มะเร็งกระดูกสันหลังสามารถแบ่งตามที่มาของเนื้องอกได้เป็น โรคมะเร็งกระดูกสันหลังชนิดปฐมภูมิและโรคมะเร็งกระดูกสันหลังชนิดทุติยภูมิ แต่มะเร็งกระดูกสันหลังชนิดปฐมภูมินั้นพบได้ค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นมะเร็งกระดูกสันหลังชนิดทุติยภูมิ มะเร็งกระดูกสันหลังชนิดทุติยภูมิในระยะแรกสุดจะเกิดขึ้นที่ตำแหน่งอื่นๆ ซึ่งอยู่นอกกระดูกสันหลังภายในร่างกาย และเกิดการแพร่กระจายไปยังกระดูกสันหลัง ช่วงเวลาการกระจายจากอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายไปยังกระดูกสันหลังนั้นเรียกว่าการลุกลาม
ทั้งนี้กระดูกสันหลังเป็นจุดที่ถูกลุกลามจากมะเร็งชนิดอื่นๆ ได้ง่ายที่สุด มะเร็งที่ลามไปยังกระดูกสันหลังมากที่สุด ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งไต มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งต่อมไทรอยด์ เป็นต้น
อัตราการเกิดโรคมะเร็งกระดูกสันหลังอยู่ที่ประมาณ 6% - 10% ของโรคมะเร็งกระดูกทั้งหมด ซึ่งในหลายปีที่ผ่านมานี้ อัตราการเกิดโรคมะเร็งกระดูกสันหลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ มะเร็งกระดูกสันหลังนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย แต่ในช่วงอายุ 40 - 65 ปี จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูง อีกทั้งพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
จนถึงปัจจุบันนี้สาเหตุของการเกิดมะเร็งกระดูกสันหลังก็ยังไม่เป็นที่ชัดเจนมากนัก แต่จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยทางพันธุกรรม การบาดเจ็บภายนอก มลภาวะทางสิ่งแวดล้อมและสิ่งกระตุ้นทางเคมี ปัจจัยเกี่ยวกับจิตใจและฮอร์โมน การกระตุ้นจากรังสีและการติดเชื้อไวรัส เป็นต้น อาจมีความเกี่ยวข้องกับมะเร็งกระดูกสันหลัง
1. ออสทีโอซาร์โคมา ( osteosarcoma ) : พบเห็นได้บ่อยในบริเวณกระดูกสันหลังช่วงเอวและกระดูกเหนือก้นกบ ออสทีโอซาร์โคมาบริเวณกระดูกสันหลังจะไม่ค่อยพบเห็น แต่ผู้ป่วยบางส่วนที่เป็นโรคพาเจท ( Paget's disease ) ก็อาจเป็นออสทีโอซาร์โคมาบริเวณกระดูกสันหลังได้
2. คอนโดรซาร์โคมา ( chondrosarcoma ) : คอนโดรซาร์โคมาพบเห็นได้น้อยมาก เป็นเนื้อร้ายที่มีการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า แม้ว่าคอนโดรซาร์โคมาจะพบเห็นได้ในแนวกระดูกสันหลัง แต่ที่พบเห็นได้บ่อยกว่ากลับเป็นบริเวณทรวงอก
3. มะเร็งต่อมน้ำเหลือง : มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน ( Non-Hodgkin lymphoma ) สามารถเกิดขึ้นได้ในกระดูกสันหลัง มะเร็งชนิดนี้อาจมีการแพร่กระจายจากกระดูก ( เช่น กระดูกสันหลัง ) ไปยังช่องประสาทไขสันหลัง ทำให้เกิดอาการกดทับเส้นประสาทที่ไขสันหลัง
4. คอร์โดมา ( chordoma ) : คอร์โดมาเป็นมะเร็งกระดูกสันหลังชนิดปฐมภูมิที่พบได้บ่อยที่สุดในวัยผู้ใหญ่ คอร์โดมามักเกิดขึ้นที่บริเวณหลัง ( กระดูกสันหลังส่วนเอว ) และบริเวณกระดูกก้นกบ และอาจเกิดขึ้นบริเวณรากประสาท
5. มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัลติเพิล มัยอิโลมา ( Multiple Myeloma ) : มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัลติเพิล มัยอิโลมาเป็นมะเร็งกระดูกและกระดูกสันหลังชนิดปฐมภูมิที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัลติเพิล มัยอิโลมาจะทำลายเนื้อเยื่อกระดูก ทั้งยังสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ อีกด้วย เช่น ไต
1. ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บปวด เช่น ปวดบริเวณคอและหัวไหล่ ปวดหลังและปวดเอว อาการปวดอาจจะลามไปถึงแขน ซี่โครงและบริเวณขา
2. ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกกล้ามเนื้อกระตุก แขนขาไม่มีแรง ก้าวเดินไม่มั่นคง รู้สึกมีอุปสรรค กระดูกสันหลังผิดรูป และสูญเสียสมรรถภาพในการควบคุมการขับถ่าย เป็นต้น
3. ในกล้ามเนื้อส่วนลึกของผู้ป่วย สามารถสัมผัสได้ถึงขนาดและความแข็งของก้อนเนื้อที่แตกต่างกัน
4. หลังจากผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บจากภายนอก จะทำให้เกิดกระดูกสันหลังหักได้ง่าย
5. ผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ซูบผอม หรือกระทั่งมีไข้ต่ำและภาวะโลหิตจาง
1. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ : การตรวจทางห้องปฏิบัติการจะช่วยให้แพทย์เข้าใจถึงสภาพร่างกายของผู้ป่วยได้ครบถ้วนทุกด้านยิ่งขึ้น
2. การตรวจเอกซเรย์ : การตรวจเอกซเรย์สามารถแสดงให้เห็นความเสียหายจากมะเร็งและกระดูกสันหลังที่ผิดรูปไป แต่โดยปกติจะเป็นแค่การตรวจในขั้นแรกหรือการตรวจคัดกรอง
3. การตรวจ CT : การตรวจ CT สามารถมองเห็นถึงขนาดของก้อนเนื้อ ขอบเขต กระดูกหักทางพยาธิวิทยา และการเปลี่ยนแปลงของกระดูกกับแคลเซียมภายในเนื้องอก เป็นต้น
4. การตรวจ MRI : การตรวจ MRI สามารถแสดงให้เห็นถึงเนื้อเยื้ออ่อนภายในก้อนเนื้อรวมไปถึงเนื้อเยื่ออ่อนโดยรอบที่ทำงานหนักเกินไป อีกทั้งแสดงให้เห็นไขสันหลัง รากประสาท รวมถึงขอบเขตการรุกล้ำของก้อนมะเร็งได้อย่างชัดเจน
5. การตรวจชิ้นเนื้อ : ใช้เครื่อง CT นำทางในการเจาะตรวจชิ้นเนื้อ มีความสำคัญต่อการวินิจฉัยแยกประเภทและลักษณะของมะเร็งกระดูกสันหลังได้ชัดเจน
1. การผ่าตัด : โดยการผ่าตัดก้อนมะเร็งทั้งหมดหรือบางส่วน เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์และการควบคุมโรค
2. แบบไม่ต้องผ่าตัด : มะเร็งกระดูกสันหลังไม่สามารถใช้วิธีผ่าตัดได้ทั้งหมด แต่ต้องใช้วิธีการที่ไม่ต้องผ่าตัดประกอบด้วย
(1) เสื้อเกราะพยุงลำตัว ( เสื้อรัดลำตัว ) : เสื้อเกราะพยุงลำตัวหรือเสื้อรัดลำตัวมีส่วนช่วยให้กระดูกสันหลังมั่นคงขึ้นและช่วยลดความเจ็บปวด
(2) บรรเทาอาการเจ็บปวด : การดูแลอาการเจ็บปวดหรือที่เรียกว่าการบรรเทาอาการ วัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาอาการปวด ลดอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อน มีส่วนช่วยในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น
(3) การใช้ยาเคมี : การใช้ยาเคมีคือการส่งยาเคมีไปละลายลายเซลล์มะเร็ง โดยการแทรกแซงความสามารถในการเติบโตและการเพิ่มจำนวนของเซลล์ (วงจรชีวิตของเซลล์) เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์และการควบคุมโรค
(4) การฉายรังสี : การฉายรังสีสามารถอาศัยการฉายรังสีภายนอกหรือการฉายรังสีภายใน หรือใช้ร่วมกันทั้งสองแบบและการควบคุมโรค
3. แพทย์แผนจีน : โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว ได้นำแพทย์แผนจีนมาประยุกต์ควบคู่กับเทคโนโลยีด้านโรคมะเร็งแบบอื่นๆ ผสมผสานจุดเด่นระหว่างแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบันเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการแพทย์สำหรับโรคมะเร็ง
4. เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ดีเยี่ยม : โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเน้นการดูแลโดยยึดตามอาการของผู้ป่วย และอาศัยการประชุมร่วมกันของทีมผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งในการกำหนดแผนการที่ให้เหมาะสม เพื่อปรับปรุงขั้นตอนต่างๆเพื่อผู้ป่วยมะเร็งกระดูกสันหลังให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
การดูแลในชีวิตประจำวัน
1. ควรดูแลผู้ป่วยให้มีสภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง รวมไปถึงการมองโลกในแง่ดี
2. ผู้ป่วยควรเสริมสร้างภูมิต้านทาน เสริมสร้างโภชนาการ และการใช้ยาแก้ปวดในปริมาณที่เหมาะสม
3. ผู้ป่วยควรออกกำลังกายเพื่อการทำงานที่ดีของร่างกาย และพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเอง
การดูแลหลังการผ่าตัด
1. คนในครอบครัวควรปลอบโยนและให้กำลังใจผู้ป่วย
2. หลังจากผ่าตัด ผู้ป่วยควรนอนราบ สามารถเพิ่มหมอนรองคอได้ตามความต้องการ
3. หลังจากผ่าตัด ผู้ป่วยควรทานอาหารเหลวชั่วคราว ไม่รับประทานอาหารรสเผ็ดและรสจัด