบนั้นประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักโภชนาการ และล่ามแปลภาษา เป็นต้น เพื่อตอบสนองความต้องการทุกระดับชั้นของผู้ป่วยจากประเทศที่แตกต่างกันให้เป็นที่พอใจ การพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยช่องทางเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการรักษากับทางโรงพยาบาลได้ดียิ่งขึ้น