มะเร็งถุงน้ำดี หมายถึง เนื้องอกร้ายที่เกิดขึ้นภายในเนื้อเยื่อถุงน้ำดี โดยมะเร็งถุงน้ำดีที่เกิดขึ้นที่ถุงน้ำดีเองนั้นพบได้ค่อนข้างน้อย อัตราผู้ป่วยโรคมะเร็งถุงน้ำดีระหว่างเพศชายกับเพศหญิงอยู่ที่ 1 : 2 โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจะเป็นโรคนี้ได้ง่าย การพยากรณ์โรคไม่ค่อยดีนัก อัตราการรอดชีวิตเป็นเวลา 5 ปี อยู่ที่ 3% เท่านั้น
เมื่อเปรียบเทียบมะเร็งถุงน้ำดีกับมะเร็งปอดและมะเร็งกระเพาะอาหารแล้ว อัตราการเกิดโรคจะค่อนข้างต่ำ แต่ไม่กี่ปีมานี้อัตราการเกิดโรคมะเร็งถุงน้ำดีมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากอาการในระยะแรกยังไม่ค่อยชัดเจน มะเร็งถุงน้ำดีในระยะแรกจึงวินิจฉัยได้ยาก ประสิทธิภาทางการแพทย์ของระยะกลางและระยะสุดท้ายก็ต่ำมาก ผู้ป่วยมะเร็งถุงน้ำดี 80% ขึ้นไปจึงเสียชีวิตภายในหนึ่งปี หากสามารถตรวจวินิจฉัยได้ในระยะแรก ก็จะสามารถเข้ารับการการผ่าตัดได้ทันที อัตราการมีชีวิตรอด 5 ปีก็จะสูงถึง 90% ขึ้นไป ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญกับการตรวจมะเร็งถุงน้ำดี พบอาการของโรคเร็ว ก็จะได้รับการดูแลเร็ว
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งถุงน้ำดีนั้นยังไม่ชัดเจนทั้งหมด แต่ปัจจัยดังต่อไปนี้อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งถุงน้ำดีได้
1. ผู้ป่วยเพศหญิงอายุ 50 ปี ขึ้นไป ซึ่งเป็นโรคถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรังเป็นเวลานานและมักจะกำเริบบ่อยๆ
2. นิ่วในถุงน้ำดี ผู้ป่วยที่เป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งถุงน้ำดีมากกว่ากลุ่มคนที่ไม่มีนิ่วในถุงน้ำดีถึง 38 เท่า
3. Porcelain gallbladder หรือการมีแคลเซียมเกาะที่ผนังถุงน้ำดี มักพบในผู้หญิงอายุ 65 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายของโรคถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง อัตราการกลายเป็นมะเร็งถุงน้ำดีสูงถึง 22%
4. ผู้ที่มีติ่งเนื้อที่ถุงน้ำดีขนาดใหญ่กว่าหรือเท่ากับ10 มิลลิเมตร จะมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งสูงถึง 23%
5. ผู้ที่ชอบทานอาหารหมักดอง เต้าหู้ยี้ อาหารทอด อาหารรสจัด เป็นต้น อาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งถุงน้ำดีได้ นอกจากนี้การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ทานอาหารที่มีไขมันและพลังงานสูง รวมทั้งพฤติกรรมการดำเนินชีวิตต่างๆ ก็อาจมีบทบาทในการกระตุ้นให้เกิดมะเร็งถุงน้ำดีได้
6. ผู้หญิงที่ประจำเดือนครั้งแรกมาเร็ว วัยหมดประจำเดือนมาช้า รวมไปถึงการตั้งครรภ์และคลอดบุตรหลายครั้ง ล้วนเพิ่มโอกาสในการเป็นมะเร็งถุงน้ำดีได้ โดยอาจมีความเกี่ยวข้องกับระดับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย ( estrogen ) และฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์
7. ผู้ที่เคยอ้วนในช่วงวัยรุ่นหรือมีน้ำหนักมากกว่าผู้ที่มีอายุเท่ากัน 20% - 30% สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งถุงน้ำดีได้
1. อาการของระบบย่อยอาหาร : ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีอาการของระบบย่อยอาหารไม่ดี ไม่ชอบอาหารมันเลี่ยน เรอ เป็นต้น
2. ปวดบริเวณท้องด้านขวาบน : รู้สึกไม่สบายท้องด้านขวาบน โดยจะปวดเสียดหรือปวดตื้อๆ อย่างต่อเนื่อง บางครั้งจะปวดเหมือนถูกบีบรัดอย่างรุนแรงร่วมด้วย อีกทั้งปวดลามไปถึงไหล่ขวาอีกด้วย
3. มีอาการบวมบริเวณท้องด้านขวาบน
4. เป็นดีซ่านและคันที่ผิวหนัง : มักจะเกิดขึ้นในระยะสุดท้ายของอาการ โดยผิวจะเป็นสีเหลือง และจะมีอาการคันผิวหนังซึ่งยากที่จะบรรเทาอาการ โดยเฉพาะตอนกลางคืนจะเป็นหนักขึ้น
5. เป็นไข้และซูบผอม : ผู้ป่วยประมาณ 25% จะเป็นไข้ ส่วนผู้ป่วยในระยะสุดท้ายจะมีอาการซูบผอมร่วมด้วย หรือแม้กระทั่งมีอาการที่รุนแรงขึ้น
เมื่อพบว่ามีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น ควรรีบไปตรวจที่โรงพยาบาลทันที พยายามกำจัดความเป็นไปได้ที่จะเป็นมะเร็งถุงน้ำดีโดยเร็ว สำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็ควรเข้ารับการตรวจตามกำหนด พบเร็ว ดูแลเร็ว ก็จะเกิดประสิทธิภาพในการยืดอายุให้นานขึ้น
1. การตรวจอัลตราซาวด์ : สำรวจขนาดของถุงน้ำดี วินิจฉัยว่ามีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งหรือไม่ รวมไปถึงการสำรวจว่ามีการลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองหรือตับมีการทำงานหนักหรือไม่
2. CT : สำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจอัลตราซาวด์แล้วพบว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นมะเร็งถุงน้ำดี ก็จะต้องตรวจด้วย CT อีกขั้น เพราะสามารถแสดงให้เห็นว่าเนื้องอกมีการลุกลามไปยังตับหรือต่อมน้ำเหลืองที่เกี่ยวข้องหรือไม่
3. MRI : เป็นการวินิจฉัยว่ามีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์มะเร็งที่ตับหรือไม่ หรือหากผู้ป่วยมีอาการตัวเหลืองเพราะเนื้องอกอุดตันก็สามารถเลือกใช้วิธีนี้ได้
4. PET-CT : เป็นการวินิจฉัยตำเหน่งที่มีการเปลี่ยนแปลงโรคของถุงน้ำดี อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในการวินิจฉัยว่ามีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ภายนอกถุงน้ำดีหรือไม่
5. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ : เป็นการตรวจสารบ่งชี้มะเร็งในเลือดว่ามีการเพิ่มสูงหรือไม่ มีส่วนช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งถุงน้ำดีได้
ระยะ1 : กลุ่มมะเร็งอยู่ในเยื่อเมือก เรียกว่า มะเร็งอยู่เฉพาะที่ สามารถรับการผ่าตัดได้ ซึ่งจะได้รับประสิทธิภาพเป็นอย่างดี
ระยะ2 : เป็นระยะที่มีการลุกลามไปยังชั้นกล้ามเนื้อ หลังจากที่ผู้ป่วยผ่าตัดแล้ว อาจมีอัตราการรอดชีวิต 5 ปี อยู่ที่ 20% - 30%
ระยะ3 : เป็นระยะที่มะเร็งมีการลุกลามไปผนังถุงน้ำดีทั้งชั้น หลังจากที่ผู้ป่วยผ่าตัดแล้ว อาจมีอัตราการรอดชีวิต 5 ปี อยู่ที่ 20%-30%
ระยะ4 : เป็นระยะที่มะเร็งลุกลามไปยังผนังถุงน้ำดีทั้งชั้นรวมทั้งต่อมน้ำเหลืองโดยรอบ โดยผู้ป่วยในระยะนี้บางส่วนยังสามารถรับการผ่าตัดได้ แต่ผลลัพธ์ทางการแพทย์ไม่ค่อยดีนัก และมีผู้ป่วยจำนวนน้อยที่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ 5 ปีขึ้นไป
ระยะ5 : เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามไปยังตับและอวัยวะอื่นๆ อีกทั้งมีการแพร่กระจายไปทั้งร่างกายแล้ว ผู้ป่วยจำนวนน้อยที่จะมีชีวิตอยู่ต่อได้เกิน 1 ปี
เพราะอาการในระยะแรกของมะเร็งถุงน้ำดีค่อนข้างน้อย และไม่มีลักษณะพิเศษอะไร แต่การตรวจวินิจฉัยในระยะแรกและการผ่าตัดในระยะแรกนั้นมีความสำคัญต่อการยกระดับอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย หากตนเองไม่สามารถตัดสินได้ว่าอาการที่พบนั้นเป็นปกติหรือผิดปกติ ก็ควรรีบไปพบแพทย์ เมื่อถูกวินิจฉัยว่าเป็นแล้ว ก็ควรรีบจัดการโดยเร็ว เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้อาการทรุดลง
1. การผ่าตัด : แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ การผ่าตัดถุงน้ำดีออกไปเท่านั้น การผ่าตัดถุงน้ำดีในวงกว้าง การผ่าตัดอวัยวะภายในต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียง
2. การฉายรังสี : เป็นการกำจัดเซลล์มะเร็งที่ยังหลงเหลืออยู่หรือกลับมาใหม่ โดยการใช้รังสีพลังงานสูงมาทำลายเซลล์มะเร็ง
3. การใช้ยาเคมี : เป็นการทานยาหรือฉีดเข้าสู่ร่างกายทางหลอดเลือด โดยตัวยาจะไปตามการไหลเวียนของเลือดไปยังทุกส่วนของร่างกาย มีประสิทธิภาพในการต้านมะเร็ง
4. เทคนิคแบบเจาะจง ( Targeted ) : เป็นการเน้นไปยังตำแหน่งที่มีการเปลี่ยนแปลงของมะเร็งถุงน้ำดี โดยมีการออกแบบตัวยาที่มีความเหมาะสมมาฉีดเข้าสู่ร่างกายเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งโดยเฉพาะ
เป็นการเน้นองค์ประกอบทางพยาธิวิทยาของมะเร็งถุงน้ำดี โดยประกอบกับยาแพทย์แผนจีนที่สามารถต้านมะเร็งโดยเฉพาะ มีประสิทธิภาพในการแก้พิษ ลดอาการร้อนใน กำจัดเซลล์มะเร็ง เป็นต้น โดยในขณะที่ยาแพทย์แผนจีนเน้นแบบเฉพาะส่วนนั้น ก็จะให้ความสำคัญในการปรับความสมดุลของร่างกายอีกด้วย โดยผ่านรูปแบบการทานยาและสวนยาเข้าไปทางหลอดเลือดแดง เพื่อปรับความสมดุลอวัยวะภายใน ขจัดพิษ บำรุงเลือด ทำให้เพิ่มภูมิคุ้มกันโรคให้กับผู้ป่วยไปพร้อมๆ กับการต่อต้านเซลล์มะเร็งอีกด้วย
จากผลการปฏิบัติพิสูจน์ให้เห็นว่า การบริการของทีมแพทย์ซึ่งบูรณาการหลายแขนง เช่น แผนกผ่าตัดเนื้องอก แผนกอายุรกรรมเนื้องอก แผนกแพทย์แผนจีน แผนกพยาธิวิทยา แผนกภาพถ่ายทางการแพทย์ วิสัญญีแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาล เป็นต้น ช่วยกำหนดแผนการที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เหมาะสมที่สุด และประหยัดที่สุดให้แก่ผู้ป่วยได้ ช่วยปรับผลลัพธ์ทางการแพทย์ของผู้ป่วยมะเร็งให้ดียิ่งขึ้น
จากระบบทางการแพทย์ที่เน้นการบริการครบถ้วนในครั้งเดียว โดยการบูรณาการหลายแขนงของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว บูรณาการการตรวจให้กับผู้ป่วย ด้านหนึ่งโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเสนอการบริการด้านการแพทย์ที่ครบวงจรให้แก่ผู้ป่วย อีกด้านหนึ่งยกระดับประสิทธิภาพทางการแพทย์ให้สูงขึ้น โดยไม่เพิ่มภาระให้แก่ผู้ป่วย อีกทั้งช่องทางการติดต่อระหว่างแพทย์และผู้ป่วยมีหลายช่องทาง ได้แก่ ทางออนไลน์ ทางอีเมล์ ทางโทรศัพท์ หรือการพบปะกัน เพื่อขยายช่องทางการบริการให้คำปรึกษา ช่วยให้พวกเขาต้านมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ผู้ป่วยจะได้พบนั้นประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักโภชนาการ และล่ามแปลภาษา เป็นต้น เพื่อตอบสนองความต้องการทุกระดับชั้นของผู้ป่วยจากประเทศที่แตกต่างกันให้เป็นที่พอใจ การพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยช่องทางเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือกับทางโรงพยาบาลได้ดียิ่งขึ้น