โรคเบาหวานเป็นชื่อเรียกรวมของภาวะร่างกายเผาผลาญอาหารผิดปกติ ทำให้ปริมาณอินซูลินในร่างกายลดลงหรือใช้อินซูลินได้ไม่เต็มที่ ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากอธิบายแบบง่ายๆ ก็คือ น้ำตาลในเลือดสูงเกินไป แต่เลือดไม่สามารถนำน้ำตาลเหล่านั้นไปใช้ได้ โรคเบาหวานเป็นโรคที่พบเห็นได้กว้างขวาง เป็นปัญหาระบบเผาผลาญอาหารของร่างกายที่พบได้บ่อยที่สุดในโลก โดยบุคคลวัยกลางคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จะมีอัตราการเกิดโรคสูงมาก บางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีอัตราการเกิดโรคเบาหวานสูงถึง 10% ซึ่งหมายความว่า ในจำนวนคนสิบคนจะมีหนึ่งคนที่เป็นผู้ป่วย “โรคเบาหวาน” เมื่อเป็น “โรคเบาหวาน” ก็อาจมีชีวิตสั้นลงสิบกว่าปี และอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนแพร่ไปทั่วร่างกาย
โรคเบาหวานสามารถแบ่งได้เป็น โรคเบาหวานชนิดที่ 1 โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคเบาหวานที่เกิดขณะตั้งครรภ์และโรคเบาหวานจากสาเหตุอื่นๆ โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยประมาณ 95% จะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
โรคเบาหวานเกิดจากความผิดปกติทางเมตาบอลิกหลายอย่างร่วมกัน เนื่องจากระดับคุณภาพชีวิตสูงขึ้น รูปแบบการใช้ชีวิตเปลี่ยนไป ไม่กี่ปีมานี้ จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุการเกิดโรคเบาหวาน จะเกิดจากปัจจัยเสี่ยงสำคัญ 5 ปัจจัย ได้แก่
1. ปัจจัยทางพันธุกรรม
โรคเบาหวานเป็นโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม หากพ่อแม่เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน ลูกที่เกิดมาจะมีอัตราการเป็นโรคเบาหวานสูงกว่าคนปกติ 50%
2. อ้วนเกินไป
เนื่องจากคนที่อ้วนเกินไปจะต้องการอินซูลินมากกว่าคนปกติเพื่อให้เซลล์ดูดซึมน้ำตาลได้ แต่ประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินในร่างกายของคนอ้วนจะค่อนข้างต่ำ
3. ปัจจัยการดำเนินชีวิต
ปัจจัยการดำเนินชีวิตก็สามารถก่อให้เกิดโรคเบาหวานได้ การมีเพศสัมพันธ์เกินพอดีจะส่งกระทบต่อสมรรถนะของอวัยวะในร่างกาย การดื่มสุรามากเกินไปก็จะทำลายตับ การทำงานหนักเกินไป กระทบกระเทือนทางจิตใจมากเกินไป เป็นต้น ก็จะทำให้ตับอ่อนเสียหายและก่อให้เกิดโรคเบาหวานได้
4. ปัจจัยทางสรีรวิทยา
ปัจจัยทางสรีรวิทยาสามารถก่อให้เกิดโรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่ทำงานหนักเกินไปในสมัยวัยรุ่น จนทำให้สมรรถภาพของเซลล์และอวัยวะในร่างกายได้รับความเสียหายหรือเป็นมาตั้งแต่กำเนิดและพัฒนาไม่เต็มที่ จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ ไต ปอด ตับและหลอดเลือด ทำให้การทำงานของตับอ่อนล้มเหลว การหลั่งอินซูลินไม่เพียงพอ ก่อให้เกิดโรคเบาหวาน
5. การตั้งครรภ์
ในช่วงระยะเวลาตั้งครรภ์ 24 - 28 สัปดาห์ จะมีอาการน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคเบาหวานได้
1. ทานอาหารมากขึ้น : ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะรู้สึกหิวบ่อย ทานอาหารมากขึ้น แต่ก็ยังหิวเหมือนเดิม
2. ปัสสาวะมากขึ้น : ปริมาณปัสสาวะเพิ่มขึ้นและบ่อยครั้งขึ้น ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง ก็อาจจะถ่ายปัสสาวะหนึ่งครั้ง หากน้ำตาลในเลือดยิ่งสูง ปริมาณกลูโคสในปัสสาวะก็จะยิ่งมาก ปริมาณปัสสาวะก็ยิ่งมากขึ้นด้วย
3. ดื่มน้ำมากขึ้น : เนื่องจากร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไปจากการปัสสาวะ ปริมาณน้ำที่ดื่มและจำนวนครั้งที่ดื่มจึงเพิ่มมากขึ้น เพื่อไปทดแทนน้ำที่สูญเสียไป
4.น้ำหนักลด : ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะน้ำหนักตัวลดลง ร่างกายผอมแห้ง ผู้ป่วยที่อาการหนักอาจน้ำหนักลดลงถึงห้ากิโลกรัมเลยทีเดียว ทำให้ไม่มีเรี่ยวแรง อ่อนเพลีย
5. ตาล้า ประสิทธิภาพในการมองเห็นลดลง : ตาล้าง่าย ประสิทธิภาพในการมองเห็นลดลงอย่างมาก เมื่อลุกขึ้นยืนตาจะมืด หนังตาตก ตาพร่ามัวมองเห็นไม่ชัด มีอาการจากสายตายาวกลายเป็นสายตาสั้น หรือเป็นสายตาคนแก่อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เป็นต้น
6. มือขาชาและสั่น : ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีอาการมือขาชาและสั่น ทั้งมือและขาเคลื่อนไหวไม่ปกติและรู้สึกปวดเป็นพักๆ ปวดเท้าแบบเส้นประสาทอักเสบอย่างรุนแรง ขาและเท้าชา ปวดเอว ไม่อยากเดิน
การตรวจเลือดและปัสสาวะทางห้องปฏิบัติการ :
(1) การตรวจวัดน้ำตาลในเลือด : ความถี่และเวลาในการตรวจน้ำตาลในเลือดต้องขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วยโรคเบาหวาน หากเป็นโรคเบาหวานในระยะแรก หรือเมื่อมีการปรับแผนการรักษา หรือมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย แนะนำให้เพิ่มจำนวนความถี่ในการตรวจให้เหมาะสม
(2) การตรวจคีโตนในปัสสาวะ : หากผลการตรวจคีโตนในปัสสาวะเป็น + หรือ ++++ แสดงว่าในปัสสาวะมีคีโตน 5 - 160 mg/dl
(3) การตรวจ c-peptide : การตรวจปริมาณของ c-peptide ในเลือดผู้ป่วย สามารถสะท้อนการทำงานของ islet cell (เซลล์ที่ผลิตอินซูลิน)
(4) การตรวจฮีโมโกลบิน (Glycosylatedhemoglobin) : สามารถแสดงให้เห็นถึงสภาพระดับน้ำตาลในเลือดก่อนเจาะเลือด 8 - 12 สัปดาห์ แนะนำให้ 2 - 3 เดือน ไปตรวจหนึ่งครั้ง
(5) การตรวจไขมันในเลือด (ประกอบด้วยคอเลสเตอรอลรวม ไตรกลีเซอไรด์ แอลดีแอล คอเลสเตอรอล) : ผู้ป่วยโรคเบาหวานมักจะมีอาการระดับไขมันในเลือดไม่สม่ำเสมอ ทำให้เกิดหลอดเลือดแดงแข็งตัวหรือโรคหลอดเลือดหัวใจต่างๆ ได้ง่าย
(6) การตรวจการทำงานของตับและไต : โรคไตที่เกิดจากโรคเบาหวานเป็นโรคแทรกซ้อนเรื้อรังที่พบได้บ่อยในโรคเบาหวาน การตรวจปริมาณไข่ขาวในปัสสาวะ (Urinary albumin) การตรวจการทำงานของไต เป็นต้น มีส่วนช่วยในการตรวจพบโรคไตที่เกิดจากโรคเบาหวานในระยะแรกเริ่ม ในขณะเดียวกันผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่จะอ้วน ไขมันในเลือดไม่สม่ำเสมอ ไขมันพอกตับและการทำงานของตับผิดปกติ จึงต้องตรวจการทำงานของตับและไขมันในเลือดด้วย
(7) การตรวจปัสสาวะ : สามารถแสดงให้เห็นภาวะที่ไตทำงานหนักเกินไป การตรวจปริมาณไข่ขาวในปัสสาวะและการตรวจปริมาณเฉพาะของโปรตีนในปัสสาวะภายใน 24 ชั่วโมง จะมีส่วนช่วยในการตรวจวินิจฉัยโรคไตที่เกิดจากโรคเบาหวานในระยะแรกเริ่ม
1. การรักษาทางโภชนาการ : โดยการควบคุมอาหารและออกกำลังกายเพื่อให้น้ำตาลในเลือดลดลงเท่ากับค่าปกติ
2. การรักษาด้วยยา : รับประทานยาเพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด
3. การรักษาด้วยอินซูลิน : หากรับประทานยาแล้วไม่เกิดผล สามารถเลือกการรักษาโดยการฉีดอินซูลิน
4. การรักษาด้วยแพทย์แผนจีน : การรักษาด้วยแพทย์แผนจีนจะเจาะลงตามชนิดของโรคเบาหวานที่แตกต่างกัน โดยการใช้ยาผสานกับโภชนาการอย่างเหมาะสม ซึ่งมีส่วนช่วยในการลดน้ำตาลในเลือดและในปัสสาวะ ทำให้อาการบรรเทาลงหรือหายไป หรือลดปริมาณการใช้ยา ทำให้สภาพอาการมีแนวโน้มคงที่และดีขึ้น โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวไม่เพียงแต่มีผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการตรวจและการรักษาด้วยแพทย์แผนจีนมานานหลายปี ยังมีห้องผู้ป่วยแบบ VIP ที่เสนอบริการด้านโภชนาการ มีนักโภชนาการไปให้คำปรึกษาและแนะนำด้านอาหารการกินอีกด้วย
วิธีการรักษาโรคเบาหวานด้วยเซลล์ต้นกำเนิด คือการนำเซลล์ต้นกำเนิดเข้าไปในเนื้อเยื่ออินซูลินโดยผ่านหลอดเลือดแดง ทำให้เซลล์ต้นกำเนิดแตกตัว แบ่งตัวเป็น islet cell ใหม่ แล้วประกอบเป็นเนื้อเยื่ออินซูลินใหม่ ฟื้นฟูการทำงานและปริมาณฮอร์โมนอินซูลิน จึงบรรลุเป้าหมายการรักษาโรคเบาหวาน ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ต้องใช้เซลล์ต้นกำเนิดที่มีคุณภาพสูง โดยการนำเซลล์ต้นกำเนิดจากร่างกายผู้ป่วยมาทำการแบ่งตัวอย่างง่ายๆ แล้วฉีดกลับเข้าไปในร่างกายผู้ป่วยเพื่อทำการรักษา ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วมักจะไม่ได้ผลการรักษาที่ดีมากนัก แต่ทางโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวประเทศจีน จะใช้เทคโนโลยีพิเศษทำการเพาะเลี้ยงแบ่งตัวเซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งสามารถให้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพดี