มะเร็งลำไส้ คือ เนื้องอกร้ายที่พบเห็นได้บ่อยในทางเดินกระเพาะอาหารและลำไส้ โดยอัตราการเกิดโรคเป็นรองจากมะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งหลอดอาหารเท่านั้น เป็นส่วนที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดของมะเร็งลำไส้ใหญ่ ( ประมาณ 60% ) โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอายุ 40 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 30 ปี มีประมาณ 15% มักพบได้ค่อนข้างบ่อยในเพศชาย อัตราเปรียบเทียบเพศชายกับเพศหญิงอยู่ที่ 2-3 : 1
โรคมะเร็งลำไส้มีอาการแสดงที่เด่นๆ มากมาย ผู้ป่วยจึงต้องระมัดระวังให้มากขึ้น สำหรับมะเร็งลำไส้ในระยะแรกจะมีอาการถ่ายเป็นเลือดและไม่มีความเจ็บปวดเป็นหลัก เลือดเป็นสีแดงหรือสีแดงสด มีความคล้ายคลึงกับอาการของริดสีดวงภายในในระยะแรกอย่างมาก
รองลงมาคือ เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการขับถ่าย อาจมีอาการท้องผูกและท้องเสีย ปวดเบ่ง เป็นต้น สิ่งที่ถ่ายออกมาเป็นลักษณะของเลือดเหนียวข้น รูปร่างของอุจจาระก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน อุจจาระจะมีลักษณะที่เล็กลงเรื่อยๆ
นอกจากนี้ เนื้องอกมะเร็งมีการลุกลามไปยังรอบผนังลำไส้ จึงทำให้ช่องลำไส้แคบลง โดยเฉพาะในบริเวณที่เชื่อมต่อกันของลำไส้ตรงกับลำไส้ใหญ่ส่วนซิกมอยด์ ส่วนใหญ่จะเป็นมะเร็งลักษณะแข็งรูปร่างแคบ และทำให้เกิดการอุดตันได้ง่าย เกิดอาการลำไส้ถูกกระตุ้น เป็นต้น
การอุจจาระเป็นเลือดในระยะหลังนั้นส่วนใหญ่จะเป็นสีแดงเข้ม มีลิ่มเลือดในอุจจาระหรืออุจจาระเป็นเลือดข้นปนอยู่ด้วย
เมื่อมะเร็งลำไส้มาถึงระยะสุดท้ายก็จะลุกลามไปยังอวัยวะโดยรอบ เช่น กระเพาะปัสสาวะและต่อมลูกหมาก เป็นต้น ทำให้ปัสสาวะบ่อย อั้นปัสสาวะไม่อยู่และปัสสาวะลำบาก เป็นต้น เมื่อเนื้องอกลุกลามไปยังกลุ่มเส้นประสาทใต้กระเบนเหน็บร่วมเอว ก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดกระดูกก้นกบและบริเวณเอว
1. พันธุกรรม : มะเร็งลำไส้มีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม บุคคลที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งลำไส้ ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ได้ง่าย มะเร็งลำไส้ชนิดต่อมบางส่วนเป็นการถ่ายทอดพันธุกรรมแบบลักษณะเด่นประเภทหนึ่ง อัตราการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจะสูงมาก
2. อาหารการกิน : นอกจากทานอาหารที่มีสารไนไตรท์แล้ว การทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นเวลานานก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งลำไส้อีกด้วย
3. โรคเกี่ยวกับลำไส้ : อาการลำไส้อักเสบเรื้อรัง ติ่งเนื้อที่ลำไส้ใหญ่ มีแผลในลำไส้ เป็นต้น จะทำลายประสิทธิภาพของลำไส้ เกิดการเปลี่ยนแปลงของโรค ทำให้กลายเป็นมะเร็งได้
4. โรคอื่นๆ : โรคพยาธิ เช่น พยาธิใบไม้ในเลือด จะทำให้เยื่อเมือกในลำไส้เสียหาย ทำให้กลายเป็นแผลเน่าเปื่อย อักเสบ ทำให้เนื้องอกชนิดต่อมเพิ่มขึ้น และกลายเป็นมะเร็งลำไส้ได้
5. การขาดแคลนจุลธาตุอาหาร : โดยเฉพาะการขาดสารโมลิบดีนัม จะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งลำไส้ได้
จากเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ยกระดับสูงขึ้น ทำให้ปัจจุบันวิธีการตรวจวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ก็มีมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งวิธีการตรวจโดยสรุปมีดังนี้
1. การตรวจเอกซเรย์ : รวมถึงการสวนแป้งแบเรียมตรวจทางเดินอาหารทั้งหมดและการสวนแป้งแบเรียมลำไส้ ซึ่งผู้ป่วยที่มีเนื้องอกที่ลำไส้นั้นเหมาะกับการตรวจโดยการสวนแป้งแบเรียมลำไส้ สำหรับจุดเกิดโรคที่ขนาดค่อนข้างเล็กสามารถทำการสวนแป้งแบเรียมร่วมกับแก๊ส ( Double contrast Barium Enema ) เพื่อให้ผลการตรวจดียิ่งขึ้น
2. การส่องกล้องตรวจลำไส้
การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ ( Sigmoiodscope ) : เป็นท่อตรง ขนาดยาวที่สุด 30 เซนติเมตร ตรวจได้สะดวก สามารถนำชิ้นเนื้อมาตรวจได้ เหมาะกับการตรวจรอยโรคบริเวณตำแหน่งใต้ลำไส้ใหญ่ส่วนซิกมอยด์
การส่องกล้องไฟเบอร์ออปติกตรวจลำไส้ : ความยาว 120 – 180 เซนติเมตร สามารถโค้งงอได้ สามารถตรวจลำไส้ทั้งหมด สามารถทำการตรวจชิ้นเนื้อ และพบรอยโรคในระยะแรกได้ หากการตรวจวินิจฉัยที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ทำได้ยากก็สามารถใช้การตรวจด้วยวิธีนี้ได้
3. การตรวจอัลตราซาวด์และการตรวจ CT : สามารถวิเคราะห์ตำแหน่งมะเร็ง ขนาด รวมทั้งความเกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อโดยรอบ ต่อมน้ำเหลืองและการลุกลาม
4. การตรวจค่า CEA : การตรวจค่า CEAนั้นมีความแพร่หลายอย่างมาก เป็นหนึ่งในวิธีการตรวจที่สำคัญที่สุดในการตรวจมะเร็งลำไส้ตรง ปกติแล้วจะมีคุณค่าต่อการประเมินค่าผลการรักษาและการพยากรณ์โรค การวัดค่าเซรั่ม CEA อย่างต่อเนื่อง สามารถใช้สังเกตผลการรักษาโดยการผ่าตัดและเคมีบำบัดได้
หากผู้ป่วยถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งแล้วแน่นอน แพทย์ควรวินิจฉัยระยะที่แน่ชัดของมะเร็งลำไส้ โดยจะต้องใช้วิธีการตรวจอื่นๆ มาวิเคราะห์ระยะของมะเร็ง เมื่อทราบระยะแล้ว จึงจะสามารถเลือกวิธีการรักษาที่ดีที่สุดได้
ระยะ0 : มะเร็งอยู่ในระยะแรก โดยเซลล์มะเร็งจะอยู่แค่ชั้นในสุดของลำไส้เท่านั้น
ระยะ1 : เซลล์มะเร็งลุกลามไปยังหลายบริเวณในผนังภายในลำไส้ใหญ่
ระยะ2 : เซลล์มะเร็งออกจากส่วนลำไส้ แพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อโดยรอบ แต่ยังไม่แพร่กระจายไปถึงต่อมน้ำเหลือง
ระยะ3 : เซลล์มะเร็งลุกลามไปถึงต่อมน้ำเหลืองโดยรอบ แต่ยังไม่ลุกลามไปถึงส่วนอื่นของร่างกาย
ระยะ4 : เซลล์มะเร็งได้ลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ซึ่งมะเร็งลำไส้จะลุกลามไปยังตับและปอดก่อนได้ง่าย
ปัจจุบันวิธีการรักษามะเร็งลำไส้นั้นส่วนใหญ่จะใช้รูปแบบการรักษาแบบบูรณาการ โดยประกอบไปด้วยการผ่าตัด การฉายรังสีและเคมีบำบัด การรักษาเจาะจงเซลล์มะเร็ง เป็นต้น
1. การรักษาโดยการผ่าตัด : เป็นวิธีการรักษาหลักของมะเร็งลำไส้ โดยนอกจากระยะ0 แล้วจะใช้การผ่าตัดเป็นหลัก ก่อนและหลังการผ่าตัดสามารถใช้การรักษาโดยเคมีบำบัด รวมทั้งการฉายรังสีหรือยาแผนจีนมาเสริมได้
2. การฉายรังสีและเคมีบำบัด : การฉายรังสีและเคมีบำบัดก่อนการผ่าตัดสามารถทำให้จุดเกิดโรคเล็กลง ยกระดับอัตราการผ่าตัด การฉายรังสีและเคมีบำบัดหลังการผ่าตัดสามารถกำจัดจุดเกิดโรคที่เหลืออยู่ ลดการกลับมาเป็นซ้ำและการลุกลาม สำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ระยะสุดท้าย เคมีบำบัดสามารถเป็นวิธีการรักษาแบบประคับประคอง ปรับคุณภาพความอยู่รอดของผู้ป่วย ยืดอายุออกไป แต่การฉายรังสีและเคมีบำบัดจะนำมาซึ่งผลข้างเคียงแก่ผู้ป่วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น
3. การรักษาแบบเจาะจงเซลล์มะเร็ง : การรักษาแบบเจาะจงเซลล์มะเร็ง เป็นวิธีการรักษารูปแบบใหม่ และได้รับการยืนยันว่ามีประสิทธิภาพ โดยยาต้านมะเร็งจะมีบทบาทในการกำจัดเซลล์มะเร็งแบบเจาะจงตามตำแหน่งที่แตกต่างกันของเนื้องอก ส่งผลต่อเนื้อเยื่อปกติค่อนข้างน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาแบบดั้งเดิมโดยการฉายรังสีและเคมีบำบัด ผลตอบสนองด้านลบของการรักษาแบบเจาะจงเซลล์มะเร็งค่อนข้างน้อย
4. ยาแผนจีน : เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาแบบบูรณาการ เหมาะสมกับผู้ป่วยที่ไม่เหมาะกับการผ่าตัด การฉายรังสีและเคมีบำบัดหรือผู้ที่กลับมาเป็นซ้ำหลังการผ่าตัด
5. การรักษาเฉพาะจุดผ่านหลอดเลือด : เป็นการเจาะผ่านหลอดเลือด ผ่านผิวหนังลงไปโดยตรงด้วยบาดแผลเล็กๆ ไม่กี่มิลลิเมตร หรือผ่านท่อที่มีอยู่ในร่างกาย โดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดจุดเกิดโรค ภายใต้การนำของอุปกรณ์ภาพถ่ายทางการแพทย์ ( เครื่องเอกซเรย์หลอดเลือด เครื่องเอกซเรย์พิเศษ CT MRI เครื่องอัลตร้าซาวด์ ) เพื่อทำการรักษาด้วยวิธีบาดแผลเล็กเฉพาะส่วนที่เป็นตำแหน่งของโรค วิธีการรักษาเฉพาะจุดผ่านหลอดเลือดมีข้อดี คือ บาดแผลเล็ก ง่ายและสะดวก ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ อีกทั้งผลข้างเคียงน้อย ระยะเวลาในการพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลสั้นอีกด้วย
6. การฉายแสงเลเซอร์ ( PDT ) : เป็นวิธีการรักษาที่ใช้สารไวแสงและแสงเลเซอร์ มีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดเซลล์มะเร็ง ซึ่งวิธีการรักษานี้มีความแตกต่างกับการผ่าตัด ฉายรังสี เคมีบำบัดและการใช้ภูมิคุ้มกันบำบัดอย่างสิ้นเชิง เป็นวิธีการรักษาแบบใหม่ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว สามารถใช้กับการรักษามะเร็งลำไส้ได้
การป้องกันโรคมะเร็งลำไส้นั้นควรเริ่มต้นจากอาหาร
อันดับแรกต้องปรับโครงสร้างอาหารการกินให้มีความเหมาะสม ทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินและจุลธาตุอาหาร ทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ไขมันสูง พลังงานสูงให้น้อยลง
สิ่งที่ควรระวังเป็นอันดับสองคือ ปรับเปลี่ยนนิสัยการดำรงชีวิตให้ดีขึ้น เช่น งดดื่มสุรา งดสูบบุหรี่ อดนอน ลดการทานอาหารเป็นจำนวนมาก เป็นต้น
สิ่งที่ควรระวังเป็นอันดับสามคือ ต้องกระตือรือร้นในการรักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ที่พบได้บ่อย เช่น ท้องผูก ลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผล แผลติ่งเนื้อ เป็นต้น
สิ่งที่ควรระวังเป็นอันดับสี่คือ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ยืนหยัดต่อไป เพิ่มแรงในการต่อสู้กับโรคให้มากขึ้น
ปัจจุบันวิธีการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวนั้น ได้แก่ การรักษาโดยการผ่าตัด การรักษาเฉพาะจุดผ่านหลอดเลือดและการฉายแสงเลเซอร์ เป็นต้น ซึ่งการรักษาแบบดั้งเดิมโดยการผ่าตัดจะเหมาะกับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ในระยะแรก ส่วนวิธีการรักษาเฉพาะจุดผ่านหลอดเลือดและการฉายแสงเลเซอร์จะเหมาะกับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ระยะกลางและระยะสุดท้าย โดยวิธีการรักษาเฉพาะจุดผ่านหลอดเลือดจะเปิดบาดแผลที่ร่างกายผู้ป่วยเพียง 1-2 มิลลิเมตร จากนั้นเจาะลงไปภายใต้การนำของอุปกรณ์ภาพถ่ายทางการแพทย์ โดยใช้เครื่องมือพิเศษ เช่น ท่อเล็กๆ ขดลวด เป็นต้น เจาะเข้าไปในร่างกายโดยตรง เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยตำแหน่งรอยโรค หรือขณะที่ดูดชิ้นเนื้อก็ทำการรักษาโดยการสวนยา ทางโรงพยาบาลจะใช้รูปแบบทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกันกำหนดแผนการรักษามะเร็งลำไส้แบบบูรณาการ ในจำนวนนั้น ผู้เชี่ยวชาญจะใช้วิธีการรักษาโดยการฉายแสงเลเซอร์ให้แก่ผู้ป่วยระยะกลางและระยะสุดท้าย สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงภายใต้สารไวแสงและบทบาทของแสงเลเซอร์ เป็นการนำข้อดีของเทคโนโลยีแบบบาดแผลเล็กมาประสานกัน หลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่ได้จากการรักษาแบบดั้งเดิมโดยการฉายรังสีและเคมีบำบัด สามารถรักษามะเร็งลำไส้ได้อย่างมีประสิทธิภาพทุกด้านมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ในโรงพยาบาลยังเสนอการบริการห้องผู้ป่วยอันสะดวกสบายและโภชนาการด้านอาหาร เป็นต้น เพื่อช่วยบำรุงร่างกายให้แก่ผู้ป่วยอีกด้วย
โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวแห่งประเทศจีนได้ตั้งสำนักงานขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก เช่น ประเทศเวียดนาม ฟิลิปปินส์ กัมพูชา อินโดนีเซีย ไทย เป็นต้น ทุกปีสำนักงานจะรับผู้ป่วยชาวต่างชาติและส่งตัวมารักษาที่โรงพยาบาลจำนวนมาก ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาและฟื้นตัวมาจากหลายประเทศ
ด้านหนึ่งโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเสนอการบริการด้านการแพทย์ที่ครบวงจรให้แก่ผู้ป่วย อีกด้านหนึ่งยกระดับประสิทธิภาพทางการแพทย์ให้สูงขึ้น โดยไม่เพิ่มภาระให้แก่ผู้ป่วย อีกทั้งช่องทางการติดต่อระหว่างแพทย์และผู้ป่วยมีหลายช่องทาง ได้แก่ ทางออนไลน์ ทางอีเมล์ ทางโทรศัพท์ หรือการพบปะกัน เพื่อขยายช่องทางการบริการให้คำปรึกษา ช่วยให้พวกเขาต้านมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย