มะเร็งสมอง หมายถึง สิ่งมีชีวิตใหม่ที่เติบโตขึ้นในโพรงกะโหลกศีรษะ เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า เนื้องอกในโพรงกะโหลกศีรษะ ตำแหน่งที่เกิดโรคนั้นรวมถึงเซลล์ทุกประเภทในตัวสมอง เส้นประสาทในสมอง เยื่อหุ้มสมอง กะโหลกศีรษะ ต่อมใต้สมอง รวมทั้งเนื้องอกในสมองที่เกิดจากการลุกลามมาจากอวัยวะอื่นๆ
เนื่องจากในโพรงกะโหลกศีรษะเป็นโครงกระดูกทั้งหมด เนื้องอกที่เกิดขึ้นในสมองจะเพิ่มการกดทับในโพรงกะโหลกศีรษะ ทำให้มีอาการปวดหัว อาเจียน สายตาพร่ามัว เป็นตะคริว หมดสติ เป็นต้น ตำแหน่งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของมะเร็งสมองและลักษณะทางพยาธิวิทยาจะเป็นไปตามอายุที่ไม่เหมือนกันและมีความแตกต่างกัน
อัตราการเกิดโรคมะเร็งสมองมีประมาณ 5% ของโรคมะเร็งทั้งหมดในร่างกาย และเป็น 70% ของโรคมะเร็งในเด็ก โรคมะเร็งสมองสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย แต่อัตราการเกิดโรคจะค่อนข้างสูงในบุคคลอายุ 20 – 40 ปี อัตราการเกิดโรคเปรียบเทียบระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงเป็น 13 : 10
ทุกปีทั่วโลกจะมีคนถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งสมองประมาณ 18,500 คน และทุกปีจะมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งสมองประมาณ 12,760 คน อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งสมองคือ 64 ปี อีกทั้งอัตราการเสียชีวิตยังคงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี
1. เนื้อเยื่อสมองถูกทำลาย ทำให้ระบบประสาทเกิดความผิดปกติ ร่างกายสูญเสียสมรรถนะ
2. อาการสมองบวมน้ำ ทำให้สมองบวม การกดทับในกะโหลกศีรษะเพิ่มสูงขึ้น
3. อาการบวมน้ำทำให้โพรงกะโหลกได้รับความเสียหายอย่างหนัก ทำให้ศูนย์กลางเส้นประสาทตาย เป็นต้น
4. มีอุปสรรคในการรับกลิ่น การเคลื่อนไหวช้าลง แขนขาทั้งสองข้างไม่มีแรง
1. ปัจจัยด้านคลื่นรังสี : การปล่อยคลื่นออกมาของโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ มีบทบาทในการกระตุ้นให้เกิดเซลล์มะเร็ง
2. ปัจจัยด้านบาดแผล : บาดแผลภายนอกจะกระตุ้นไปยังแผลเป็นของเนื้อเยื่อที่สมองและเยื่อหุ้มสมอง ทำให้เกิดเนื้องอก อีกทั้งบาดแผลภายนอกสมองจะเพิ่มการเจริญเติบโตของเนื้องอกในสมองที่มีอยู่แล้วอีกด้วย
3. ปัจจัยด้านเคมีภัณฑ์ : การเกิดโรคมะเร็งสมองเกี่ยวข้องกับการสัมผัสยาฆ่าแมลง ยาย้อมผมและฟอร์มาลดีไฮด์ เป็นระยะเวลานาน เป็นต้น
4. ปัจจัยด้านรังสี : การได้รับรังสีก็เป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคมะเร็งสมอง
5. ปัจจัยที่เป็นมาแต่กำเนิด : เซลล์ดั้งเดิมหรือเนื้อเยื่อที่เกิดในตำแหน่งผิดปกติซึ่งหลงเหลืออยู่ในโพรงกะโหลกศีรษะในระหว่างการเติบโตของทารกในครรภ์ ทั้งยังมีการแตกตัวและเพิ่มจำนวนขึ้น ก็จะพัฒนากลายเป็นมะเร็งสมองแต่กำเนิด
6. ปัจจัยทางพันธุกรรม : ความบกพร่องของยีนในร่างกายหรือการเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้องอกในสมองอย่างฉับพลัน ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคมะเร็งสมองมีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้
1. ตอนเช้าช่วงตีสี่ตีห้าจะมีอาการปวดหัว ผู้ป่วยจะสะดุ้งตื่นขึ้นมาเพราะความปวด ยิ่งนอนหลับสนิท อาการปวดหัวจะยิ่งหนักขึ้น
2. การอาเจียนของผู้ป่วยมะเร็งสมองไม่มีอาการคลื่นไส้หรือปวดท้องร่วม และไม่เกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหาร แต่เป็นการอาเจียนพ่นอออกมาหลังจากปวดหัวระยะหนึ่ง
3. เนื้องอกในสมองจะทำให้การกดทับในสมองเพิ่มสูงขึ้น เส้นเลือดที่ตาจึงไหลเวียนไม่สะดวก ก่อให้เกิดการอุดตันและบวมน้ำ และยังทำลายเซลล์รับการมองเห็นของเรตินาอีกด้วย ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการมองเห็นลดลง
4. ตานูนข้างเดียว : ลูกตาข้างหนึ่งจะนูนออกมาข้างหน้า หากอาการหนักจะทำให้ตาปิดไม่สนิท
5. เมื่อกลีบขมับใต้สมองถูกกระตุ้นจากเนื้องอกในสมอง จะทำให้ได้กลิ่นไปเอง
6. เนื้องอกในสมองกดทับประสาทการได้ยิน ทำให้ประสิทธิภาพการได้ยินของหูข้างหนึ่งค่อยๆ ต่ำลง
7. คนที่เริ่มมีอาการของโรคลมชักหลังจากเข้าสู่วัยผู้ใหญ่แล้ว เช่น ไม่มีบาดแผลภายนอกรวมถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดอื่นๆ สิ่งแรกที่ควรพิจารณาคือ โรคมะเร็งสมอง
1. การเอกซเรย์กะโหลกศีรษะ : มีส่วนช่วยให้ทราบว่ามีการกดทับในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นหรือไม่ กระดูกกะโหลกศีรษะบางส่วนเสียหายหรือมีการงอกขยายเพิ่มขึ้นหรือไม่ เป็นต้น
2. การตรวจ CT บริเวณสมอง : ง่ายต่อการตรวจสอบขนาดของเนื้องอก รูปร่าง ลักษณะ จำนวน ตำแหน่ง และระดับความหนาแน่น เป็นต้น
3. การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( MRI ) : สามารถแสดงให้เห็นเนื้องอกส่วนใหญ่บริเวณสมองและการบวมน้ำบริเวณรอบเนื้องอกได้ชัดเจน แสดงตำแหน่งเนื้องอก ขนาดและรูปร่างได้ถูกต้อง
4. การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง ( EEG ) : มีประสิทธิภาพในการกำหนดตำแหน่งเนื้องอกในสมองที่เติบโตในซีกสมองอย่างรวดเร็ว สามารถเห็นได้ว่าแอมพลิจูดบริเวณรอบเนื้องอกในสมองต่ำลงและความถี่ช้าลง
5. การตรวจวัดทางชีวเคมี : สำหรับผู้ป่วยเนื้องอกต่อมใต้สมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีการหลั่งฮอร์โมนต่อมใต้สมองส่วนหน้ามากเกินไป สามารถตรวจพิสูจน์เลือดทางชีวเคมีได้
1. การผ่าตัด : เป็นการผ่าตัดต้นกำเนิดเนื้องอกออก สามารถกำจัดเซลล์มะเร็ง หลีกเลี่ยงการเพิ่มขึ้นของเซลล์มะเร็ง
2. การให้ยาเคมี : เนื่องจากอุปสรรคของโครงสร้างพิเศษของเลือดบริเวณสมอง การให้ยาเคมีจึงถูกจำกัดไว้มาก การใช้ยาเคมีจึงทำได้แค่ใช้ยาที่มีลักษณะละลายไขมันผ่านหลอดเลือดภายในเนื้อเยื่อของเซลล์ เข้าไปภายในเซลล์เนื้องอกให้เกิดปฏิกิริยา แต่รูปแบบนี้ส่งผลต่อความเร็วในการออกฤทธิ์ของยาและประสิทธิภาพอีกด้วย
3. การฉายรังสี : ใช้ระดับความไวต่อรังสีของเซลล์มะเร็งเป็นหลัก อาศัยการตรวจวินิจฉัยเนื้องอกในสมองทางพยาธิวิทยา ระดับการแตกตัว รวมทั้งผลการตรวจภาพถ่ายทางการแพทย์ มากำหนดขอบเขตการฉายรังสีรวมถึงปริมาณของสาร แต่ในระหว่างขั้นตอนการฉายรังสีก็จะทำให้เกิดผลข้างเคียงด้วยเช่นกัน
การดูแลด้านโภชนาการ
1. ควรรับประทานผักและผลไม้สดให้มาก
2. ในการรับประทานอาหารต้องทานโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสม เช่น ไข่ขาว ประเภทเนื้อปลาและผลิตภัณฑ์จากถั่วทุกประเภท เป็นต้น
3. รับประทานไขมันสัตว์ให้น้อยลง เช่น น้ำมันหมู ไขมันวัวและเนย เป็นต้น รวมถึงอาหารที่มีคอเรสเตอรอลค่อนข้างสูง
4. หลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นระบบประสาท เช่น สุรา ชาเข้มข้นและกาแฟ เป็นต้น
การดูแลด้านจิตใจ
1. ไปตรวจร่างกายซ้ำที่โรงพยาบาลตามกำหนด
2. ดูแลสภาพจิตใจให้แจ่มใส ให้ความร่วมมือกับทีมแพทย์
3. ผู้ป่วยโรคมะเร็งสมองจะมีจิตใจท้อถอยได้ง่าย ควรพูดคุยกับผู้ป่วยบ่อยๆ
4. ให้กำลังใจผู้ป่วยบ่อยๆ ให้ความเชื่อมั่นในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง
เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เหมาะสมกับโรคมะเร็งสมอง
ทีมผู้เชี่ยวชาญหลายแขนงซึ่งรวบรวมแพทย์ศัลยกรรมด้านมะเร็ง ผู้เชี่ยวชาญด้านพยาธิวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านการฉายแสงมะเร็ง ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคแบบบาดแผลเล็ก พยาบาลผู้ดูแลแผนกมะเร็งและเจ้าหน้าที่ล่าม ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะร่วมกันกำหนดแผนการโดยประเมินจากสภาพร่างกายและอาการของผู้ป่วยมะเร็งสมอง เพื่อยกระดับผลลัพธ์สำหรับผู้ป่วยมะเร็งสมองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
แพทย์แผนจีนมีประสิทธิภาพในการปรับสมดุลของร่างกายและช่วยในการต้านมะเร็ง หากบูรณาการข้อดีของการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบันเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดประสิทธิภาพมากกว่าการใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง “การบูรณาการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบัน” สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น การให้ยาจีนทางหลอดเลือดแดงอย่างต่อเนื่อง การให้ยาพ่นจีน เป็นต้น จากนั้นผสานกับเทคโนโลยีอื่นๆ จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการยกระดับผลลัพธ์ทางการแพทย์ให้สูงยิ่งขึ้น
โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวได้รวบรวมประสบการณ์ทางการแพทย์ด้านโรคมะเร็งมาหลายปี เพื่อวางแผนให้แก่ผู้ป่วยมะเร็งสมองทุกคน โดยนำเทคโนโลยีทางการแพทย์กว่า 18 วิธีมาใช้ ซึ่งในจำนวนนั้นมีแพทย์แผนจีนรวมอยู่ด้วย โดยสร้างรูปแบบ “บาดแผลเล็ก บูรณาการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบัน” ซึ่งแพทย์แผนจีนมีประสิทธิภาพในการปรับสมดุลของร่างกาย ช่วยในการต้านมะเร็ง และยกระดับภูมิคุ้มกัน เป็นต้น และมีการบูรณาการเข้ากับเทคโนโลยีแบบบาดแผลเล็ก ซึ่งในขณะทแพทย์แผนจีนสามารถใช้การกับมะเร็งสมองด้วยมีดโฟตอนไปด้วยได้ โดยใช้อุปกรณ์ เช่น CT หรือ MRI เป็นต้น ในการกำหนดตำแหน่งและขอบเขตที่ถูกต้องแม่นยำของจุดที่เกิดมะเร็งและอวัยวะสำคัญใกล้เคียง จากนั้นอาศัยขนาดของก้อนมะเร็ง ตำแหน่ง ระดับความลึก ในการเลือกฉายแสงโฟตอนที่พลังงานแตกต่างกัน เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง
โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวแห่งประเทศจีนได้ตั้งสำนักงานขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก เช่นประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ไทย เป็นต้น ทุกปีสำนักงานจะรับผู้ป่วยชาวต่างชาติและส่งตัวมายังโรงพยาบาลจำนวนมาก ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลและฟื้นตัวมาจากหลายประเทศทั่วโลก
ด้านหนึ่งโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเสนอการบริการด้านการแพทย์ที่ครบวงจรให้แก่ผู้ป่วย อีกด้านหนึ่งยกระดับประสิทธิภาพทางการแพทย์ให้สูงขึ้น โดยไม่เพิ่มภาระให้แก่ผู้ป่วย อีกทั้งช่องทางการติดต่อระหว่างแพทย์และผู้ป่วยมีหลายช่องทาง ได้แก่ ทางออนไลน์ ทางอีเมล์ ทางโทรศัพท์ หรือการพบปะกัน เพื่อขยายช่องทางการบริการให้คำปรึกษา ช่วยให้พวกเขาต้านมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย