โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็นเนื้องอกร้ายชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นบริเวณต่อมน้ำเหลืองหรือโครงสร้างต่อมน้ำเหลืองอื่นๆ ในปัจจุบันทราบว่ามะเร็งต่อมน้ำเหลืองนั้นแบ่งตามพยาธิวิทยาได้เกือบ 70 ประเภท ซึ่งแบ่งเป็นประเภทใหญ่ได้สองประเภท คือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน ( Hodgkin Lymphoma ) และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน ( Non-Hodgkin Lymphoma )
1. ปัจจัยทางกายภาพ : การเกิดของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการดูดซับรังสี โดยรังสีที่แผ่ออกมามากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้
2. ปัจจัยทางเคมี : วัตถุทางเคมีที่เป็นสารก่อมะเร็ง เช่น สารเคมีปราบศัตรูพืช น้ำยาย้อมผม เป็นต้น
3. ปัจจัยทางภูมิคุ้มกัน : ผู้ที่สมรรถภาพภูมิคุ้มกันโรคลดลง เช่น โรคเอดส์ การปลูกถ่ายอวัยวะ โรคไขข้ออักเสบ เป็นต้น
4. ปัจจัยทางพันธุกรรม : การเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมอย่างชัดเจน เช่น พี่น้องอาจเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองตามลำดับหรือเป็นพร้อมกัน
5. สาเหตุจากไวรัส : การติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสHTLV ไวรัสHIV ไวรัสEB เป็นต้น
นอกจากนี้ ร่างกายที่มีความเป็นกรดในระยะเวลานานก็เป็นสาเหตุทั่วไปที่ทำให้เซลล์ต่อมน้ำเหลืองกลายเป็นมะเร็งได้
กลุ่มคนที่เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
จากข้อมูลที่เกี่ยวข้องพบว่า เฉลี่ยแล้วประมาณทุกๆ 9 นาที ทั่วโลกสามารถปรากฏเคสมะเร็งต่อมน้ำเหลืองใหม่ได้ 1 เคส ซึ่งในจำนวนนั้นผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 20 – 40 ปี ค่อยๆ เพิ่มขึ้นทุกวัน เพราะเป็นช่วงเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลือง
1. เป็นไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ อุณหภูมิของร่างกายจะอยู่ระหว่าง38 – 40 องศาติดต่อกันอยู่หลายวัน เมื่อได้รับการดูแล จะอาการดีขึ้นเล็กน้อย แต่ก็มักจะกลับมาเป็นอีกอยู่บ่อยๆ
2. ต่อมน้ำเหลืองบวมโต บริเวณที่ต่อมน้ำเหลืองอยู่ระดับตื้นจะบวมโต เช่น ลำคอ ด้านล่างขากรรไกร ด้านล่างใบหู เป็นต้น และสามารถขยายไปถึงบริเวณต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้และขาหนีบ ซึ่งต่อมน้ำเหลืองนั้นเดิมทีอาจจะมีขนาดเท่ากับเม็ดถั่วเหลือง แต่อาจบวมขึ้นจนมีขนาดเท่าผลพุทราก็เป็นได้ แต่ปกติไม่มีอาการเจ็บปวด
3. อาการที่แสดงออกมาจากทั่วทั้งร่างกาย : มีอาการคันผิวหนัง ร่างกายผอมลง มีเหงื่อออกขณะนอนหลับ อ่อนเพลีย โลหิตจาง เป็นต้น
1. การตรวจโดยการถ่ายภาพรังสี
2. การตรวจไขกระดูก
3. การถ่ายภาพรังสีตรวจต่อมน้ำเหลืองที่ขาและเท้า
4. การตรวจชิ้นเนื้อตับ
5. การตรวจ CT
1. การผ่าตัด : วิธีที่พบเห็นได้บ่อย เช่น การผ่าตัดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบริเวณกระเพาะอาหารและลำไส้ การผ่าตัดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบริเวณระบบขับถ่าย การผ่าตัดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบริเวณม้าม เป็นต้น
2. ให้ยาเคมี : ตัวยาทางเคมีสามารถกำจัดเซลล์มะเร็งที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วได้ เป็นวิธีหลักสำหรับโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
3. การฉายรังสี : เป็นการฉายรังสีพลังงานสูงบริเวณก้อนมะเร็ง บรรลุผลในการกำจัดเซลล์มะเร็ง
4. ยาแผนจีน : ปรับประสิทธิภาพภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ดีขึ้น ในขณะเดียวกันก็จะเป็นการลดผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการให้เคมี เช่น อาเจียน คลื่นไส้ เป็นต้น
ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวระบุว่า มะเร็งต่อมน้ำเหลืองไม่สามารถเน้นเพียงวิธีใดวิธีหนึ่ง แต่ต้องอาศัยสภาพโดยรวมของผู้ป่วย เพื่อบูรณาการเทคนิคทางการแพทย์หลายแขนง เช่น การผ่าตัด การฉายรังสี การให้เคมี การแพทย์แผนจีน เป็นต้น จึงจะได้รับผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
1. ให้กำลังใจผู้ป่วยให้มีความกระตือรือร้น เพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ป่วยในการเอาชนะโรคภัยไข้เจ็บได้
2. เพิ่มโภชนาการทางอาหาร ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง วิตามินหลากหลาย อาหารย่อยง่าย เพิ่มพลังภูมิคุ้มกันโรค
3. ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกาย เมื่อเป็นไข้หรือมีอาการแสดงชัดเจนเมื่อมะเร็งได้ลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ก็ควรนอนพักผ่อนเพื่อลดความเหน็ดเหนื่อยและดูแลสภาพร่างกายไว้
4. ดูแลความสะอาดของผิวหนัง ควรใช้น้ำอุ่นมาเช็ดให้สะอาดทุกวัน โดยเฉพาะจะต้องดูแลความสะอาดผิวบริเวณที่มีการฉายรังสี หลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นผิวหนัง เช่น การตากแดด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค สบู่ เป็นต้น
จากผลการปฏิบัติพิสูจน์ให้เห็นว่า การบริการของทีมแพทย์ซึ่งบูรณาการหลายแขนง เช่น แผนกผ่าตัดเนื้องอก แผนกอายุรกรรมเนื้องอก แผนกพยาธิวิทยา แผนกภาพถ่ายทางการแพทย์ วิสัญญีแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาล เป็นต้น ช่วยกำหนดแผนการที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เหมาะสมที่สุด และประหยัดที่สุดให้แก่ผู้ป่วยได้ ให้ผลลัพธ์ของผู้ป่วยมะเร็งให้ดียิ่งขึ้น
จากระบบทางการแพทย์ที่เน้นการบริการครบถ้วนในครั้งเดียว โดยการบูรณาการหลายแขนงของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว บูรณาการการตรวจให้กับผู้ป่วย ด้านหนึ่งโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเสนอการบริการด้านการแพทย์ที่ครบวงจรให้แก่ผู้ป่วย อีกด้านหนึ่งยกระดับประสิทธิภาพทางการแพทย์ให้สูงขึ้น โดยไม่เพิ่มภาระให้แก่ผู้ป่วย อีกทั้งช่องทางการติดต่อระหว่างแพทย์และผู้ป่วยมีหลายช่องทาง ได้แก่ ทางออนไลน์ ทางอีเมล์ ทางโทรศัพท์ หรือการพบปะกัน เพื่อขยายช่องทางการบริการให้คำปรึกษา ช่วยให้พวกเขาต้านมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ผู้ป่วยจะได้พบนั้นประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักโภชนาการ และล่ามแปลภาษา เป็นต้น เพื่อตอบสนองความต้องการทุกระดับชั้นของผู้ป่วยจากประเทศที่แตกต่างกันให้เป็นที่พอใจ การพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยช่องทางเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือกับทางโรงพยาบาลได้ดียิ่งขึ้น