มะเร็งต่อมไทรอยด์คือมะเร็งที่เกิดขึ้นในเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ อัตราการเป็นโรคตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไปเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อายุ 30 - 40 ปีเป็นวัยที่มีอัตราการเป็นโรคสูงที่สุด และผู้ป่วยหญิงเป็นมากกว่าผู้ป่วยชาย หากเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์แล้วไม่รีบรักษา ก้อนเนื้อจะโตขึ้นทุกวัน ผู้ป่วยที่ก้อนเนื้อมีขนาดค่อนข้างใหญ่จะมีอาการหายใจลำบาก กลืนลำบาก เสียงแหบ เป็นต้น เนื่องมาจากก้อนเนื้อกดทับหลอดลม หลอดอาหารและเส้นประสาทกล่องเสียง ดังนั้นแล้ว เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์แล้วควรจะรีบดำเนินการรักษาทันที
ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวบอกว่า มะเร็งต่อมไทรอยด์ระยะแรกมักจะเลือกใช้วิธีการผ่าตัด การฉายแสง การทำคีโมและการรักษาด้วยฮอร์โมน ในปัจจุบันจากเดิมที่เลือกใช้เพียงวิธีใดวิธีหนึ่งก็เริ่มเปลี่ยนเป็นการใช้หลายๆ วิธีร่วมกัน โดยเฉพาะการพัฒนาในด้านการรักษาแบบบูรณาการระหว่างแพทย์จีนกับแพทย์ปัจจุบัน
การรักษาโดยการผ่าตัด
การผ่าตัดคือวิธีการรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ในขั้นแรกๆ หากแบ่งตามขอบเขตในการผ่าตัดแล้วส่วนใหญ่สามารถแบ่งออกได้เป็นวิธีต่อไปนี้คือ การผ่าตัดไทรอยด์ออกทั้งหมด (Total thyroidectomy) การผ่าตัดไทรอยด์ออกเกือบทั้งหมด (Near-total thyroidectomy) การผ่าตัดไทรอยด์ออกส่วนใหญ่ (Subtotal thyroidectomy) การผ่าตัดไทรอยด์เพียงบางส่วน (Partial thyroidectomy) เป็นต้น
มะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิด Medullary carcinoma ในระยะแรกก็สามารถลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองได้ อีกทั้งยังสามารถลามไปอวัยวะที่ไกลออกไปผ่านทางเลือด โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวแนะนำว่า การผ่าตัดมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิด Medullary carcinoma โดยพื้นฐานจะใช้วิธีผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกทั้งหมดและเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอทั้งสองด้านออก แต่ถ้าเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิด Differentiated thyroid carcinoma โดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ทั้งสองด้านออกทั้งหมดมากกว่า ซึ่งข้อดีของวิธีนี้คือ หลังจากการผ่าตัดจะไม่มีต่อมไทรอยด์เหลืออยู่ หลีกเลี่ยงการผ่าตัดรอบสองได้
การรักษาโดยเคมีบำบัด
มะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิด Anaplastic thyroid cancer จะมีความรุนแรงมาก อาการจะพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและง่ายต่อการลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียงอย่างหลอดลม หลอดอาหาร เส้นประสาทบริเวณคอ และหลอดเลือด ดังนั้นแล้ว การรักษาโดยเคมีบำบัดโดยมากจะเป็นการรักษาเสริมหลังจากผ่าตัดมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิด Poorly differentiated carcinoma และชนิด Undifferentiated carcinoma แต่กระนั้นผลการรักษาก็ไม่ค่อยดีมากนักและมีผลข้างเคียงมาก โดยปกติจะใช้ร่วมกับยาแพทย์จีนเพื่อลดผลข้างเคียงและยกระดับผลการรักษาให้ดีขึ้น
การรักษาโดยการฉายแสง
การฉายแสงเป็นหนึ่งในวิธีเสริมการรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ การรักษาจะยึดตามอาการของผู้ป่วยแต่ละคนโดยแบ่งออกเป็นการฉายแสงภายในและการฉายแสงภายนอก ซึ่งสามารถทำได้ทั้งก่อนและหลังผ่าตัดหรือรักษาร่วมกับการใช้ยาแผนจีน มะเร็งต่อมไทรอยด์แต่ละชนิดจะมีความไวต่อการฉายแสงที่แตกต่างกันมาก อย่างมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิด Undifferentiated carcinoma เมื่อรักษาด้วยการฉายแสงผลการรักษาในระยะสั้นจะค่อนข้างดี สามารถทำให้ก้อนมะเร็งเล็กลงอย่างเห็นได้ชัด ลดอาการกดทับและบรรเทาอาการปวด ส่วนมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิด Differentiated adenocarcinoma ไม่ไวต่อการฉายแสง ดังนั้นโดยปกติจะไม่ใช้วิธีนี้ในการรักษาเสริมทั้งก่อนและหลังผ่าตัด
การรักษาโดยการฝังแร่
การรักษาโดยการฝังแร่เป็นขั้นตอนสำคัญในการรักษาหลังจากการผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งที่ยังหลงเหลืออยู่ให้หมดไป โดยปกติมักจะใช้กับผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิด Differentiated thyroid carcinoma ที่ใช้วิธีผ่าตัดออกทั้งหมด โดยเฉพาะถ้ามีการลามไปที่ต่อมน้ำเหลือง หลังจากผ่าตัดแล้วใช้การฝังแร่จะช่วยทำให้ผลการรักษามั่นคงและป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
การรักษาเฉพาะจุดผ่านหลอดเลือดแบบบาดแผลเล็ก
การรักษาเฉพาะจุดผ่านหลอดเลือดแบบบาดแผลเล็กเป็นวิธีการรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ซึ่งใช้หลักการรักษาแบบตรงจุดโดยนำยารักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ฉีดเข้าไปจุดกำเนิดโรคโดยตรง จึงทำให้ยามีความเข้มข้นสูงและกระจายเข้าไปในเซลล์มะเร็งต่อมไทรอยด์ (thyroid follicular cells) ที่บวมโตได้อย่างรวดเร็ว ควบคุมและลดปริมาณการไหลของเลือดในเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ที่มีอาการบวม และทำให้เซลล์มะเร็ง thyroid follicular cells แข็งตัว และถูกทำลายไป อีกทั้งเมื่อร่างกายมีการดูดซึมและฝ่อตัว ก็จะค่อยๆ ฟื้นตัวจนกลับมาเป็นปกติ ดังนั้นจึงมีประสิทธิภาพเหมือนกับการผ่าตัด
โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวชี้ให้เห็นว่า การเลือกวิธีในการรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์นั้นต้องยึดตามระยะการเป็นมะเร็งของผู้ป่วย ร่างกายผู้ป่วย การตอบสนองของผู้ป่วยและประวัติการรักษาที่ผ่านมา ปัจจัยเหล่านี้เป็นต้น