มะเร็งของปากมดลูก หมายถึง เนื้องอกมะเร็งที่เกิดขึ้นในอวัยวะปากมดลูก ช่องคลอด และช่องปากมดลูก เป็นโรคสตรีอย่างหนึ่งที่พบบ่อยที่สุด แม้ว่าโรคมะเร็งปากมดลูกมีอัตราการเกิดโรคสูง แต่ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องกังวลเหลือเกิน ควรพยายามตรวจสอบค้นพบและดูแลได้อย่างทันท่วงที
ก่อนที่จะกำหนดวิธีการดูแลมะเร็งปากมดลูก ต้องคำนึงถึงปัจจัยอีกหลายอย่าง ได้แก่ ขนาดของเนื้องอก อายุของผู้ป่วย ระยะเวลาของเนื้องอก และสภาพสุขภาพร่างกายของผู้ป่วยเป็นต้น ระดับความร้ายแรงของเนื้องอกสูง เกือบ 70% ของโรคผู้ป่วยเมื่อได้วินิจฉัยเป็นโรคนี้อาการก็เข้าถึงในระยะสุดท้าย วิธีการดูแลมะเร็งปากมดลูกยังมีวิธีการผ่าตัดทางศัลยกรรม วิธีการดูแลแบบผสมผสานการแพทย์จีน-ตะวันตก รังสีวิทยา และการดูแลแบบเคมีบำบัดเป็นต้น
ในสมัยปัจจุบัน วิธีการดูแลมะเร็งปากมดลูกทั่วไปเป็นวิธีการผ่าตัดและรังสีวิทยา วิธีการดูแลด้วยการผ่าตัด เหมาะสมกับมะเร็งปากมดลูกที่ยังอยู่ในระยะแรก โดยใช้วิธีการผ่าตัดปากมดลูกแบบหายขาดเป็นหลัก ซึ่งจะผ่าทิ้งช่องคลอดส่วนหนึ่งของปากมดลูก เนื้อเยื่อ และต่อมน้ำเหลืองของกระดูกเชิงกรานทั้งสองด้าน หากรังไข่ของผู้ป่วยยังทำงานตามปกติ ก็อาจไม่ต้องผ่าทิ้งในการผ่าตัด วิธีการผ่าตัดมีข้อดี ได้แก่ สามารถผ่าตัดเนื้องอกทั้งสิ้นของมะเร็งปากมดลูกระยะแรกในครั้งเดียว และมีระยะการดูแลสั้น แต่ก็มีข้อเสีย คือ บริเวณผ่าตัดกว้างใหญ่ หลังจากการดำเนินการผ่าตัดแล้ว อาจทำให้ระบบการถ่ายปัสสาวะของผู้ป่วยทำงานผิดปกติ ต้องพักผ่อนและฝึกฝนเป็นช่วงหนึ่ง จึงฟื้นตัวได้เหมือนเดิม
รังสีวิทยาเหมาะสมกับมะเร็งปากมดลูกในทุกระยะ รวมระยะสุดท้าย สำหรับผู้ป่วยอาวุโสที่ไม่สามารถรองรับการผ่าตัดเพราะปัญหาการทำงานของหัวใจนั้น รังสีวิทยาเป็นวิธีแทนที่การผ่าตัดได้อย่างดี แต่ฝ่ายตรงกันข้าม วิธีนี้ก็ก่อให้เกิดผลซับซ้อนหลายอย่าง ผู้ป่วยอาจจะมีอาการการอักเสบทางลำไส้ตรง และกระเพาะปัสสาวะ จึงต้องพักผ่อนและดูแลเป็นอย่างดี
การดูแลมะเร็งปากมดลูกด้วยการฝังแร่ไอโอดีนกัมมันตรังสีเป็นวิธีการอีกวิธีหนึ่งที่มีผลประสิทธิภาพอย่างมาก เนื่องจากเนื้องอกมะเร็งมีความอ่อนไหวต่อคลื่นรังสี ทำให้การดูแลมะเร็งทุกระยะได้ผลเป็นอย่างดี การดูแลด้วยการฝังแร่ เป็นวิธีที่นำแร่ไอโอดีน125เข้าไปในเนื้องอกภายใต้เทคโนโลยีซีทีหรืออัลตร้าซาวด์นำทาง แล้วแร่จะปล่อยรังสีออกมาอย่างต่อเนื่อง จึงสามารถฆ่าเซลล์เนื้องอกและขัดขวางช่องทางการลามของเนื้องอก
จากคำที่กล่าวมาข้างต้น แสดงให้เห็นว่า วิธีการดูแลมะเร็งปากมดลูกมีมากมาย ฉะนั้น ผู้ป่วยไม่ต้องท้อแท้ใจ ควรเลือกวิธีการที่เหมาะสมมาร่วมมือกับนายแพทย์ และควบคุมมะเร็งเป็นอย่างดี