โรคมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นเนื้องอกร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณต่อมลูกหมากของเพศชาย โดยเป็นผลมาจากการที่เซลล์ต่อมลูกหมากเติบโตขึ้นมาอย่างผิดปกติ
มะเร็งต่อมลูกหมากพบได้น้อยมากในเพศชายที่อายุน้อยกว่า 45 ปี แต่เมื่ออายุมากขึ้น อัตราในการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากก็จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่แล้วจะมีอายุมากกว่า 65 ปี โดยพื้นฐานแล้ว หลังจากอายุ 40 ปี เป็นต้นมา เมื่ออายุเพิ่มขึ้นทุกๆ 10 ปี อัตราในการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากก็จะเพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัวด้วย โดยความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากของผู้ชายอายุ 50 – 59 ปีจะอยู่ที่ 10% แต่ความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากของผู้ชายอายุ 80 – 89 ปี จะเพิ่มขึ้นสูงถึง 70% เลยทีเดียว
ปัจจัยเสี่ยงหลัก :
(1) อายุ : อายุเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
(2) ประวัติทางครอบครัว : เมื่อสมาชิกเพศชายที่มีความสัมพันธ์โดยตรงในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ก็จะทำให้อัตราการเกิดโรคนี้ของเพศชายในครอบครัวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
(3) ชาติพันธุ์ : อัตราการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากจะสูงที่สุดในคนอเมริกาในทวีปแอฟริกา ( คนผิวดำอเมริกา ) รองลงมาคือคนสเปนและคนอเมริกาผิวขาว ส่วนคนผิวดำของแอฟริกานั้นมีอัตราการเกิดโรคต่ำที่สุดของโลก
(4) เซลล์ในต่อมลูกหมากเกิดการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยาที่ผิดปกติ : ผู้ชายที่มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เนื้องอกในเยื่อบุผิวต่อมลูกหมากในระดับสูง จะมีอัตราการเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ปัจจัยเสี่ยงที่มีความเกี่ยวข้อง
(1) การบริโภค : ผู้ชายที่ทานอาหารที่มีไขมันสัตว์สูงบ่อยๆ มักจะเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ง่าย
(2) ระดับแอนโดรเจน (Androgen) แอนโดรเจนในร่างกายจะช่วยกระตุ้นให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้ จึงเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก
1. อาการอุดตัน : เกิดความลำบากในการปัสสาวะ ปัสสาวะขัด เกิดความเจ็บปวด ปัสสาวะเป็นเลือดหรืออั้นปัสสาวะไม่อยู่ เป็นต้น
2. อาการแทรกซึมเฉพาะส่วน : บริเวณช่องว่างระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับลำไส้จะถูกแทรกซึมก่อน ซึ่งบริเวณนี้ครอบคลุมไปถึงต่อมลูกหมาก ถุงน้ำอสุจิ ท่อน้ำอสุจิ ส่วนปลายล่างของท่อปัสสาวะ เป็นต้น ถ้าเนื้องอกลุกล้ำและกดทับไปยังท่อน้ำอสุจิก็จะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดเอวและมีอาการเจ็บปวดบริเวณด้านข้างของต่อมลูกหมาก
3.อาการแพร่กระจายอื่นๆ : มะเร็งต่อมลูกหมากมักจะแพร่ไปยังกระดูกได้ง่าย โดยในช่วงแรกจะไม่ปรากฏอาการใดๆ และเมื่อไปพบแพทย์เนื่องจากการลามไปที่กระดูกจะทำให้กดทับเส้นประสาทหรือกระดูกหักก็จะพบว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
1. การตรวจทางทวารหนัก
2. การตรวจค่า Prostate-Specific Antigen (PSA) Test
3. การตรวจ Acid phosphatase test
4. การตรวจอัลตราซาวด์
5. การตรวจเอกซเรย์
6. การตรวจชิ้นเนื้อ
7. การตรวจ CT และ MRI
การแพร่กระจายทางกระแสเลือดและหลอดเลือดดำเป็นทิศทางการแพร่กระจายที่พบบ่อยของมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยการกระจายที่พบบ่อยที่สุดคือไปยังปอดและกระดูก กระดูกเชิงกรานและกระดูกสันหลัง รวมไปถึงกระดูกซี่โครง กระดูกโคนขา กระดูกไหปลาร้าและกระดูกส่วนอื่นๆ ก็มีโอกาสที่จะถูกลุกลามได้ ส่วนมะเร็งต่อมลูกหมากสามารถลุกลามไปยังกระดูกสันหลังส่วนเอวได้อย่างไรนั้น ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าผ่านมาทางกลุ่มหลอดเลือดดำตรงกระดูกสันหลัง และยังมีหลักฐานยืนยันว่ามะเร็งต่อมลูกหมากก็มีการหมุนเวียนไปตามร่างกายเช่นเดียวกับมะเร็งชนิดอื่นๆ ดังนั้น กรณีที่มีการกระจายไปยังกระดูกสันหลังส่วนใหญ่ก็จะมีการกระจายไปยังปอดอีกด้วย
1. การผ่าตัด : สำหรับโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก การผ่าตัดนั้นเป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด โดยผ่าตัดส่วนที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากออกไปหรือตัดต่อมลูกหมากทิ้ง เพื่อยับยั้งและควบคุมการแพร่กระจายของมะเร็ง
2. การฉายรังสี : การฉายรังสีนั้นโดยหลักแล้วมีดังนี้ (1) ฉายรังสีนอกร่างกาย (2) ฉายรังสีภายในเนื้อเยื่อ โดยมักจะใช้ร่วมกับการผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากแบบถอนรากถอนโคนหรือการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองกระดูกเชิงกราน (3) การฉายรังสีทั้งร่างกาย สามารถลดความเจ็บปวดในส่วนที่ลุกลามไปยังกระดูกและลดการพัฒนาของเซลล์มะเร็งได้
3.การใช้เคมีบำบัด : เป็นการใช้ยาเคมีทั่วร่างกาย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในควบคุมการแพร่กระจายและการลุกลามของเซลล์มะเร็ง
4.แพทย์แผนจีน : สำหรับแพทย์แผนจีน ด้านหนึ่งสามารถกำจัดและควบคุมเซลล์มะเร็ง บรรเทาอาการของโรค ส่วนอีกด้านหนึ่งคือสามารถปรับสมดุลร่างกายของผู้ป่วย ปรับอาการของโรคให้ดีขึ้น เพิ่มสมรรถนะของภูมิคุ้มกันในร่างกาย จึงเป็นการยกระดับผลลัพธ์ทางการแพทย์ได้ทั้งหมด
5.เทคโนโลยีแบบเฉพาะจุด : เป็นเทคโนโลยีสำหรับโรคมะเร็งแบบใหม่ มีข้อดี เช่น บาดแผลเล็ก เจ็บปวดน้อย เสียเลือดน้อย ร่างกายฟื้นตัวได้เร็ว เป็นต้น
ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวระบุว่า สำหรับโรคมะเร็งต่อมลูกหมากไม่สามารถเน้นวิธีแบบเฉพาะตำแหน่งหรือใช้วิธีการแบบเพียงวิธีใดวิธีหนึ่ง มะเร็งต่อมลูกหมากต้องอาศัยระยะอาการของผู้ป่วย ประเภทของเนื้อเยื่อ พฤติกรรมทางชีววิทยาของก้อนมะเร็ง รวมทั้งสภาพร่างกาย เพื่อบูรณาการเทคนิคแบบหลายแขนง เช่น การผ่าตัด การฉายรังสี การให้เคมีบำบัด การแพทย์แผนจีน เทคนิคแบบภายในเฉพาะจุดผ่านหลอดเลือด เป็นต้น จึงจะได้รับผลลัพธ์ทางการแพทย์มีประสิทธิภาพมากที่สุด
1. ดูแลด้านการฟื้นฟูสภาพจิตใจ : ช่วยผู้ป่วยลดความอึดอัดใจและความกังวลใจ ให้กำลังใจผู้ป่วยให้มีจิตใจเปิดกว้าง มีความเด็ดเดี่ยวและแน่วแน่ในการที่จะเอาชนะกับโรค
2. ดูแลทางด้านโภชนาการและลำไส้ : เพื่อลดอาการท้องผูกที่จะเกิดขึ้นหลังการผ่าตัด จึงควรให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารรสอ่อน ย่อยง่าย อีกทั้งรับประทานผลไม้หรือผักต่างๆ ที่มีส่วนประกอบของไฟเบอร์สูง ดื่มน้ำมากๆ ขับถ่ายตอนเช้าทุกวัน เพื่อให้สามารถขับถ่ายได้อย่างสะดวก ห้ามทานของเผ็ดหรือมีรสจัด เพื่อป้องกันไม่ให้ท้องผูก
3. บรรเทาอาการการหดเกร็งของกระเพาะปัสสาวะ เมื่อกระเพาะปัสสาวะหดเกร็ง ควรสูดลมหายใจลึกๆรวมทั้งให้คนในครอบครัวช่วยนวดแขนขาเพื่อลดอาการเจ็บปวด อาการนี้มักจะเกิดขึ้นหลังจากการผ่าตัด ดังนั้นควรให้ยาบรรเทาอาการปวดแก่ผู้ป่วยเพื่อช่วยบรรเทาอาการ
นอกจากนี้ การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอยังมีส่วนช่วยให้ร่างกายฟื้นฟู จึงควรวางแผนการพักผ่อนให้ผู้ป่วยอย่างเหมาะสม อีกทั้งสร้างสภาพแวดล้อมที่มีความเหมาะสมในการพักผ่อนให้แก่ผู้ป่วยอีกด้วย