มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกคืออะไร

มะเร็งปากมดลูก หมายถึง ก้อนเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณมดลูก ช่องคลอด และช่องปากมดลูก มะเร็งปากมดลูกมักจะเกิดในหญิงอายุประมาณ 50 ปี อีกทั้งผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกจำนวนมากจะเป็นผู้หญิงที่แต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย ตั้งครรภ์เร็ว คลอดบุตรหลายครั้ง และผู้ที่ติดเชื้อไวรัส HPV แต่ช่วงไม่กี่ปีมานี้ โรคมะเร็งปากมดลูกมีแนวโน้มที่จะเกิดกับหญิงที่อายุยังน้อยอีกด้วย

อัตราการเกิดมะเร็งปากมดลูกสูงแค่ไหน

มะเร็งปากมดลูกมีอัตราการเกิดโรคเป็นอันดับสองในบรรดาโรคมะเร็งทั้งหมดที่เกิดกับเพศหญิง ทุกปีมีโรคมะเร็งปากมดลูก 53,000 รายเกิดใหม่ทั่วโลก ซึ่ง 85% มาจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

สาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกคืออะไร

โรคมะเร็งปากมดลูกเกือบ 70% เกิดจากเชื้อไวรัส HPV รองลงมาคือการสูบบุหรี่ และภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง อีกทั้งปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่มาเกี่ยวพันกันก็สามารถทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้

ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ การติดเชื้อหนองในเทียม (Chlamydia infectious) ความเคยชินในการบริโภคที่ไม่ถูกสุขลักษณะ มักสัมผัสหรือใช้ยาที่มีฮอร์โมน มีประวัติทางครอบครัวเป็นมะเร็งปากมดลูก มักกินยาคุมกำเนิด มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย ตั้งครรภ์เร็ว คลอดบุตรหลายครั้ง เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้

โรคมะเร็งปากมดลูกมีอาการแสดงอย่างไร

๑. ประจำเดือนมาผิดปกติหรือเมื่อหมดประจำเดือนแล้วยังมีเลือดออกทางช่องคลอด

๒. น้ำคัดหลั่งจากช่องคลอดเพิ่มมากขึ้น น้ำคัดหลั่งจะมีสีขาวหรือปนเลือด อีกทั้งมีกลิ่นเหม็นคาว

๓. มีอาการปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่และท้องผูก เป็นต้น

๔. มีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรงในส่วนต่างๆ ของร่างกายที่แตกต่างกัน

๕. ซูบผอม โลหิตจาง เป็นไข้ และเกิดภาวะอ่อนเปลี้ยทางร่างกาย เป็นต้น

อาการมะเร็งปากมดลูก

วิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก

๑. ตรวจทางนรีเวชตามกำหนด สามารถช่วยค้นพบการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่ปากมดลูกในระยะแรกได้

๒. โรคปากมดลูกอักเสบมีโอกาสพัฒนาเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกได้ ฉะนั้น ต้องกระตือรือร้นในการดูแลโรคปากมดลูกอักเสบ

๓. ทำความคุ้นเคยและเข้าใจอาการโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก หากเกิดอาการเหล่านี้ ควรรีบไปตรวจที่โรงพยาบาลทันที

วิธีการตรวจวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูก

๑. การตรวจแปปสเมียร์ ( Pap smear ) : หญิงที่สมรสแล้ว เมื่อได้รับการตรวจทางนรีเวชหรือการตรวจเพื่อป้องกันโรคมะเร็งทั่วไป ต้องทำการตรวจแปปสเมียร์ด้วย

๒. การทดสอบด้วยไอโอดีน : ตรวจดูปากมดลูกด้วยกล้องคอลโปสโคป แล้วทาปากมดลูกและเยื่อเมือกช่องคลอดด้วยไอโอดีนที่มีความเข้มข้น 2% บริเวณที่ไม่เกิดสีจะเป็นผลลบ ซึ่งหากพบส่วนที่มีผลลบผิดปกติ ควรตัดชิ้นเนื้อส่วนนั้นส่งตรวจทางพยาธิวิทยาทันที

๓. การตรวจเนื้อเยื่อ ( Biopsy ) : เมื่อการตรวจชิ้นเนื้อเป็นผลลบ ควรนำชิ้นเนื้อตรงจุดที่หก เก้า สิบสองและสามบริเวณรอยต่อของเซลล์เยื่อบุผิวไปตรวจ หรือใช้เครื่องมือขูดช่องปากมดลูก เพื่อนำเซลล์ไปตรวจทางพยาธิวิทยาต่อไป

๔. การตรวจด้วยกล้องคอลโปสโคป : การตรวจด้วยกล้องคอลโปสโคปไม่สามารถตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งปากมดลูกได้โดยตรง แต่มีส่วนช่วยในการตรวจ Biopsy

๕. การตัดชิ้นเนื้อปากมดลูกออกเป็นรูปโคน ( Cone biopsy ) : เมื่อการตรวจ Biopsy ไม่สามารถชี้ชัดว่ามะเร็งไม่มีการลุกลาม ก็จะตัดชิ้นเนื้อปากมดลูกออกเป็นรูปโคนเพื่อนำไปตรวจวินิจฉัย

การวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูก 1

โรคมะเร็งปากมดลูกแบ่งระยะได้ดังนี้

ระยะที่ 0 : เซลล์มะเร็งยังอยู่บริเวณผิวส่วนบนของปากมดลูก มะเร็งปากมดลูกในระยะ 0 เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า มะเร็งในจุดกำเนิด

ระยะที่ 1: เซลล์มะเร็งอยู่ที่ปากมดลูก และเริ่มมีการลุกลาม

ระยะที่ 2 : เซลล์มะเร็งลุกลามเข้าไปในช่องคลอด แต่ยังไม่ถึง 1/3 ของช่องคลอด หรืออาจลุกลามเข้าไปที่เนื้อเยื่อข้างปากมดลูก แต่ยังไม่ถึงผนังของเชิงกราน

ระยะที่ 3 : เซลล์มะเร็งลุกลามเข้าไปถึง 1/3 ส่วนล่างของช่องคลอด หรือลุกลามไปถึงกระดูกเชิงกราน หรือไปกดทับท่อไต ทำให้เกิดการอุดตันของระบบปัสสาวะ

ระยะที่ 4 : เซลล์มะเร็งลามออกจากส่วนอวัยวะเพศ หรือผ่านกระดูกเชิงกรานลามเข้าไปในลำไส้ตรง และกระเพาะปัสสาวะโดยตรง หรือแม้กระทั่งลามไปบริเวณอื่นๆ ที่ไกลออกไป

เทคนิคทางการแพทย์สำหรับโรคมะเร็งปากมดลูกแบบดั้งเดิมคืออะไร

๑. การตัดมดลูกทิ้งเป็นวิธีการที่ค่อนข้างพบบ่อย ซึ่งได้แก่

๑.๑ การตัดมดลูกทิ้งทั้งหมด : โดยผ่าตัดปากมดลูกและมดลูกทิ้งทั้งหมด

๑.๒ การตัดมดลูกทิ้งแบบถอนรากถอนโคน : โดยผ่าตัดปากมดลูก มดลูก ช่องคลอดส่วนบน รังไข่ ท่อนำไข่ และต่อมน้ำเหลืองที่มีการลุกลาม เป็นต้น

๒. การฉายรังสี มีข้อดีคือ คลื่นรังสีมีประสิทธิภาพในการกำจัดเซลล์มะเร็ง แต่มีข้อเสียคือ มีผลกระทบต่อสมรรถนะรังไข่ของหญิงวัยก่อนหมดประจำเดือน

๓. การให้เคมี เป็นการใช้ยาเคมี เหมาะสำหรับมะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้ายและมะเร็งปากมดลูกที่กลับมาเกิดซ้ำ แต่จะเกิดอาการข้างเคียงค่อนข้างหนักในระหว่างการแผนทางการแพทย์ ซึ่งโดยปกติแล้วผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ร่างกายอ่อนแอนั้นจะทนไม่ค่อยไหว

การวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูก 2

วิธีดูแลพยาบาลหลังการผ่าตัดมะเร็งปากมดลูก

๑. การดูแลด้านจิตใจ : ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกมักจะเกิดอารมณ์หวาดกลัว กระสับกระส่าย และหงุดหงิดได้ง่าย เป็นต้น ครอบครัวควรดูแลเอาใจใส่และให้กำลังใจผู้ป่วย

๒. การดูแลด้านสุขอนามัย : หลังการผ่าตัดควรล้างช่องคลอดด้านนอกและปากท่อปัสสาวะวันละ 2 ครั้ง เพื่อความสะอาดของช่องคลอด นอกจากนี้ ยังสามารถรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันแผลติดเชื้อ

๓. การดูแลด้านการออกกำลัง : ฝึกซ้อมการหายใจส่วนท้องและฝึกขมิบทวารหนัก เพื่อเพิ่มพลังการหดตัวของกล้ามเนื้อท่อปัสสาวะ และกล้ามเนื้อหูรูดของท่อปัสสาวะ ช่วยฟื้นฟูระบบประสาทของกระเพาะปัสสาวะที่ได้รับความเสียหาย

๔. การดูแลด้านการบริโภค : ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินสูง โปรตีนสูง และอาหารที่ย่อยง่ายให้มาก เพื่อช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย

เทคนิคสำหรับโรคมะเร็งปากมดลูกที่เหมาะสมที่สุด

ทีมผู้เชี่ยวชาญหลายแขนงซึ่งรวบรวมแพทย์ศัลยกรรมด้านมะเร็ง ผู้เชี่ยวชาญด้านพยาธิวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านการฉายแสงมะเร็ง ผู้เชี่ยวชาญด้านกเทคนิคแบบบาดแผลเล็ก พยาบาลผู้ดูแลแผนกมะเร็งและเจ้าหน้าที่ล่าม ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะร่วมกันกำหนดแผนการโดยประเมินจากสภาพร่างกายและอาการของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก เพื่อยกระดับผลลัพธ์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การรักษามะเร็งปากมดลูก

เทคนิคสำหรับโรคมะเร็งปากมดลูกแบบแพทย์แผนจีน

จากการค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์จีนมานานหลายปี วิธีแบบแพทย์แผนจีนมีประสิทธิภาพในการปรับสมดุลของร่างกายและช่วยในการต้านมะเร็ง หากบูรณาการข้อดีของการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบันเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดประสิทธิภาพมากกว่าการใช้วิธีเดียว “ เทคนิคบูรณาการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบัน ” สามารถจัดการกับโรคมะเร็งปากมดลูกผ่านสี่รูปแบบ คือ การให้ยาจีนทางหลอดเลือดแดงอย่างต่อเนื่อง การพ่นยาจีนแบบละออง การใช้ยาจีนร้อนฉีดผ่านลำไส้ และการฉีดยาจีนตรงตำแหน่งฝังเข็ม ซึ่งวิธีการเหล่านี้เป็นรูปแบบแบบบูรณาการในระดับแถวหน้า


มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งเต้านม
มะเร็งปอด
มะเร็งตับ
มะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งกระดูก
มะเร็งผิวหนัง
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งตับอ่อน
มะเร็งหลอดอาหาร
มะเร็งสมอง
มะเร็งช่องปาก
มะเร็งท่อน้ำดี
มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
มะเร็งคอ
มะเร็งถุงน้ำดี
มะเร็งช่องคลอด
มะเร็งองคชาติ
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
มะเร็งโพรงจมูก
มะเร็งลำไส้เล็ก
มะเร็งไต
มะเร็งทวารหนัก
มะเร็งอัณฑะ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Multiple myeloma
มะเร็งต่อมหมวกไต
มะเร็งกระดูกสันหลัง
มะเร็งลำไส้
มะเร็งตา
โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน
มะเร็งลิ้น
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งรังไข่
มะเร็งต่อมไทรอยด์
อาการโรคมะเร็ง การวินิจฉัยโรคมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็ง
ผู้สื่อข่าวสำนักพิมพ์ไทยรัฐประเทศไทย เดินทางไปสัมภาษณ์โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวถึงเมืองกวางเจา และเห
โครงการ 2,000,000 บาท ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งของมูลนิธิบ่ออ้าย (ประเทศไทย)
งานมอบรางวัล “ผู้กล้าสู้มะเร็งประจำเดือนมีนาคม”
ผู้บริหารของโรงพยาบาลเราได้พบคุณห่าวซีซานสมาชิกสถาบันด้านวิศวกรรมแห่งประเทศจีน เพื่อเสาะหาความร่วมมือและการพัฒนา
กลุ่ม MDT ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีสุขภาพที่แข็งแรงและกลับมามีความมั่นใจอีกครั้ง
นำโรงพยาบาลเข้าสู่มาตรฐาน JCI ยกระดับให้โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว
สุขไปกับชีวิตสายการแพทย์ เติมเต็มคุณค่าของชีวิต
การฝังแร่ไอโอดีน เสียงสวรรค์ของผู้ป่วยมะเร็ง --การประชุมใหญ่ด้านเทคโนโลยีการรักษามะเร็งด้วยการฝังแร่ไอโอดีนครั้งที่ 13 ณ ประเทศจีน