ตับอ่อนมีหน้าที่อยู่สองประการคือ ผลิตสารคัดหลั่งของต่อมไร้ท่อกับผลิตสารคัดหลั่งของต่อมมีท่อ มะเร็งที่มาจากเซลล์สารคัดหลั่งของต่อมไร้ท่อเรียกว่า Neuroendocrine tumor ค่อนข้างพบเห็นได้น้อย ซึ่งSteve Jobs ก็เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งชนิดนี้ ส่วนใหญ่ Neuroendocrine tumor จะมีระดับความร้ายแรงค่อนข้างต่ำ ระยะอาการค่อนข้างนาน วิธีการก็จะแตกต่างกับมะเร็งตับอ่อนที่พบเห็นโดยทั่วไปอยู่บ้าง ส่วนมะเร็งที่มาจากเซลล์สารคัดหลั่งของต่อมมีท่อ ก็คือมะเร็งตับอ่อนที่พวกเราพูดถึงกันอยู่บ่อยๆ โดยเป็นมะเร็งที่มีระดับความร้ายแรงค่อนข้างสูง
อัตราการเกิดโรคมะเร็งตับอ่อนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยส่วนใหญ่จะเกิดกับบุคคลในวัยกลางคนและวัยสูงอายุ เกิดในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ส่วนใหญ่จะอยู่ในอายุระหว่าง 40 – 65 ปี แต่ไม่กี่ปีมานี้มีแนวโน้มเกิดกับบุคคลในวัยหนุ่มสาว ความร้ายแรงของโรคมะเร็งตับอ่อนนั้นสูงมาก ตั้งแต่พบอาการของโรคจนถึงเสียชีวิตนั้นเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ประมาณ 5 เดือนเท่านั้น และประมาณ 5% ของผู้ป่วยเท่านั้นที่จะสามารถมีชีวิตอยู่ได้ถึงห้าปี จึงเรียกได้ว่าเป็น “ ราชามะเร็ง” เลยทีเดียว และในจำนวนนั้นมีผู้ป่วยเพียง 15% - 20% ที่สามารถรับการผ่าตัดได้ ซึ่ง 40% ของผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดก็พบว่ามีอาการลุกลามแล้ว หลังจากการผ่าตัดมีเพียง10% ของผู้ป่วยเท่านั้นที่สามารถมีชีวิตรอด
แต่จากเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยด้วยภาพถ่ายทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งรูปแบบใหม่มากมายที่ถูกนำมาใช้ จึงนำความหวังที่จะมีชีวิตรอดมาสู่ผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนมากขึ้น
สำหรับสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคมะเร็งตับอ่อนนั้น ปัจจุบันยังไม่สามารถบอกได้แน่ชัด แต่จากการวิจัยสามารถบอกได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยดังต่อไปนี้
1. การสูบบุหรี่ : ความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับอ่อนของผู้ที่สูบบุหรี่จะมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึงสามเท่า
2. การทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ไขมันและความร้อนสูง : Luciano Pavarotti นักร้องเสียงสูงผู้มีชื่อเสียงชาวอิตาลี และเสิ่นเตี้ยนเสีย นักแสดงชาวฮ่องกงก็เป็นโรคมะเร็งตับอ่อนเพราะการทานอาหารทั้งสามประเภทนี้
3.โรคเบาหวาน : ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีโอกาสเป็นมะเร็งตับอ่อนได้ง่าย
4.ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง : ตับอ่อนอักเสบเรื้อรังนั้นสามารถพัฒนาเป็นมะเร็งตับอ่อนได้
1. ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี รูปร่างค่อนข้างอ้วน และมีพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่ไม่ค่อยดีนัก เช่น ผู้ที่ชอบสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ชอบทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ไขมันสูงและความร้อนสูง เป็นต้น
2. เมื่อทานอาหารที่มันเลี่ยนจะท้องเสีย โดยเฉพาะผู้ที่ถ่ายออกมาแล้วพบว่ามีชั้นของไขมัน ซึ่งอาจแสดงให้เห็นว่าสมรรถนะของสารคัดหลั่งของต่อมมีท่อในตับอ่อนถูกทำลายแล้ว
3. คนวัยหนุ่มสาวที่ไม่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน แต่กลับเป็นโรคเบาหวานขึ้นมากะทันหัน เพราะการที่เป็นโรคเบาหวานขึ้นมากะทันหันนั้น ก็อาจเป็นอาการเตือนล่วงหน้าของโรคมะเร็งตับอ่อนได้ และผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมามากกว่าห้าปี จะมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งตับอ่อนมากกว่าคนทั่วไป 1.2 เท่า
1. มีอาการเจ็บปวดท้องด้านบนและรู้สึกอึดอัดอย่างบอกไม่ถูก เบาบ้างหนักบ้าง ปวดบ้างไม่ปวดบ้าง แต่อาการจะชัดเจนมากตอนกลางคืน
2. มีอาการดีซ่าน แต่ไม่มีนิ่วในถุงน้ำดี เป็นต้น
3. น้ำหนักลดลงอย่างชัดเจน ผู้ป่วยโรคกระเพาะก็น้ำหนักลดลงได้เช่นกัน เพราะมีปัญหาในการย่อยและดูดซึมอาหาร แต่จะไม่ชัดเจนเท่ามะเร็งตับอ่อน
4. ระยะนี้มีอาการถ่ายอุจจาระเป็นไขมันหรือโรคเบาหวานหนักขึ้น
มะเร็งตับอ่อนในระยะแรกสามารถรับการผ่าตัดได้ อัตราการรอดชีวิต 5 ปี มีถึง 70% - 100% เมื่อเปรียบเทียบกับมะเร็งตับอ่อนที่มีการพัฒนาแล้วพบว่า ผลลัพธ์ของทั้งสองแบบจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ดังนั้น เมื่อพบว่ามีอาการของโรคนี้ก็ควรไปตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดและรับคำปรึกษาจากทางโรงพยาบาลทันที
โดยทั่วไปแล้ว สำหรับผู้ที่สงสัยว่าตัวเองจะเป็นมะเร็งตับอ่อน ควรเลือกวิธีตรวจคัดกรองแบบไม่เกิดบาดแผลก่อน เช่น การตรวจหาสารก่อมะเร็งจากเซรุ่มและการตรวจตัวอย่างอุจจาระ เป็นต้น จากนั้นผู้ที่น่าสงสัยว่าจะเป็นมะเร็งตับอ่อนก็สามารถตรวจวินิจฉัยมะเร็งตับอ่อนในขั้นตอนต่อไป
1. การตรวจอัลตราซาวด์ : สามารถแสดงโครงสร้างภายในของตับอ่อนและท่อน้ำดีว่ามีการอุดตันหรือไม่
2. การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) : การสแกนด้วย CT สามารถแสดงให้เห็นขนาดของจุดเกิดโรค ตำแหน่ง แต่ยังไม่สามารถตรวจวินิจฉัยได้แน่นอน แต่ถ้าสแกนเพิ่มก็สามารถเห็นถึงขนาด ตำแหน่ง รูปร่าง โครงสร้างภายใน และความสัมพันธ์กับโครงสร้างโดยรอบของตับอ่อนได้ดีขึ้น นอกจากนี้ CT ยังสามารถวินิจฉัยได้ค่อนข้างชัดว่ามีการลุกลามไปยังตับและต่อมน้ำเหลืองหรือไม่
3. การตรวจเอ็กซ์เรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) และการตรวจท่อทางเดินน้ำดีและถุงน้ำดี (MRCP) : เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์บางอย่างที่ยากต่อการวินิจฉัย ก็สามารถใช้การตรวจ CT เป็นพื้นฐานบวกกับการตรวจ MRI เพื่อทดแทนส่วนที่ CT ไม่มี
ระยะ1 : มะเร็งอยู่แค่ภายในตับอ่อน อัตราการรอดชีวิต 5 ปี ประมาณ 30%
ระยะ2 : มะเร็งลุกลามไปเนื้อเยื่อใกล้เคียง เช่น ผนังลำไส้เล็กส่วนต้น อัตราการรอดชีวิต 5 ปี ประมาณ 10%
ระยะ3 : มีการลุกลามไปบริเวณต่อมน้ำเหลือง ระยะเวลาการมีชีวิตอยู่ประมาณ 8-12 เดือน
ระยะ4 : มีการลุกลามไปยังตับและอวัยวะที่อยู่ไกล ระยะเวลาการมีชีวิตอยู่ประมาณ 3-6 เดือน
1. การผ่าตัด : การผ่าตัดหัวของตับอ่อนและลำไส้เล็กส่วนต้น การผ่าตัดหัวของตับอ่อนและลำไส้เล็กส่วนต้น โดยเหลือกระเพาะอาหารส่วนปลายไว้ การผ่าตัดตับอ่อนทิ้งทั้งหมด การผ่าตัดส่วนครึ่งซีกซ้ายของตับอ่อน เป็นต้น
2. เทคนิคแบบบูรณาการ : เป็นการเน้นการศัลยกรรมผ่าตัดเป็นหลัก การฉายรังสีและเคมีบำบัดเป็นวิธีรอง
3. แพทย์แผนจีน : เป็นการทานยาและให้ยาเข้าไปทางหลอดเลือดแดงเพื่อควบคุมมะเร็ง ยาแพทย์แผนจีนสามารถปรับความสมดุลของร่างกาย ยกระดับภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งมีข้อดีคือ ไม่มีผลข้างเคียง ไม่มีบาดแผล เป็นต้น มีประสิทธิภาพสำหรับผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนในระยะสุดท้าย ส่วนผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนในระยะแรกที่ใช้การบูรณาการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว ก็สามารถใช้ยาแพทย์แผนจีนในระยะยาว เพื่อบรรลุผลลพธ์ที่ตั้งไว้ได้
การดูแลทางด้านจิตใจ
1. สร้างความมั่นใจในการต่อสู้กับโรคให้แก่ผู้ป่วย ดำรงชีวิตแบบผู้ที่มองโลกในแง่ดี
2. เข้าร่วมกลุ่มฟื้นฟูร่างกาย เพื่อปรับสภาพร่างกายและจิตใจให้ดีขึ้น
การดูแลทางด้านการดำรงชีวิต
1. ระวังเรื่องอาหารการกินให้มีความเหมาะสม
2. ในช่วงพักฟื้นควรใช้ยาแพทย์แผนจีนควบคู่กับกับแผนทางการแพทย์อื่นๆที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น
3. ตรวจร่างกายตามกำหนด
จากผลการปฏิบัติพิสูจน์ให้เห็นว่า การบริการของทีมแพทย์ซึ่งบูรณาการหลายแขนง เช่น แผนกผ่าตัดเนื้องอก แผนกอายุรกรรมเนื้องอก แผนกแพทย์แผนจีน แผนกพยาธิวิทยา แผนกภาพถ่ายทางการแพทย์ วิสัญญีแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาล เป็นต้น ช่วยกำหนดแผนการที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เหมาะสมที่สุด และประหยัดที่สุดให้แก่ผู้ป่วยได้ ช่วยปรับผลกาลัพธ์ทางการแพทย์ของผู้ป่วยมะเร็งให้ดียิ่งขึ้น
จากระบบทางการแพทย์ที่เน้นการบริการครบถ้วนในครั้งเดียว โดยการบูรณาการหลายแขนงของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว บูรณาการการตรวจให้กับผู้ป่วย ด้านหนึ่งโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเสนอการบริการด้านการแพทย์ที่ครบวงจรให้แก่ผู้ป่วย อีกด้านหนึ่งยกระดับประสิทธิภาพทางการแพทย์ให้สูงขึ้น โดยไม่เพิ่มภาระให้แก่ผู้ป่วย อีกทั้งช่องทางการติดต่อระหว่างแพทย์และผู้ป่วยมีหลายช่องทาง ได้แก่ ทางออนไลน์ ทางอีเมล์ ทางโทรศัพท์ หรือการพบปะกัน เพื่อขยายช่องทางการบริการให้คำปรึกษา ช่วยให้พวกเขาต้านมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ผู้ป่วยจะได้พบนั้นประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักโภชนาการ และล่ามแปลภาษา เป็นต้น เพื่อตอบสนองความต้องการทุกระดับชั้นของผู้ป่วยจากประเทศที่แตกต่างกันให้เป็นที่พอใจ การพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยช่องทางเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือกับทางโรงพยาบาลได้ดียิ่งขึ้น