โรคมะเร็งหลอดอาหาร หมายถึง การที่เซลล์ใดๆ ก็ตามภายในหลอดอาหารมีการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติในลักษณะของโรคร้าย ซึ่งเป็นหนึ่งในมะเร็งที่พบบ่อยในระบบย่อยอาหาร ในระยะสุดท้ายจะลุกลามและแพร่กระจายไปทั่วร่างกายได้ง่าย
โรคมะเร็งหลอดอาหารแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ที่พบได้ค่อนข้างบ่อยคือ เซลล์มะเร็งชนิด Squamous cell carcinoma ซึ่งพบได้ 90% ขึ้นไป โดยการพัฒนาของโรคและความเร็วในการแพร่กระจายค่อนข้างช้า ดังนั้นหากพบในระยะแรก โดยทั่วไปแล้วสามารถควบคุมโรคมะเร็งได้โดยวิธีการผ่าตัด การฉายรังสี การให้ยาเคมี เป็นต้น มะเร็งหลอดอาหารประเภทที่เหลือ เซลล์ขนาดเล็กจะไม่แตกตัวเป็นมะเร็ง โดยมะเร็งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเป็นหนึ่งในมะเร็งหลอดอาหารที่พบได้น้อยมาก แต่ระดับความร้ายแรงค่อนข้างสูง
ทุกปีทั่วโลกจะมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งหลอดอาหารประมาณ 3 แสนคน อัตราการเกิดโรคพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงค่อนข้างชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบกันจะอยู่ที่ 1.1-17 : 1 ยิ่งอายุมากขึ้น อัตราการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารยิ่งมีมากขึ้น ก่อนอายุ 35 ปีอัตราการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารจะต่ำมาก แต่หลังจากอายุ 35 ปีแล้ว อัตราการเกิดโรคก็จะเพิ่มขึ้นตามอายุ ส่วนใหญ่มักพบโรคมะเร็งหลอดอาหารในคนอายุระหว่าง 60 – 69 ปี แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ควรกังวลมากเกินไป ควรสังเกตอาการในระยะแรกที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน และบูรณาการกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย จะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำความหวังใหม่มาสู่ผู้ป่วยมะเร็ง
โรคมะเร็งหลอดอาหารเป็นโรคที่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกัน ได้แก่ พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน สภาพร่างกาย พันธุกรรม ธาตุที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับในปริมาณน้อย เป็นต้น แต่การดำเนินชีวิตหรือการมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ดีเป็นเวลานานก็อาจเป็นตัวการที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารได้
ปัจจัยสำคัญได้แก่
1. รับประทานอาหารที่มีสารไนโตรซามีน ( Nitrosamine ) ค่อนข้างมาก เช่น ชอบกินอาหารหมักดองหรืออาหารที่มีเชื้อรา
2. ชอบรับประทานอาหารที่ร้อนจัด เช่น ดื่มเครื่องดื่มที่ร้อนจัด หรือรับประทานอาหารที่ลวกปาก
3. มีพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา เป็นต้น
อาการของโรคมะเร็งหลอดอาหารในระยะแรกจะไม่ชัดเจน ผู้ป่วยจำนวนมากกว่าครึ่งเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารก็พบว่ามีการลุกลามไปทั่วร่างกายแล้ว หลังจากผ่าตัดแล้วอัตราการรอดชีวิตเป็นเวลา 5 ปีมีเพียง 25% - 40% เท่านั้น ฉะนั้น หากทำความเข้าใจโรคมะเร็งหลอดอาหาร ก็จะมีส่วนช่วยในการพบได้เร็วและจัดการได้เร็วขึ้น เพื่อเพิ่มอัตราการอยู่รอดของผู้ป่วย
1. รู้สึกมีสิ่งผิดปกติในหลอดอาหาร เวลากลืนอาหารจะรู้สึกติดขัด
2. เวลากลืนอาหารจะรู้สึกเหมือนถูกเผาบริเวณด้านหลังของกระดูกหน้าอก ปวดเหมือนโดนเข็มเจาะ หรือปวดเหมือนถูกดึง
3. กลืนอาหารลำบากถึงขั้นรับประทานอาหารไม่ได้ มักมีอาการร่วม เช่น อาเจียน ปวดท้องส่วนบน และน้ำหนักลดลง เป็นต้น
4. ในระยะสุดท้ายเนื่องจากไม่ได้รับอาหารเพียงพอมาเป็นเวลานาน สารอาหารที่ได้ก็จะไม่เพียงพอ ทำให้ซูบผอม อาการทรุดลง และพบว่ามีโรคแทรกซ้อน เช่น มะเร็งมีการลุกลาม กดทับ เป็นต้น
สิ่งที่ควรให้ความสนใจคือ เมื่อมีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารเสมอไป แต่อาจเป็นโรคอื่นที่เกี่ยวข้องกับหลอดอาหารก็เป็นได้ แต่ก็ควรไปตรวจวินิจฉัยที่โรงพยาบาลในทันที เพื่อให้สามารถชี้ชัดว่าเกิดจากมะเร็งหรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ
1. การตรวจโดยการส่องกล้องไฟเบอร์ออปติก ( Fiberoptic ) : ใช้ตรวจโรคระบบทางเดินอาหารอย่างกว้างขวาง ( โรคมะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น )
2. การตรวจส่องกล้องอัลตราซาวด์ ( Endoscopic Ultrasonography ) : ตรวจวัดระดับความลึกของเซลล์ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงลุกลามเข้าไปในผนังหลอดอาหาร ตรวจต่อมน้ำเหลืองนอกหลอดอาหารที่บวมผิดปกติ ตรวจตำแหน่งของผนังหลอดอาหารที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์
3. การตรวจด้วยการสวนแป้งแบเรียม (barium enema) : สามารถยืนยันตำแหน่งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ความยาวและระดับการอุดตัน และยังสามารถวินิจฉัยว่าเซลล์มะเร็งมีการลุกลามไปข้างนอกหรือไม่รวมทั้งขอบเขตการลุกลาม
4. การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) : สามารถแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างหลอดอาหารกับอวัยวะที่คั่นระหว่างปอดอย่างชัดเจน แต่ยากที่จะค้นพบมะเร็งหลอดอาหารในระยะแรก หากนำวิธีการตรวจโดย CT มาประสานกับการตรวจด้วยการสวนแป้งแบเรียม ก็จะมีส่วนช่วยในการตรวจวินิจฉัยและแบ่งระยะมะเร็งหลอดอาหาร
5. การตรวจเซลล์วิทยาของหลอดอาหาร : วิธีนี้ง่ายและสะดวก ความเจ็บในการตรวจน้อย เป็นวิธีการตรวจตัวเลือกแรกในการตรวจวินิจฉัยมะเร็งหลอดอาหารในระยะแรก
ระยะ0 : โรคมะเร็งหลอดอาหารในระยะแรก เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า มะเร็งหลอดอาหารปฐมภูมิ เซลล์มะเร็งจะอยู่แค่บริเวณชั้นหนังกำพร้าของหลอดอาหาร เนื้อเยื่อที่เหลือไม่ผิดปกติ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในทางร้ายแรง และยังไม่ลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะอื่นๆ
ระยะ1 : เซลล์มะเร็งลุกลามถึงเนื้อเยื่ออื่นๆ ใต้ชั้นหนังกำพร้าของหลอดอาหาร และลุกลามไปยังชั้นลามินา โพรเพรีย ( Lamina Propria ) หรือใต้ชั้นเยื่อเมือก แต่ยังไม่ลุกลามถึงชั้นกล้ามเนื้อ ระยะนี้เซลล์มะเร็งยังไม่ได้แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะอื่นๆ
ระยะ2 : มีการลุกลามถึงต่อมน้ำเหลือง แต่ยังไม่ได้แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ
ระยะ3 : มะเร็งหลอดอาหารลุกลามถึงอวัยวะใกล้ๆ เช่น หลอดลม เป็นต้น แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อต่อมน้ำเหลืองที่เกี่ยวข้อง และไม่แพร่กระจายไปไกล
ระยะ4 : มะเร็งหลอดอาหารเข้ากระแสเลือดกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ กระดูก หรือแม้กระทั่งสมอง เป็นต้น
ระยะที่แตกต่างกันมีผลอย่างมากต่อมะเร็งหลอดอาหารและเป้าหมายทางการแพทย์ สำหรับโรคมะเร็งหลอดอาหารในระยะเริ่มแรกมีเป้าหมายคือ ควบคุมและยืดอายุของผู้ป่วยได้ สำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายมีเป้าหมายคือ ควบคุมอาการ ป้องกันภาวะแทรกซ้อน และยกระดับคุณภาพชีวิต จะเลือกวิธีการเดียวหรือหลายวิธีร่วมกันโดยพิจารณาจากอาการของผู้ป่วย
1. การผ่าตัด : คือ การผ่าตัดเนื้องอกรวมทั้งเนื้อเยื่อที่ใกล้เคียงกับต่อมน้ำเหลือง วิธีนี้มีประสิทธิภาพกับโรคมะเร็งหลอดอาหารในระยะเริ่มแรกอย่างเห็นได้ชัด การแบ่งระยะทางพยาธิวิทยาเป็นปัจจัยการคาดคะเนโรคที่สำคัญที่สุดในการมีชีวิตอยู่ของผู้ป่วยมะเร็งหลอดอาหาร สำหรับผู้ป่วยมะเร็งหลอดอาหารในระยะที่ 1 ประมาณ 80%-90% จะมีอัตราการมีชีวิตอยู่ 5 ปีหลังการผ่าตัด ส่วนผู้ป่วยที่อยู่ในระยะสุดท้าย ( ระยะที่ 3 และ 4 ) จะมีอัตราการมีชีวิตอยู่ 5 ปีหลังการผ่าตัดไม่ถึง 15%
2. การฉายรังสี : คือ การฉายรังสีก่อนการผ่าตัดเพื่อทำให้ขนาดของเนื้องอกเล็กลง หรือการฉายรังสีหลังการผ่าตัดเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งที่ยังเหลืออยู่ เมื่อผู้ป่วยไม่เหมาะสมกับการผ่าตัด การฉายรังสีก็สามารถเป็นตัวเลือกแทนการผ่าตัดได้
3. การให้ยาเคมี : ใช้ร่วมกับวิธีการฉายรังสีเพื่อละลายเซลล์มะเร็ง ซึ่งสามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงของเซลล์มะเร็งหลอดอาหารและขอบเขตของเนื้องอกให้เล็กลงได้ แต่จะเกิดผลข้างเคียงต่อร่างกาย การให้คีโมเฉพาะจุดเป็นวิธีหนึ่งที่เป็นแบบเฉพาะจุดผ่านหลอดเลือด โดยการให้ยาคีโมหรือยาอุดตันหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงเซลล์มะเร็งหลอดอาหาร ส่วนใหญ่ใช้กับมะเร็งหลอดอาหารระยะกลางและระยะสุดท้าย
4. การฉายแสงเลเซอร์ ( PDT ) : ช่วงไม่กี่ปีมานี้ ความก้าวหน้าของสารไวแสงแบบใหม่และเทคโนโลยีการส่องกล้อง ทำให้การฉายแสงเลเซอร์ได้ปรับปรุงไปอีกขั้น กลายเป็นขั้นตอนเสริมหลังจบสิ้นขั้นตอนทางการแพทย์
จากการค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์จีนมานานหลายปีพบว่า แพทย์แผนจีนมีประสิทธิภาพในการปรับสมดุลของร่างกายและช่วยในการต้านมะเร็ง หากบูรณาการข้อดีของการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบันเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดประสิทธิภาพมากกว่าการใช้วิธีการเดียว “ การบูรณาการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบัน ” สามารถทำได้ผ่านหลายรูปแบบ รวมทั้งการให้ยาจีนทางหลอดเลือดแดงอย่างต่อเนื่อง การให้ยาพ่นละอองจีน การฉีดยาจีนตรงตำแหน่งฝังเข็ม เป็นต้น ซึ่งวิธีการเหล่านี้เป็นรูปแบบๆบูรณาการในระดับแถวหน้า
จากผลการปฏิบัติพิสูจน์ให้เห็นว่า การบริการของทีมแพทย์ซึ่งบูรณาการหลายแขนง เช่น แผนกผ่าตัดเนื้องอก แผนกอายุรกรรมเนื้องอก แผนกแพทย์แผนจีน แผนกพยาธิวิทยา แผนกภาพถ่ายทางการแพทย์ วิสัญญีแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาล เป็นต้น ช่วยกำหนดแผนการที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เหมาะสมที่สุด และประหยัดที่สุดให้แก่ผู้ป่วยได้ ช่วยปรับผลลัพธ์ของผู้ป่วยมะเร็งให้ดียิ่งขึ้น
จากระบบทางการแพทย์ที่เน้นการบริการครบถ้วนในครั้งเดียว โดยการบูรณาการหลายแขนงของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว บูรณาการการตรวจให้กับผู้ป่วย ด้านหนึ่งโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเสนอการบริการด้านการแพทย์ที่ครบวงจรให้แก่ผู้ป่วย อีกด้านหนึ่งยกระดับประสิทธิภาพทางการแพทย์ให้สูงขึ้น โดยไม่เพิ่มภาระให้แก่ผู้ป่วย อีกทั้งช่องทางการติดต่อระหว่างแพทย์และผู้ป่วยมีหลายช่องทาง ได้แก่ ทางออนไลน์ ทางอีเมล์ ทางโทรศัพท์ หรือการพบปะกัน เพื่อขยายช่องทางการบริการให้คำปรึกษา ช่วยให้พวกเขาต้านมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ผู้ป่วยจะได้พบนั้นประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักโภชนาการ และล่ามแปลภาษา เป็นต้น เพื่อตอบสนองความต้องการทุกระดับชั้นของผู้ป่วยจากประเทศที่แตกต่างกันให้เป็นที่พอใจ การพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยช่องทางเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือกับทางโรงพยาบาลได้ดียิ่งขึ้น