มะเร็งลำไส้ใหญ่ หมายถึง เซลล์เยื่อบุผิวลำไส้ใหญ่เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ภายใต้ปัจจัยก่อมะเร็งต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อมหรือพันธุกรรม เป็นต้น ตำแหน่งที่เกิดโรคบ่อยคือ ลำไส้ตรงและส่วนที่อยู่ระหว่างลำไส้ตรงกับกับลำไส้ใหญ่ส่วนซิกมอยด์ ( sigmoid colon ) อัตราการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่รองลงมาจากโรคมะเร็งกระเพาะอาหารและโรคมะเร็งหลอดอาหาร พบอัตราการเกิดโรคค่อนข้างสูงในบุคคลอายุระหว่าง 40 - 50 ปี ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่อายุต่ำกว่า 40 ปี มีประมาณ 15% เมื่อเปรียบเทียบผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระหว่างเพศชายกับเพศหญิงอยู่ที่ 2 : 1
1. ปัจจัยด้านอาหาร : อาหารที่มีโปรตีนสูง ไขมันสูงและขาดใยอาหาร เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ง่าย
2. ปัจจัยด้านพันธุกรรม : หากประวัติครอบครัวเคยมีคนเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ อัตราการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในรุ่นต่อไปจะสูงกว่าบุคคลปกติ
3. ติ่งเนื้อ ( Polyp ) : ติ่งเนื้อของลำไส้มักเกิดขึ้นที่ลำไส้ใหญ่หรือผนังด้านในของลำไส้ตรง และสามารถเปลี่ยนแปลงกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ง่ายภายใต้การกระตุ้นหลายอย่าง โดยเปลี่ยนจากก้อนเนื้อดีกลายเป็นก้อนเนื้อร้าย
4. โรคโครห์น ( Crohn ) หรือโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผล : อัตราการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในผู้ป่วยโรคโครห์นหรือโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลจะสูงกว่าคนปกติถึง 30 เท่า
1. กลุ่มคนที่ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคติ่งเนื้อ
2. ครอบครัวทางสายเลือดมีผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่
3. ตรวจพบว่ามีเลือดปนกับอุจจาระและปัสสาวะมาเป็นเวลานาน
4. ผู้ป่วยลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง
5. กลุ่มคนที่ท้องร่วงเรื้อรังหรือท้องผูกเรื้อรังบ่อยๆ
1. อุจจาระเป็นมูกเลือดโดยไม่เจ็บปวด เลือดที่ปนกับอุจจาระเป็นสีแดงสดหรือสีแดงคล้ำ
2. ท้องอืด ปวดท้อง การย่อยอาหารไม่ดี ความอยากอาหารลดลง
3. พฤติกรรมการถ่ายอุจจาระเปลี่ยนไป ถ่ายบ่อยหรือมีอาการท้องร่วงสลับกับท้องผูก
4. ลักษณะของอุจจาระเปลี่ยนไป เล็กลง แบนลงหรือมีรูพรุน
5. ผอมลงอย่างกะทันหันและมีอาการโลหิตจางโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
6. มีแผลที่ทวารหนักมานานและไม่หาย ทวารหนักเจ็บอย่างต่อเนื่อง
7. ปรากฏอาการลุกลามไปที่ตับ เช่น เกิดอาการดีซ่าน ท้องมานและบวมน้ำ เป็นต้น
1. การตรวจลำไส้ตรงทวารหนักด้วยนิ้วมือ : หลังจากแพทย์ใส่ถุงมือเรียบร้อยแล้ว จะทาน้ำมันหล่อลื่นที่นิ้วชี้และบริเวณทวารหนัก แล้วสอดนิ้วชี้เข้าไปในลำไส้ตรงเพื่อตรวจคลำดูว่ามีก้อนเนื้อหรือไม่
2. การตรวจเลือดที่ปนมากับอุจจาระ : เมื่อเนื้อเยื่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ขยายเพิ่มขึ้นมักจะมีเลือดซึมออกมาในปริมาณน้อย และปนมากับอุจจาระที่ถูกถ่ายออกจากร่างกาย การตรวจเลือดที่ปนมากับอุจจาระสามารถตรวจส่วนประกอบของเลือดที่ปนมากับอุจจาระได้ หากตรวจหลายครั้งและต่อเนื่องแล้วพบว่าผลตรวจเป็นบวก แสดงว่าทางเดินอาหารมีเลือดออกเรื้อรัง จึงควรไปตรวจอีกขั้นอย่างละเอียดว่ามีเนื้องอกที่กระเพาะและลำไส้หรือไม่
3. การตรวจเอกซเรย์ : รวมถึงการสวนแป้งแบเรียม ( barium enema ) ตรวจทางเดินอาหารทั้งหมดและการสวนแป้งแบเรียมลำไส้ สามารถสังเกตเห็นรูปร่างทั้งหมดของลำไส้ ว่ามีติ่งเนื้อและจุดเกิดมะเร็งหรือไม่
4. การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ : โดยทั่วไปผู้ที่มีอาการอุจจาระเป็นมูกเลือดหรือพฤติกรรมการถ่ายอุจจาระเปลี่ยนไป และเมื่อตรวจทวารหนักด้วยนิ้วมือแล้วไม่พบความผิดปกติ ควรทำการตรวจโดยการส่องกล้องไฟเบอร์ตรวจลำไส้ใหญ่ ซึ่งไม่เพียงแต่สามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยาทุกชนิดของลำไส้ใหญ่ ยังสามารถนำเนื้อเยื่อออกมาตรวจได้อีกด้วย
5. การตรวจอัลตราซาวด์ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ( CT ) หรือการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( MRI ) : วิธีการตรวจเหล่านี้ไม่สามารถตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้โดยตรง แต่สามารถบอกตำแหน่งก้อนมะเร็ง ขนาด ความเกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อรอบข้าง มะเร็งลามไปยังต่อมน้ำเหลืองกับตับหรือไม่
6. การตรวจชิ้นเนื้อ : เป็นการตรวจชิ้นเนื้อเยื่อของก้อนเนื้อที่น่าสงสัย โดยอาศัยการนำทางของกล้องส่องลำไส้หรืออุปกรณ์อื่นๆ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นหลักฐานสำคัญที่วินิจฉัยแน่ชัดว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
ระยะ0 : พบเซลล์ผิดปกติที่ผนังลำไส้ใหญ่ ระยะ 0 ของมะเร็งลำไส้ใหญ่เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า มะเร็งปฐมภูมิ
ระยะ1 : มะเร็งเติบโตถึงด้านในผนังลำไส้ และลามไปยังชั้นล่างของเยื่อเมือก
ระยะ2 : มะเร็งเข้าไปในผนังลำไส้ส่วนลึก ลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียงลำไส้ใหญ่ แต่ยังไม่แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง
ระยะ3 : มะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงลำไส้ใหญ่ แต่ยังไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
ระยะ4 : มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ปอด ตับ ผนังช่องท้องและรังไข่ เป็นต้น
มะเร็งกลับมาเกิดซ้ำ : มะเร็งลำไส้ใหญ่กลับมาเกิดซ้ำหลังจากนั้น ตำแหน่งที่เกิดซ้ำจะอยู่ที่ลำไส้ใหญ่หรืออวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
1. การผ่าตัด : การผ่าตัดเป็นวิธีการที่ใช้บ่อยกับผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยทั่วไปแล้วมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่พบในระยะแรกจะใช้วิธีการผ่าตัดก้อนมะเร็งออกค่อนข้างมาก
2. การฉายรังสี : การฉายรังสีมักเป็นวิธีการเสริมหลังการผ่าตัด เพื่อลดอัตราการกลับมาเกิดซ้ำของมะเร็งลำไส้ใหญ่
3. การใช้ยาเคมี : ก่อนการผ่าตัด ให้ยาเคมีที่โพรงลำไส้ก่อนหรือสวนยาเคมีก่อนการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ตรง เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งและเป็นการกำจัดเซลล์มะเร็ง
4. เทคนิคภูมิคุ้มกัน : มีข้อดีคือ ไม่มีอันตรายต่อร่างกาย เจ็บปวดน้อย ไม่ต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลนาน เป็นต้น สามารถลดผลข้างเคียงจากการฉายรังสีของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ขณะเดียวกันยังสามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอีกด้วย
5. แพทย์แผนจีน : จากการค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์จีนมานานหลายปีพบว่า การใช้ยาแพทย์แผนจีนมีประสิทธิภาพในการปรับสมดุลของร่างกายและช่วยในการต้านมะเร็ง หากบูรณาการข้อดีของการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบันเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดประสิทธิภาพมากกว่าการใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง “การบูรณาการระหว่างแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบัน” สามารถทำได้ผ่านหลายรูปแบบ เช่น การให้ยาจีนทางหลอดเลือดแดงอย่างต่อเนื่อง การดูดยาจีนละออง การฉีดยาจีนตรงตำแหน่งฝังเข็ม เป็นต้น ขณะเดียวกันยังสามารถประสานกับการดูแลสุขภาพแบบแพทย์แผนจีน เพื่อเพิ่มสมรรถนะภูมิคุ้มกันของร่างกาย ยกระดับผลลัพธ์ทางการแพทย์และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอีกด้วย
1. เสื้อผ้า : ใส่เสื้อผ้าที่อ่อนนุ่ม หลวม มีความยืดหยุ่น ควรระวังไม่ให้เข็มขัดหรือสายรัดเอวแน่นเกินไป เพื่อหลีกเลี่ยงการกดทับบาดแผล
2. การอาบน้ำ : เมื่อแผลหายสนิทแล้ว สามารถอาบน้ำได้ โดยใช้อ่างอาบน้ำหรือฝักบัว
3. การรับประทานอาหาร : รับประทานอาหารที่มีสารอาหารอย่างเหมาะสม รับประทานผักและผลไม้สดให้มาก
4. การออกกำลังกาย : สามารถออกกำลังกายที่เหมาะสมได้ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ทนต่อความหนาวเย็นและทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคมากขึ้น
5. สภาพจิตใจ : ดูแลสภาพจิตใจให้ดี มองโลกในแง่ดี หลีกเลี่ยงอารมณ์ซึมเศร้าและความตึงเครียด
ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ทุกคนที่เดินทางมายังโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว จะได้รับแผนการสำหรับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่มีประสิทธิภาพครอบคลุมทุกด้านจากการร่วมกันกำหนดของทีมผู้เชี่ยวชาญ โดยอาศัยอาการของผู้ป่วยเป็นตัวกำหนดแผน ในขณะเดียวกันยังเป็นการรวบรวมสติปัญญาของเหล่าผู้เชี่ยวชาญในการริเริ่มใช้รูปแบบใหม่ “เจาะจงบาดแผลเล็ก บูรณาการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบัน” โดยนำ 18 วิธีการแบบบาดแผลเล็กมาบูรณาการใช้ร่วมกัน เช่น แพทย์แผนจีนมาร่วมกับการทำเลเซอร์ เทคโนโลยีแบบภายในเฉพาะจุดผ่านหลอดเลือด การใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด การทำความเย็น เป็นต้น ซึ่งเป็นการรวมข้อดีของแพทย์แผนจีนและแพทย์แผนปัจจุบันมาไว้ด้วยกัน เพื่อปรับสมดุลร่างกายของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และยกระดับผลลัพธ์ทางการแพทย์ โดยการใช้เทคนิคแบบภายในเฉพาะจุดผ่านหลอดเลือดนั้นเป็นตัวเลือกแรกสำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่กเทคนิคแบบภายในเฉพาะจุดผ่านหลอดเลือดของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่นั้นเน้นการสวนยาเป็นหลัก เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่บางคนไม่สามารถให้ยาผ่านหลอดเลือดแดงได้ การใช้เทคนิคภูมิคุ้มกันเป็นการให้เซลล์ภูมิคุ้มกันที่สามารถต้านมะเร็งเข้าไปในร่างกายผู้ป่วย เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งโดยตรงหรือกระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันร่างกายในการต้านมะเร็ง สามารถยกระดับภูมิคุ้มกันและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในขณะที่อยู่ในแผนทางการแพทย์ได้อีกด้วย
โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวแห่งประเทศจีนได้ตั้งสำนักงานขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก เช่นประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ไทย เป็นต้น ทุกปีสำนักงานจะรับผู้ป่วยชาวต่างชาติและส่งตัวมายังโรงพยาบาลจำนวนมาก
ด้านหนึ่งโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเสนอการบริการด้านการแพทย์ที่ครบวงจรให้แก่ผู้ป่วย อีกด้านหนึ่งยกระดับประสิทธิภาพทางการแพทย์ให้สูงขึ้น โดยไม่เพิ่มภาระให้แก่ผู้ป่วย อีกทั้งมีช่องทางการติดต่อระหว่างแพทย์และผู้ป่วยหลายช่องทาง ได้แก่ ทางออนไลน์ ทางอีเมล์ ทางโทรศัพท์ หรือการพบปะกัน เพื่อขยายช่องทางการบริการให้คำปรึกษา ช่วยให้พวกเขาต้านมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย