มะเร็งรังไข่ หมายถึง เซลล์เนื้อร้ายที่เกิดขึ้นในรังไข่ของเพศหญิง เป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยในอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิง เนื่องจากความซับซ้อนของเนื้อเยื่อภายในรังไข่ รวมทั้งสมรรถภาพของต่อมไร้ท่อ จึงยากแก่การวินิจฉัยว่าเนื้องอกนั้นเป็นชนิดดีหรือชนิดร้าย เมื่อตรวจวินิจฉัยแน่ชัด เซลล์มะเร็งของผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็มักจะแพร่กระจายไปยังอวัยวะใกล้เคียงแล้ว
อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งรังไข่อยู่อันดับหนึ่งของแผนกมะเร็งทางสูตินรีเวช กลายเป็นหนึ่งในโรคที่คุกคามชีวิตและสุขภาพร่างกายของผู้หญิงอย่างร้ายแรง หลังจากพบโรคมะเร็งรังไข่แล้ว ผู้ป่วยประมาณ 2 ใน 3 มักจะอยู่ในระยะสุดท้ายแล้ว ดังนั้นอัตราการอยู่รอด 5 ปี มีเพียง 20% - 30% เท่านั้น ผู้ป่วยจำนวนน้อยมากที่สามารถมีชีวิตรอด 3 ปี หลังจากเกิดโรค อายุยิ่งมาก อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งรังไข่ก็สูงตามไปด้วย
แต่สิ่งที่ยังทำให้มีความหวังก็คือ ยิ่งพบโรคมะเร็งรังไข่เร็ว อีกทั้งใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ก็จะสามารถได้รับผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยยืดอายุผู้ป่วยออกไปได้ และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตอีกด้วย
1. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม : ประเทศที่มีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและหญิงที่อยู่ในชนชั้นสูงจะมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งรังไข่สูง ซึ่งอาจมีความเกี่ยวข้องกับคอเลสเตอรอลในอาหาร นอกจากนี้ รังสีก่อประจุ แร่ใยหิน ผงแป้งทัลคัม ( talcum ) สามารถเพิ่มโอกาสเป็นโรคมะเร็งรังไข่ได้ อีกทั้งการสูบบุหรี่และการขาดวิตามิน A วิตามิน C และ E ก็อาจมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคด้วยเช่นเดียวกัน
2. ปัจจัยด้านฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ : โรคมะเร็งรังไข่มักเกิดขึ้นกับหญิงที่ไม่เคยคลอดบุตรหรือหญิงที่ไม่เคยตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์เหมือนจะมีบทบาทในการต่อต้านมะเร็งรังไข่ ซึ่งทางการแพทย์มีความเห็นว่า เยื่อบุผิวรังไข่ที่ทำให้ไข่ตกถูกทำลายซ้ำไปซ้ำมาทุกวัน มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ นอกจากนี้ โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก จะเกิดพร้อมกับโรคมะเร็งรังไข่ได้ง่าย ซึ่งโรคทั้งสามชนิดนี้มีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ
3. ปัจจัยด้านพันธุกรรมและครอบครัว : ผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ประมาณ 20% - 25% จะมีญาติสายตรงเคยเป็นโรคมะเร็งรังไข่
โรคมะเร็งรังไข่มักเกิดกับหญิงที่การทำงานของรังไข่ไม่สมบูรณ์ เช่น กลุ่มคนที่ประจำเดือนครั้งแรกมาช้า วัยหมดประจำเดือนมาเร็ว ปวดประจำเดือน นอกจากนี้ กลุ่มคนที่เป็นโสด เป็นหมัน ทำแท้งบ่อย และมีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็น ก็จะเป็นโรคมะเร็งรังไข่ได้ง่าย
โรคมะเร็งรังไข่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย อายุยิ่งมาก โอกาสเป็นโรคมะเร็งรังไข่ก็มากตามไปด้วย โดยทั่วไปมักพบในหญิงช่วงวัยทองและช่วงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งโรคมะเร็งรังไข่ต่างชนิดกัน การกระจายตามอายุก็จะแตกต่างกัน โรคมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่ออายุหลัง 40 ปี ช่วงอายุที่มีการเกิดโรคสูงจะอยู่ระหว่าง 50 - 60 ปี หลังอายุ 70 ปี ก็จะค่อยๆ ลดลง
สำหรับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคมะเร็งรังไข่ ควรสนใจอาการในระยะแรกของโรคมะเร็งรังไข่ รีบตรวจพบโรคเร็ว เพื่อจะได้รับการดูแลโรคมะเร็งรังไข่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. ปวดบวมบริเวณท้องอย่างต่อเนื่อง
2. ประจำเดือนผิดปกติ มีเลือดออกจากมดลูกแบบผิดปกติ มีเลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือน
3. ในระยะสุดท้ายจะมีอาการซูบผอม
1. บริเวณท้องส่วนล่างทั้งสองข้างมีก้อนเนื้อ
2. ก้อนเนื้ออยู่กับที่
3. มีน้ำในท้องค่อนข้างมาก อีกทั้งมีลักษณะเป็นน้ำเลือด
4. เบื่ออาหารเป็นเวลานาน ค่อยๆ ซูบผอม ไม่มีแรง อ่อนเพลีย
อาการในระยะแรกของโรคมะเร็งรังไข่บางครั้งจะไม่ปรากฏหรือบางครั้งก็จะแสดงออกมา จะไม่แสดงออกต่อเนื่อง ดังนั้น เมื่อปรากฏอาการใดๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น ก็ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อจะได้ตรวจวินิจฉัยและจัดการได้โดยเร็วที่สุด
ไม่กี่ปีมานี้การตรวจวินิจฉัยโดยภาพถ่ายทางการแพทย์ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีความหมายอย่างมากต่อผู้ป่วยโรคมะเร็งรังไข่ สามารถช่วยวินิจฉัยระยะของโรคมะเร็งรังไข่ที่แน่ชัด รวมทั้งทำความเข้าใจว่ามีการกลับมาเป็นซ้ำหรือไม่และช่วยในการพยากรณ์โรค
1. การตรวจอัลตราซาวด์ สามารถบอกตำแหน่งก้อนเนื้อที่ช่องกระดูกเชิงกราน ขนาดและลักษณะก้อนเนื้อ ว่าเป็นถุงน้ำหรือเป็นก้อนเนื้อแข็งได้อย่างแน่ชัด
2. การตรวจเอกซเรย์ สามารถทำความเข้าใจตำแหน่งและลักษณะของก้อนเนื้อ วินิจฉัยระยะมะเร็งให้แน่ชัด อีกทั้งมีส่วนช่วยในการตรวจการกลับมาเป็นซ้ำหลังการผ่าตัด
3. การตรวจ CT และการตรวจ MRI
4. การตรวจชิ้นเนื้อ เป็นการตัดชิ้นเนื้อรังไข่ผ่านการส่องกล้องทางช่องท้อง เพื่อนำไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งการตรวจชิ้นเนื้อเป็นวิธีเดียวที่สามารถตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งรังไข่ได้อย่างแม่นยำ การวินิจฉัยโรคมะเร็งรังไข่ในระยะแรกจะลำบากมาก การประสานวิธีการตรวจวินิจฉัยทุกชนิดจะมีส่วนช่วยในการตรวจพบโรคมะเร็งรังไข่ได้โดยเร็วที่สุด
การแบ่งระดับตามการแพร่กระจายโดยมีอัตราการอยู่รอดเฉลี่ย 5 ปี
ระยะ |
สภาวะการกระจาย |
อัตราการอยู่รอด 5 ปี |
ระยะที่ 1 |
เนื้องอกอยู่แค่ที่รังไข่ นับว่าเป็นโรคมะเร็งรังไข่ในระยะแรก |
90% |
ระยะที่ 2 |
เนื้องอกมีการเปลี่ยนแปลงที่รังไข่ข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ร่วมกับการลุกลามไปช่องกระดูกเชิงกราน
|
70% |
ระยะที่ 3 |
เนื้องอกมีการเปลี่ยนแปลงที่รังไข่ข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ร่วมกับการลุกลามไปช่องกระดูกเชิงกราน หรือลุกลามไปภายในช่องท้องหรือหลังเยื่อบุช่องท้อง
|
60% |
ระยะที่ 4 |
มีการลุกลามไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไป ลุกลามไปยังตับ
|
17% |
การแบ่งระยะโรคมะเร็งรังไข่มีความสำคัญต่อแผนการและประสิทธิภาพทางการแพทย์ ซึ่งขอบเขตของเนื้องอก ขนาด และการลุกลาม จะส่งผลต่อการเลือกแผนการ นอกจากนี้ อายุของเพศหญิง การมีประจำเดือน รวมทั้งสุขภาพทั้งร่างกาย ก็อาจส่งผลกระทบต่อแผนการและการวินิจฉัยโรคหลังจบขั้นตอนทางการแพทย์อีกด้วย
สำหรับโรคมะเร็งรังไข่ ควรพิจารณาในหลายด้าน โดยยึดตามอายุของผู้ป่วย สถานภาพการสมรส ระยะ ชนิดเนื้อเยื่อ การแบ่งตัวของเซลล์ ขนาดก้อนเนื้อ ความต้องการมีบุตร เป็นต้น
1. การผ่าตัด : (1) การผ่าตัดเฉพาะเนื้องอก ( รวมทั้งมดลูกที่อยู่ติดกัน เป็นต้น ) (2) การผ่าตัดเนื้องอกแบบขีดจำกัดสูงสุด (3) เมื่อเซลล์มะเร็งมีการลุกลาม ต้องทำการผ่าตัดช่องกระดูกเชิงกราน
2. การฉายรังสีและให้ยาเคมี : วิธีการที่ใช้ร่วมกับการผ่าตัด ประกอบไปด้วยการมห้ยาเคมีและการฉายรังสี เป็นการกำจัดเซลล์มะเร็งด้วยรังสีและยาเคมี บรรลุเป้าหมายยกระดับอัตราความสำเร็จให้สูงขึ้น
3. เทคนิคแบบบาดแผลเล็ก : มีวิธีการหลายประเภท เช่น การทำความเย็น เทคนิคแบบเฉพาะจุดผ่านหลอดเลือด การบูรณาการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบัน การเจาะจงเซลล์มะเร็ง เป็นต้น จะทำให้บาดแผลเล็ก เจ็บปวดน้อย และกำจัดเซลล์มะเร็งได้อย่างแม่นยำ
จากการค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์จีนมานานหลายปีพบว่า แพทย์แผนจีนมีประสิทธิภาพในการปรับสมดุลของร่างกายและช่วยในการต้านมะเร็ง ซึ่งการบูรณาการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบันได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ โดยใช้ยาแผนจีนประสานกับการผ่าตัด การฉายรังสีและเคมีบำบัด สามารถควบคุมเซลล์มะเร็งได้โดยตรง ทำให้ก้อนเนื้อหดเล็กลง ยกระดับภูมิคุ้มกันในร่างกายให้สูงขึ้น ฟื้นฟูสุขภาพ การบูรณาการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบันสามารถลดความเจ็บปวดของผู้ป่วย ยกระดับคุณภาพชีวิต ลดการกลับมาเป็นซ้ำและลดการลุกลาม
การดูแลพยาบาลในชีวิตประจำวัน
1. มีเพศสัมพันธ์อย่างเหมาะสม ระหว่างการทำเคมีบำบัด รวมทั้งหลังผ่าตัดควรงดการมีเพศสัมพันธ์ ผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์
2. ระมัดระวังเรื่องอาหารการกิน ปรับรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ดี รวมทั้งพฤติกรรมด้านสุขอนามัย
การดูแลพยาบาลด้านจิตใจ
1. ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวและเพื่อนๆ สร้างความมั่นใจที่ดีในด้านการแพทย์
2. ไปตรวจร่างกายซ้ำตามกำหนด
โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวมีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งชั้นนำ ซึ่งมีประสบการณ์มากมายในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งรังไข่ โดยบูรณาการผู้เชี่ยวชาญแต่ละเทคโนโลยีไว้ร่วมกัน เพื่อเสนอวิธีการให้แก่ผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ และประสบความสำเร็จในการกำจัดอาการเจ็บปวดของผู้ป่วยมะเร็งรังไข่จำนวนมาก
สำหรับการเกิดโรคและอาการของโรคมะเร็งรังไข่ โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวจะใช้รูปแบบการบูรณาการแบบเฉพาะจุดผ่านหลอดเลือดและการฝังแร่ไอโอดีนเป็นหลัก นำมาซึ่งความหวังใหม่ให้แก่ผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ ผู้เชี่ยวชาญเทคนิคแบบเฉพาะจุดผ่านหลอดเลือดของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวอาศัยประสบการณ์ทางการแพทย์มานานหลายปี ใช้เทคโนโลยีที่ชำนาญการนำยาต้านมะเร็งความเข้มข้นสูงส่งตรงเข้าไปยังหลอดเลือดแดงที่ไปหล่อเลี้ยงมะเร็ง การกำจัดเซลล์มะเร็งของยาจะให้ผลนาน อีกทั้งผลข้างเคียงต่อร่างกายน้อย อาการคลื่นไส้ อาเจียนก็น้อยกว่าการให้ยาทั้งร่างกายอย่างเห็นได้ชัด จากนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านการฝังแร่จะนำแร่ไอโอดีน 125I ฝังตรงเนื้องอก เพื่อกำจัดเนื้องอกซึ่งหดเล็กลงด้วยยาเพิ่มขึ้นอีกขั้นหนึ่ง ช่วยต่อต้านเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน ก็จะอาศัยรูปแบบการบูรณาการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบันมามาอย่างต่อเนื่อง โดยฉีดยาแผนจีนทางหลอดเลือดดำหรือผ่านรูปแบบการทานยาให้เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งนอกจากจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดแล้ว ยังสามารถฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ยกระดับความสามารถในการต้านมะเร็งอีกด้วย
ในระหว่างการนั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการจะดูจากสภาพร่างกาย ความแตกต่างด้านความเคยชินในการบริโภค เพื่อจัดรายการอาหารที่มีสารอาหารให้กับผู้ป่วยเพศหญิง อาหารทางแพทย์แผนจีน การจัดอาหารการกินที่เหมาะสม จะช่วยยกระดับสมรรถนะภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย ที่นี่อาการของผู้ป่วยมะเร็งรังไข่จะได้รับการควบคุมและดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านหนึ่งโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเสนอการบริการด้านการแพทย์ที่ครบวงจรให้แก่ผู้ป่วย อีกด้านหนึ่งยกระดับประสิทธิภาพทางการแพทย์ให้สูงขึ้น โดยไม่เพิ่มภาระให้แก่ผู้ป่วย