โรคมะเร็งกระเพาะอาหารเป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นบริเวณกระเพาะอาหาร ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเยื่อเมือกบุผิวชั้นนอกสุดของผนังกระเพาะอาหาร และสามารถเกิดได้กับทุกส่วนของกระเพาะอาหาร ( เกิดมากที่สุดบริเวณโพรงกระเพาะอาหารและปากส่วนปลายกระเพาะอาหาร รองลงมาคือเกิดขึ้นที่บริเวณปลายกระเพาะอาหารและบริเวณที่ติดกับหลอดอาหาร ในกระเพาะอาหารค่อนข้างน้อย ) และสามารถลุกลามเข้าไปในผนังกระเพาะในระดับความลึกและความกว้างที่แตกต่างกัน
อัตราการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารของทั่วโลกอยูที่ 17.6/100000 ต่อปี ในประเทศญี่ปุ่น เดนมาร์กเป็นต้น จะมีอัตราการเกิดโรคค่อนข้างสูง แต่สหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียมีอัตราการเกิดโรคค่อนข้างต่ำ โดยจะเกิดในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ประมาณ 3 ต่อ 1 อัตราการเกิดโรคจะสูงในคนอายุ 50 - 60 ปี
๑ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม : อัตราการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารในแต่ละประเทศและแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน
๒ ปัจจัยด้านอาหารการกิน : การรับประทานธัญญาหารที่ขึ้นรา อาหารหมัก ผักดอง รวมทั้งปลาเค็มมาเป็นระยะเวลานาน อีกทั้งรับประทานเกลือมากเกินไป ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้
๓ ปัจจัยด้านพันธุกรรม : การสำรวจทางระบาดวิทยาพบว่า การเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมีแนวโน้มเกี่ยวพันกับพันธุกรรมทางครอบครัว
๔ ปัจจัยด้านภูมิคุ้มกัน : คนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำจะมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารค่อนข้างสูง
๑ ปวดท้อง : เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เริ่มแรกจะมีอาการปวดท้องเป็นเป็นพักๆ ซึ่งมักจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบหรือเป็นแผล เป็นต้น
๒ รู้สึกไม่สบายท้องส่วนบน : ส่วนใหญ่จะรู้สึกแน่นท้องหรือร้อนท้อง สามารถทำให้บรรเทาลงชั่วคราว แต่อีกไม่นานก็กลับมาเป็นใหม่
๓ อยากอาหารน้อยลง เรอ : หลังรับประทานอาหารจะรู้สึกแน่นท้องและจำกัดการรับประทานอาหารเอง เรออยู่บ่อยครั้ง
๔ ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำหรือการตรวจพบเลือดในอุจจาระ : หากไม่ได้รับประทานเต้าหู้เลือดและยาบิสมัท (Bismuth) เป็นต้น แต่มีการถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ ควรรีบไปตรวจที่โรงพยาบาลทันที
๕ มีอาการอ่อนเพลีย ซูบผอม และโลหิตจาง : เป็นอาการที่พบบ่อยของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เนื่องจากความอยากอาหารลดลง ทางเดินอาหารมีการเสียเลือด มีอาการอ่อนเพลีย อ่อนแอ เป็นต้น
๑ การตรวจสุขภาพ
๒ การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
๓ การตรวจโดยใช้ภาพถ่ายทางการแพทย์
(๑) การเอกซเรย์กลืนแป้งตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนต้น
(๒) การตรวจ CT Scan ( การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ )
(๓) การตรวจ MRI ( เครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า )
(๔) PET-CT Scan
(๕) การตรวจอัลตราซาวด์
๔ การส่องกล้องตรวจภายใน
(๑) การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร ( Gastroscope )
(๒) การส่องกล้องตรวจช่องท้อง ( Laparoscopy )
๑ การผ่าตัด : เป็นตัวเลือกแรกสำหรับผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารในระยะแรกและระยะกลาง และเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ
๒ เคมีบำบัด : การใช้เคมีบำบัดสามารถใช้เป็นการเสริมหลังการผ่าตัดได้ เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งที่ยังเหลืออยู่ในร่างกาย สามารถใช้ก่อนการผ่าตัดและระหว่างการผ่าตัด เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง และเพิ่มอัตราการประสบความสำเร็จในการผ่าตัดได้
๓ การฉายรังสี : วิธีนี้สามารถใช้ก่อนการผ่าตัดและระหว่างการผ่าตัด เพื่อยกระดับอัตราการกำจัดเซลล์มะเร็งและผลที่คาดหวังไว้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การฉายรังสียังสามารถใช้บรรเทาอาการและยืดอายุของผู้ป่วยได้
หลังผ่านการค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์จีนมานานหลายปี แพทย์แผนจีนนั้นมีประสิทธิภาพในการปรับสมดุลของร่างกายและช่วยในการต้านมะเร็ง หากบูรณาการข้อดีของการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบันเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดประสิทธิภาพมากกว่าการใช้วิธีหนึ่งวิธีเดียว “การบูรณาการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบัน” สามารถใช้ได้ผ่านหลายรูปแบบ เช่น การให้ยาจีนทางหลอดเลือดแดงอย่างต่อเนื่อง การฉีดยาจีนตรงตำแหน่งฝังเข็ม เป็นต้น ซึ่งวิธีการเหล่านี้เป็นรูปแบบบูรณาการในระดับแถวหน้า
ในขั้นตอนทางการแพทย์สำหรับโรคมะเร็งกระเพาะอาหารทุกขั้นตอน สามารถใช้การแพทย์แผนจีนประกอบได้จนถึงขั้นตอนสุดท้าย ข้อดีของกาใช้เทคนิคแบบบูรณาการระหว่างแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบันนั้นมีอยู่มากมาย อาศัยรูปแบบการรับประทานยาจีนและการให้ยาจีนทางหลอดเลือดแดง สามารถชดเชยในส่วนที่แพทย์แผนปัจจุบันไม่สามารถทำได้เพียงพอ สามารถป้องกันและลดผลข้างเคียงที่เกิดจากการให้เคมีบำบัดและการฉายรังสี และยังสามารถป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งกลับมาเกิดซ้ำหลังการผ่าตัดและลุกลาม อีกทั้งยังมีจุดเด่นคือช่วยยืดอายุของผู้ป่วย ขณะเดียวกันก็ยกระดับคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้นอีกด้วย
๑ รับประทานอาหารมื้อละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
๒ รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง อาหารที่ย่อยง่าย ได้แก่ ข้าวต้ม ซุปไข่ ซุปผัก นม เป็นต้น
๓ รับประทานของหวานและอาหารที่มีไขมันสูงให้น้อยลง
๔ ห้ามรับประทานของเย็นหรืออาหารที่ร้อนเกินไป และห้ามรับประทานเครื่องปรุงรสเผ็ด ห้ามดื่มเครื่องดื่มที่มีสารกระตุ้น เช่น สุรา ชา เป็นต้น
๕ ป้องกันโรคโลหิตจาง โดยสามารถรับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลา กุ้ง ตับของสัตว์ และพุทรา เป็นต้น อย่างเหมาะสม
๖ สำหรับอาหารที่ย่อยยาก ควรเคี้ยวให้ละเอียดและกลืนช้าๆ