โรคมะเร็งไต คือ เนื้องอกร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณเยื่อบุผิวของ uriniferous tubule ซึ่งเป็นท่อเล็กๆ มีหน้าที่นำน้ำปัสสาวะไหลลงสู่กรวยไต โดยทั่วไปความเร็วในการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า แต่บางครั้งก็เร็วมาก ซึ่งสามารถเกิดขึ้นที่ตำแหน่งใดก็ได้ในเนื้อไต โรคมะเร็งไตสามารถค่อยๆ ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อกับอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง นอกจากนี้ยังสามารถลุกลามสู่ภายนอกได้โดยผ่านต่อมน้ำเหลืองหรือหลอดเลือดดำ
มะเร็งไตเป็นหนึ่งในเนื้องอกร้ายที่พบบ่อยในระบบขับถ่ายปัสสาวะ อัตราการเกิดโรคมะเร็งไตเป็น 3% - 6% ของโรคมะเร็งทั้งหมดในร่างกาย เมื่อเปรียบเทียบผู้ป่วยมะเร็งไตเพศชายกับเพศหญิงอัตราส่วนอยู่ที่ 2 : 1 สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุ ช่วงอายุที่มีอัตราการเกิดโรคสูงคือ 50 - 70 ปี
ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการอยู่รอดของผู้ป่วยมะเร็งไตมีอยู่มากมาย ซึ่งโดยทั่วไปนั้น หลังจากผู้ป่วยมะเร็งไตได้รับการผ่าตัดออกไปแล้ว จะมีอัตราการอยู่รอด 5 ปี ประมาณ 35% - 40% อัตราการอยู่รอด 10 ปี ประมาณ 17% - 30% บางครั้งการวินิจฉัยโรคมะเร็งไตอาจทำได้ยาก สามารถเกิดการลุกลามของจุดเกิดโรคหลังจากการผ่าตัดมะเร็งไตไปแล้ว 20 ปี 30 ปี หรือแม้กระทั่งเวลานานกว่านั้นก็เป็นได้
อัตราการเกิดโรคมะเร็งไตนั้นสูงมาก แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งไตอย่างแน่นอนยังไม่ชัดเจน การเกิดโรคมะเร็งไตอาจเป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงหลายด้านร่วมกัน ได้แก่
1. การสูบบุหรี่ : ผู้ที่สูบบุหรี่ 30 ปีขึ้นไป อีกทั้งสูบบุหรี่ที่ไม่มีก้นกรองจะมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งไตสูงมาก
2. อ้วนและความดันโลหิตสูง : อ้วนและความดันโลหิตสูงเป็นสองปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งไตในเพศชาย
3. อาชีพ : คนงานในโรงพิมพ์ คนงานถ่านหิน ผู้ที่ทำงานด้านกิจการซักแห้งและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี จะเพิ่มอัตราการเกิดโรคมะเร็งไตและความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
4. การฉายรังสี : สัมผัสกับแหล่งกำเนิดรังสีอ่อนเป็นเวลานานอาจจะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งไต
5. พันธุกรรม : ในวงศ์ตระกูลมีผู้ป่วยโรคมะเร็งไต อัตราเสี่ยงการเกิดโรคก็จะสูงกว่าคนทั่วไป
6. อาหารและยา : จากการสำรวจพบว่า การทานผลิตภัณฑ์นม โปรตีนสัตว์และไขมันมาก แต่ทานผลไม้และผักน้อย ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งไตได้
1. ไม่มีอาการชัดเจน : ปัจจุบัน โรคมะเร็งไตประมาณ 40% ขึ้นไป จะพบโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพหรือการตรวจร่างกายด้วยสาเหตุอื่น ไม่มีอาการที่ชัดเจนหรือสัญญาณของร่างกายใดๆ มะเร็งไตในระยะแรกหลังจากได้รับการดูแลแล้ว โดยทั่วไปการพยากรณ์โรคจะดี ด้วยเหตุนี้ ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้ไปตรวจสุขภาพตามกำหนด
2. อาการตัวอย่างเฉพาะส่วน : ปัสสาวะเป็นเลือด ปวดเอว มีก้อนเนื้อบริเวณท้อง เป็นสามอาการหลักที่สำคัญของมะเร็งไต เมื่ออาการทั้งสามเกิดขึ้นกับร่างกายของผู้ป่วย มักจะคาดเดาได้ว่าอาการพัฒนามาถึงขั้นสุดท้ายแล้ว แต่เหตุการณ์นี้จะน้อยมาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะปรากฏอาการเพียงหนึ่งหรือสองอาการจากสามอาการข้างต้น
(1) ปัสสาวะเป็นเลือด : ผู้ป่วยมะเร็งไตประมาณ 40% จะปัสสาวะเป็นเลือด สามารถมองเห็นปัสสาวะเป็นเลือดได้ด้วยตาเปล่า หรือมองเห็นจากการส่องกล้อง เมื่อปัสสาวะออกมาเป็นเลือดจำนวนมากโดยมีลิ่มเลือด สามารถปรากฏอาการปวดบีบรัดที่ไต ปัสสาวะแล้วเจ็บ ปัสสาวะลำบาก แม้กระทั่งปัสสาวะคลั่ง
(2) ก้อนเนื้อ : ไตจะอยู่หลังเยื่อบุช่องท้อง ในตำแหน่งลึก เมื่อคลำตรวจบริเวณท้องจะไม่พบ จนเมื่อเนื้องอกมีขนาดค่อนข้างใหญ่หรืออยู่ที่ด้านล่างสุดของไตถึงจะคลำตรวจพบ ผู้ป่วยประมาณ 10% - 40% สามารถคลำพบก้อนเนื้อบริเวณท้อง บางครั้งอาจจะเป็นเพียงอาการเดียวที่พบ
(3) เจ็บปวด : การปวดเอว เนื่องจากเนื้องอกใหญ่ขึ้นทำให้ความตึงของส่วนรีนัลแคปซูล ( ส่วนนอกสุดที่หุ้มรอบไต ) เพิ่มขึ้นหรือเนื้องอกรุกล้ำเนื้อเยื่อโดยรอบ ทำให้มีอาการปวดตื้ออย่างต่อเนื่อง อัตราการเกิดความเจ็บปวดประมาณ 20% - 40% หากมีอาการที่เกี่ยวข้องควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที หลีกเลี่ยงไม่ให้อาการยืดเยื้อ
3. อาการตามร่างกาย : ผู้ป่วยประมาณ 10% - 40% จะมีกลุ่มอาการร่วมกับเนื้องอก เช่น ความดันโลหิตสูง โลหิตจาง น้ำหนักลดลง ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก เป็นไข้ ภาวะเม็ดเลือดแดงมาก ตับทำงานผิดปกติ เป็นต้น
4. อาการลุกลาม : เนื่องจากมะเร็งมีการลุกลาม ผู้ป่วยอาจจะไปพบแพทย์จากอาการปวดกระดูก กระดูกหัก ไอ อาเจียนเป็นเลือด เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยประมาณ 10% ไปพบแพทย์เพราะปรากฏอาการลุกลามเหล่านี้
อาการของโรคมะเร็งไตเปลี่ยนแปลงไปได้มากมาย หากมีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที และต้องทำการตรวจที่เกี่ยวข้อง
การวินิจฉัยโรคมะเร็งไตโดยหลักจะอาศัยการตรวจจากภาพถ่ายทางการแพทย์ ซึ่งการวินิจฉัยแน่ชัดต้องใช้การตรวจทางพยาธิวิทยา
1. การตรวจจากภาพถ่ายทางการแพทย์
การตรวจเอกซเรย์ : การถ่ายภาพ plain film บริเวณเอว สามารถแสดงให้เห็นบริเวณที่ถ่ายภาพรังสีที่ไตในตำแหน่งรอยโรคซึ่งขยายใหญ่ขึ้น และภาพถ่ายกล้ามเนื้อ psoas major บริเวณเอวที่ไม่ชัด ภาพถ่ายกรวยไตมักจะแสดงให้เห็นภาพกรวยไตหรือกลีบกรวยไตได้รับการกดทับ เปลี่ยนรูปร่าง ยาวขึ้นหรือบิดกลับ เป็นต้น
การตรวจอัลตราซาวด์ : สามารถแยกแยะก้อนเนื้อแข็งและซีสต์ที่ไตได้อย่างแม่นยำ และยังสามารถแสดงให้เห็นขอบเขตของมะเร็งไต มะเร็งมีการรุกล้ำไปอวัยวะใกล้เคียงหรือไม่ มีการลุกลามไปที่ตับและม้ามหรือไม่
การตรวจ CT : โดยหลักจะใช้วินิจฉัยรอยโรคที่ไต อัตราความแม่นยำในการแยกแยะความแตกต่างระหว่างซีสต์และก้อนเนื้อแข็งสูงถึง 95% สามารถประเมินขนาดของก้อนมะเร็ง ลักษณะภายนอก ระดับความหนาแน่น มีเลือด ของเหลว เนื้อเยื่อตายหรือไม่ มีการรุกล้ำหรือลุกลามไปเนื้อเยื่อโดยรอบหรือไม่ ได้อย่างค่อนข้างแม่นยำ
การตรวจ MRI : สามารถแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างก้อนแข็งของไตและซีสต์ที่ไตได้อย่างชัดเจน
2. การตรวจทางพยาธิวิทยา
การตรวจชิ้นเนื้อที่ไตสามารถตรวจวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาในระยะแรกได้
ตามวิธีการแบ่งระยะของ Robson โรคมะเร็งไตสามารถแบ่งระยะได้ดังต่อไปนี้
ระยะ1 : มะเร็งอยู่ที่ส่วนรีนัลแคปซูล ( ส่วนที่อยู่ด้านนอกสุดหุ้มรอบไต )
ระยะ2 : มะเร็งรุกล้ำเข้าส่วนไขมันรอบไต แต่จำกัดอยู่ในบริเวณเยื่อหุ้มรอบไต
ระยะ3 : แบ่งเป็นระยะ3a ระยะ3b และระยะ3c :
ระยะ3a : มะเร็งรุกล้ำเข้าหลอดเลือดดำหรือหลอดเลือดดำใหญ่
ระยะ3b : บริเวณต่อมน้ำเหลืองถูกรุกล้ำ
ระยะ3c : รุกล้ำเข้าหลอดเลือดดำของไต หลอดเลือดดำใหญ่ และต่อมน้ำเหลืองพร้อมกัน
ระยะ4 : จะแบ่งเป็นระยะ4a และระยะ4b
ระยะ4a : มะเร็งลุกลามไปอวัยวะใกล้เคียงนอกต่อมหมวกไต
ระยะ4b : มะเร็งลุกลามไปถึงอวัยวะส่วนอื่นที่อยู่ไกลออกไป
หลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งและแบ่งระยะแล้วนั้น แพทย์จะพูดถึงแผนการทางการแพทย์ต่างๆ ในเวลานี้ การใช้เวลาคิดพิจารณาเลือกแผนการเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ซึ่งปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ส่งผลกระทบคือ ระยะของโรคมะเร็ง ปัจจัยที่ต้องพิจารณาอื่นๆ รวมถึงสภาพร่างกายของผู้ป่วย ผลข้างเคียงของแผนการ ดูว่าสามารถมีส่วนช่วยในการยืดอายุ บรรเทาอาการหรือไม่ เป็นต้น
หากเป็นมะเร็งไต วิธีการที่เลือกใช้ ได้แก่ การศัลยกรรมผ่าตัด การฉายรังสี การเจาะจงเซลล์มะเร็ง การใช้เทคนิคภูมิคุ้มกัน การให้ยาเคมี หรือการใช้วิธีการเหล่านี้ร่วมกัน
1. การศัลยกรรมผ่าตัด
(1) การผ่าตัดไตแบบดั้งเดิม : จะผ่าตัดไตทั้งหมด ต่อมหมวกไตและเนื้อเยื่อไขมันรอบไตออกไป ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เคียงก็จะผ่าตัดออกเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงได้แต่อาศัยไตข้างหนึ่งในการกรองปัสสาวะ
(2) การผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลือง : เมื่อมะเร็งไปถึงต่อมน้ำเหลือง แพทย์จำนวนมากเมื่อทำการผ่าตัดไตแบบดั้งเดิม ก็จะผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองด้วย
(3) การผ่าตัดไตบางส่วน : ผ่าตัดเนื้อเยื่อไตส่วนที่เป็นมะเร็ง
(4) การผ่าตัดจุดที่ลุกลาม : ผ่าตัดมะเร็งที่มีการลุกลาม มีส่วนช่วยในการบรรเทาความเจ็บปวดและอาการของผู้ป่วย
2. การทำความเย็น
เป็นการใช้เข็มให้ความเย็นเจาะลงไปในก้อนมะเร็ง แล้วให้ก๊าซอาร์กอน ภายใต้การนำทางของเครื่องอัลตราซาวด์หรือ CT ทำให้อุณหภูมิภายในก้อนมะเร็งลดลงอย่างรวดเร็ว จากนั้นเปลี่ยนเป็นให้ก๊าซฮีเลียม ให้ก้อนน้ำแข็งคืนอุณหภูมิ ทำสลับกันอย่างน้อย 2 รอบ มีบทบาทในการกำจัดเนื้อเยื่อมะเร็ง
3. การใช้คลื่นความถี่สูง
เป็นการใช้คลื่นความถี่พลังงานสูงทำให้ก้อนมะเร็งร้อนขึ้น โดยใช้เข็มเจาะผ่านผิวหนังลงไปที่ก้อนมะเร็ง ภายใต้การนำของเครื่องถ่ายภาพทางการแพทย์ อาศัยคลื่นความถี่ เพิ่มความร้อนให้ก้อนมะเร็ง ทำลายเซลล์มะเร็ง
4. การฉายรังสี
เป็นการใช้รังสีพลังงานสูง ( เช่น รังสีเอกซเรย์ ) มากำจัดหรือทำให้เซลล์มะเร็งเล็กลง
5. การเจาะจงเซลล์มะเร็ง
เป็นการควบคุมการเติบโตของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงมะเร็งและเซลล์มะเร็งที่เติบโตในส่วนอื่นๆ
6. การใช้เทคนิคภูมิคุ้มกัน
เป็นการเพิ่มสมรรถภาพระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อต่อต้านหรือทำลายเซลล์มะเร็ง
7. การใช้ยาเคมี
เป็นการฉีดยาต้านมะเร็งเข้าไปในหลอดเลือดหรือทานยา ซึ่งยาเหล่านี้จะไปตามกระแสเลือดทั่วร่างกาย
จากการค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์จีนมานานหลายปีพบว่า แพทย์แผนจีนมีประสิทธิภาพในการปรับสมดุลของร่างกายและช่วยในการต้านมะเร็ง ยาแพทย์แผนจีนสามารถเชื่อมโยงกับทั้งขั้นตอนต่างๆ และผสานกับวิธีการอื่นๆ มีบทบาทในการเพิ่มประสิทธิภาพการลดความเป็นพิษ แพทย์แผนจีนอย่างเดียวจะควบคุมการพัฒนาของมะเร็ง ปรับคุณภาพชีวิต และมีประสิทธิภาพทางการแพทย์ นอกจากนี้ยังมีวิธีการอื่นๆอีก เช่น การฝังเข็ม การฉีดยาจีนตรงตำแหน่งฝังเข็ม การนวด การฝึกลมปราณ เป็นต้น มีส่วนช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยมะเร็งไตได้
จากผลการปฏิบัติพิสูจน์ให้เห็นว่า การบริการของทีมแพทย์ซึ่งบูรณาการหลายแขนง เช่น แผนกผ่าตัดเนื้องอก แผนกอายุรกรรมเนื้องอก แผนกแพทย์แผนจีน แผนกพยาธิวิทยา แผนกภาพถ่ายทางการแพทย์ วิสัญญีแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาล เป็นต้น ช่วยกำหนดแผนการที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เหมาะสมที่สุด และประหยัดที่สุดให้แก่ผู้ป่วยได้ ช่วยปรับผลลัพธ์ทางการแพทย์ของผู้ป่วยมะเร็งให้ดียิ่งขึ้น
จากระบบทางการแพทย์ที่เน้นการบริการครบถ้วนในครั้งเดียว โดยการบูรณาการหลายแขนงของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว บูรณาการการตรวจให้กับผู้ป่วย อีกด้านหนึ่งโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวได้เสนอการบริการด้านการแพทย์ที่ครบวงจรให้แก่ผู้ป่วย อีกด้านหนึ่งยกระดับประสิทธิภาพทางการแพทย์ให้สูงขึ้น โดยไม่เพิ่มภาระให้แก่ผู้ป่วย อีกทั้งช่องทางการติดต่อระหว่างแพทย์และผู้ป่วยมีหลายช่องทาง ได้แก่ ทางออนไลน์ ทางอีเมล์ ทางโทรศัพท์ หรือการพบปะกัน เพื่อขยายช่องทางการบริการให้คำปรึกษา ช่วยให้พวกเขาต้านมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ผู้ป่วยจะได้พบนั้นประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักโภชนาการ และล่ามแปลภาษา เป็นต้น เพื่อตอบสนองความต้องการทุกระดับชั้นของผู้ป่วยจากประเทศที่แตกต่างกันให้เป็นที่พอใจ การพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยช่องทางเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือกับทางโรงพยาบาลได้ดียิ่งขึ้น