มะเร็งลิ้นเป็นมะเร็งในช่องปากที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด โดยมักจะเกิดขึ้นที่ขอบลิ้น รองลงมาคือปลายลิ้น ด้านหลังลิ้นและโคนลิ้น เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นลักษณะของแผลเน่าเปื่อยหรือลุกลามมาจากส่วนอื่น
จากตัวเลขของสถิติพบว่าโอกาสการเป็นมะเร็งลิ้นนั้นอยู่ที่ 0.8 - 1.5% ของเนื้องอกร้ายทั้งหมดในร่างกาย คิดเป็น 5%-7.8% ของมะเร็งร้ายบริเวณลำคอ และ 32.3% - 50.6% ของมะเร็งในช่องปาก ในจำนวนนี้จะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง เฉลี่ยแล้วจะเกิดกับผู้ที่อยู่ในช่วงอายุประมาณ 60 ปี
1.ขอบลิ้น ปลายลิ้น ด้านหลังลิ้นและส่วนท้องของลิ้นจะปรากฎมีแผลเน่าเปื่อยและเมื่อเวลาผ่านไปนานก็ยังไม่หาย
2.บริเวณลิ้นมีก้อนเนื้อซึ่งมีลักษณะแข็ง บริเวณขอบลิ้นไม่สะอาด มีอาการปวด และจะมีลักษณะใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว
3.ลิ้นไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ดีเหมือนเดิม และเกิดความลำบากในการทานอาหารหรือกลืนอาหาร
ปัจจุบันยังคงไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ส่วนใหญ่แล้วจะคิดว่าเป็นเพราะการได้รับบาดเจ็บเรื้อรัง รังสีอุลตร้าไวโอเลท เอ็กซเรย์รวมไปถึงวัตถุที่มีรังสีอื่นๆ ทำให้เกิดมะเร็งลิ้น นอกจากนี้ยังมีสาเหตุทางด้านจิตใจ และการขับออกของเสียจากภายใน ภูมิคุ้มกันของร่างกายรวมไปถึงการถ่ายทอดทางพันธุกรรมต่างมีความเกี่ยวข้องกับการเป็นมะเร็งลิ้นทั้งสิ้น
1.การตรวจทางภาพถ่าย เช่น การเอ็กซเรย์ เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ CT มีความแน่นอนในการบอกขอบเขตการลุกลามของมะเร็งซึ่งมีประโยชน์ในการวินิจฉัยมาก
2.การตรวจชิ้นเนื้อ เมื่อสงสัยว่าจะเป็นมะเร็งลิ้นก็สามารถใช้ส่วนตัวอย่างที่นำออกมาจากลิ้นไปตรวจได้ สำหรับผู้ที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอบวมใหญ่ จำเป็นต้องทำการตรวจจากส่วนตัวอย่างของต่อมน้ำเหลืองด้วย
1.การผ่าตัด เป็นขั้นตอนหลักของการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งลิ้น โดยผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ผู้ป่วยระยะ T1 สามารถทำการผ่าตัดกำจัดเนื้องอกโดยมีขนาดของบาดแผลรูป X ขนาด 1 ซม. ได้ และสำหรับผู้ป่วยระยะ T2-T4 ต้องผ่าตัดครึ่งหนึ่งของลิ้นหรือทั้งหมดของลิ้นออกไป
2. การฉายแสง เป็นวิธีการเสริมที่ใช้กับผู้ป่วยมะเร็งลิ้นระยะสุดท้ายก่อนการผ่าตัดหรือหลังการผ่าตัดก็ได้
3. การทำคีโม สามารถใช้เป็นวิธีการเสริมก่อนหรือหลังการผ่าตัดได้ นอกจากนี้ก็เหมาะสมกับผู้ป่วยที่เซลล์มะเร็งมีการลุกลามไปยังส่วนอื่นที่ไกลออกไป
4.แพทย์แผนจีน เป็นวิธีการที่มาทดแทนสิ่งที่การฉายแสงและคีโมไม่มี รวมไปถึงการผ่าตัด เพราะสามารถเพิ่มผลลัพธ์ให้มีประสิทธิภาพและลดผลข้างเคียงจากการทำคีโมและฉายแสงได้
นอกจากนี้ ทางโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวของเรายังได้มีเทคโนโลยีสำหรับโรคมะเร็งลิ้นแบบบาดแผลเล็ก โดยผู้เชี่ยวชาญทางมะเร็งลิ้นจะมีการออกแบบแผนการทางการแพทย์โดยเฉพาะเพื่อผู้ป่วยตามลักษณะอาการและสภาพร่างกายของผู้ป่วย
1.ในวันที่ทำการผ่าตัด เมื่อผ่าตัดแล้วผู้ป่วยสามารถนอนราบไปกับเตียงได้โดยไม่ต้องใช้หมอน ส่วนวันที่สองก็สามารถใช้ท่าแบบกึ่งนั่งกึ่งนอนได้เพื่อที่จะลดการช้ำเลือดที่บริเวณศีรษะและบาดแผล รวมไปถึงอาการบวมน้ำด้วย
2.ควรที่จะพิจารณาดูอาการทางร่างกายของผู้ป่วยอย่างชัดเจน และจะต้องให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกตลอดเวลา
3.ควรที่จะสังเกตดูท่ออาหารอยู่เสมอว่าไหลเวียนดีหรือไม่ และจะต้องสังเกตสี ลักษณะ และปริมาณของของเสียจากร่างกายผู้ป่วย ถ้ามีอาการผิดปกติก็ควรที่จะแจ้งแพทย์ทันที
4.หลังจากทำการผ่าตัดควรที่จะให้อาหารทางจมูก หลังจากนั้น 7-10 วันก็สามารถให้ผู้ป่วยลองทานอาหารเหลวทางปากได้
5.แนะนำผู้ป่วยให้ดูแลความสะอาดของช่องปากอย่างสม่ำเสมอ
จากผลการปฏิบัติพิสูจน์ให้เห็นว่าการบริการของทีมแพทย์ซึ่งบูรณาการหลายแขนง เช่น แผนกผ่าตัดเนื้องอก แผนกอายุรกรรมเนื้องอก แผนกแพทย์แผนจีน แผนกพยาธิวิทยา แผนกภาพถ่ายทางการแพทย์ วิสัญญีแพทย์ และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาล เป็นต้น ช่วยกำหนดแผนการที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดเหมาะสมที่สุดและประหยัดที่สุดให้แก่ผู้ป่วยได้ ช่วยปรับผลลัพธ์ของผู้ป่วยมะเร็งให้ดียิ่งขึ้น
จากระบบทางการแพทย์ที่เน้นการบริการครบถ้วนในครั้งเดียวโดยการบูรณาการหลายแขนงของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว บูรณาการการตรวจให้กับผู้ป่วย ด้านหนึ่งโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเสนอการบริการด้านการแพทย์ที่ครบวงจรให้แก่ผู้ป่วย อีกด้านหนึ่งยกระดับประสิทธิภาพทางการแพทย์ให้สูงขึ้นโดยไม่เพิ่มภาระให้แก่ผู้ป่วย อีกทั้งช่องทางการติดต่อระหว่างแพทย์และผู้ป่วยมีหลายช่องทาง ได้แก่ ทางออนไลน์ ทางอีเมล์ ทางโทรศัพท์ หรือการพบปะกันเพื่อขยายช่องทางการบริการให้คำปรึกษา ช่วยให้พวกเขาต้านมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ผู้ป่วยจะได้พบนั้นประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักโภชนาการ และล่ามแปลภาษา เป็นต้น เพื่อตอบสนองความต้องการทุกระดับชั้นของผู้ป่วยจากประเทศที่แตกต่างกันให้เป็นที่พอใจ การพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยช่องทางเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือกับทางโรงพยาบาลได้ดียิ่งขึ้น