โรคมะเร็งกระดูกเป็นชื่อรวมของโรคเนื้องอกกระดูกที่เป็นเนื้อร้าย โรคมะเร็งกระดูกที่พบได้บ่อยคือ เนื้องอกกระดูก ( Osteosarcoma ) เนื้องอกกระดูกอ่อน ( Chrondrosarcoma ) เนื้องอกของเนื้อเยื่ออ่อนที่เกิดขึ้นในกระดูก ( Fibrosarcoma ) เป็นต้น โรคมะเร็งกระดูกสามารถเกิดขึ้นจากองค์ประกอบการเกิดโลหิตของเซลล์กระดูกหรือโครงกระดูก กระดูกอ่อนและองค์ประกอบชนิดเส้นใยหรือส่วนประกอบของเยื่อหุ้มกระดูก ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของโรคร้ายแรงในร่างกาย
ในการวินิจฉัยรคมะเร็งกระดูกแบ่งเป็นมะเร็งกระดูกชนิดปฐมภูมิ ( เกิดจากเซลล์กระดูกโดยตรง ) และมะเร็งกระดูกชนิดทุติยภูมิ ( เกิดจากโรคมะเร็งของอวัยวะอื่นๆ แล้วแพร่กระจายมาที่กระดูก ) มะเร็งกระดูกชนิดทุติยภูมิส่วนใหญ่เกิดบริเวณกระดูกเชิงกราน กระดูกสันหลังและกระดูกโคนขา เป็นต้น มะเร็งกระดูกชนิดปฐมภูมิเป็นมะเร็งที่พบได้ค่อนข้างน้อย โรคมะเร็งกระดูกส่วนใหญ่เกิดจากการแพร่กระจายมาจากตำแหน่งอื่นหรือเนื้อเยื่ออื่น ( เช่น ต่อมเต้านม ต่อมไทรอยด์และต่อมลูกหมาก เป็นต้น ) มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า โรคมะเร็งระยะแพร่กระจายมากระดูก
อัตราการเกิดโรคกระดูกมีประมาณ 0.2% ของโรคมะเร็งทั้งหมด ทุกๆ ปีทั่วโลกจะมีประมาณ 2,890 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งกระดูก และประมาณ 1,410 คน ที่เสียชีวิตเพราะโรคมะเร็งกระดูก โรคมะเร็งกระดูกที่พบได้บ่อยที่สุดคือเนื้องอกกระดูก ( Osteosarcoma ) ประมาณ 30% ของโรคมะเร็งกระดูก อัตราการเกิดโรคมะเร็งกระดูกในวัยรุ่นค่อนข้างสูง ช่วงอายุการเกิดโรคส่วนใหญ่อยู่ที่อายุ 10 – 20 ปี อัตราการเกิดโรคมะเร็งกระดูกระหว่างเพศชายกับเพศหญิงอยู่ที่ 2:1
สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งกระดูกยังไม่สามารถชี้ชัดได้ทั้งหมด เมื่อก่อนเชื่อว่าอาการบาดเจ็บเรื้อรังชนิดไม่รุนแรงและการติดเชื้อเรื้อรังจะทำให้เกิดโรคมะเร็งกระดูก ในขณะเดียวกันการเกิดโรคมะเร็งกระดูกยังมีความเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตที่มากเกินไปของโครงกระดูก การกระทบของโรคอักเสบเรื้อรัง พันธุกรรม การติดเชื้อไวรัสชนิดพิเศษ การไหลเวียนเลือดในกระดูกไม่คล่องและการได้รับรังสี เป็นต้น
1. โครงกระดูกมีการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยา
2. มีอาการปวดหลังอย่างต่อเนื่องและปวดอย่างไม่มีสาเหตุ
3. มีอาการกระดูกหักหนึ่งที่หรือหลายที่โดยไม่มีสาเหตุชัดเจน
4. เพราะก้อนเนื้องอกกดทับหลอดเลือดเส้นประสาท ทำให้ปลายแขนและขารู้สึกชา
5. บริเวณผิวกระดูกพบก้อนเนื้อลักษณะแข็ง อาการมีทั้งเจ็บและไม่เจ็บ
6. มีอาการตัวร้อน น้ำหนักลดลง อ่อนเพลียและความสามารถในการทำกิจวัตรต่างๆ ลดลง
7. บริเวณกระดูกและข้อต่อมีอาการปวดหรือบวม เจ็บปวดตื้อๆ อย่างต่อเนื่อง หรือเจ็บปวดเฉพาะเวลาถูกกดทับ
1. การตรวจสแกนกระดูก : โดยฉีดสารทึบแสงเข้าไปเล็กน้อย และใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพชนิดพิเศษในการตรวจ เพื่อแสดงรูปภาพของกระดูก
2. การตรวจโดยอุปกรณ์ภาพถ่ายทางการแพทย์ : เช่น การเอกซเรย์ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ( CT ) การตรวจโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( MRI ) เป็นต้น สามารถช่วยเหลือแพทย์ในการประเมินวิเคราะห์ตำแหน่งของมะเร็งได้
3.การตรวจชิ้นเนื้อ : โดยการเก็บเอาตัวอย่างเนื้อเยื่อไปตรวจเกี่ยวกับมะเร็งกระดูก ซึ่งรวมถึง
(1) การเจาะตรวจเนื้อเยื่อ : แพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กเจาะลงไปที่ก้อนมะเร็งและเก็บเนื้อเยื่อชิ้นเล็กๆ ออกมาตรวจ
(2) การตัดชิ้นเนื้อ : แพทย์จะผ่าเปิดผิวหนัง และผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อก้อนมะเร็งทั้งก้อนหรือเฉพาะส่วนออกมา เพื่อไปตรวจมะเร็งกระดูก
การผ่าตัดเป็นวิธีการที่ค่อนข้างพบบ่อย ซึ่งรวมถึง
1. การผ่าตัดโดยการขูด : การผ่าตัดโดยการขูดผนังกระดูกที่มีเนื้องอก ขูดเนื้อเยื่อมะเร็งที่ผนังกระดูกออกให้หมด
2. การผ่าตัดออก : โดยผ่าตัดจากฐานของเนื้องอกที่โตออกมาด้านนอกกระดูก
3. การผ่าตัดออกทั้งท่อน : โดยผ่าตัดท่อนก้านกระดูกที่มีก้อนมะเร็งอยู่ทั้งหมดออกไปทั้งท่อน
การดูแลด้านโภชนาการ
1. รับประทานอาหารที่มีสารอาหารอย่างพอเหมาะ ทานอาหารหลากหลายประเภท
2. ควรรับประทานผักและผลไม้สดใหม่ให้มาก
3. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอาหารที่มีรสเผ็ด
การดูแลด้านจิตใจ
1.สร้างบรรยากาศที่มีความสนิทสนมและสภาพแวดล้อมที่สบาย ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งกระดูกมีความรู้สึกปลอดภัย
2.แนะนำความรู้เกี่ยวกับโรคให้ผู้ป่วยมะเร็งกระดูกในเวลาที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสร้างความเชื่อมั่นในการต้านมะเร็ง
3.ครอบครัวควรแสดงความห่วงใยและสนับสนุนผู้ป่วย เพื่อลดความเหงาและความรู้สึกหมดหวัง เป็นต้น
ทีมผู้เชี่ยวชาญหลายแขนงซึ่งรวบรวมแพทย์ศัลยกรรมด้านมะเร็ง ผู้เชี่ยวชาญด้านพยาธิวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านการฉายแสงมะเร็ง ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคแบบบาดแผลเล็ก พยาบาลผู้ดูแลแผนกมะเร็งและเจ้าหน้าที่ล่าม ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะร่วมกันกำหนดแผนการทางการแพทย์โดยประเมินจากสภาพร่างกายและอาการของผู้ป่วยมะเร็งกระดูก เพื่อยกระดับผลลัพธ์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
แพทย์แผนจีนมีประสิทธิภาพในการปรับสมดุลของร่างกายและช่วยในการต้านมะเร็ง หากบูรณาการข้อดีของการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบันเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดประสิทธิภาพมากกว่าการใช้วิธีการเดียว “การบูรณาการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบัน” สามารถให้ยาทางหลอดเลือดแดงอย่างต่อเนื่องและการพ่นยาละอองจีน เป็นต้น และหากผสานกับเทคโนโลยีอื่นๆ อีก ก็จะสามารถยกระดับผลลัพธ์ได้อีกด้วย
ทีมผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวอาศัยประสบการณ์ทางการแพทย์ด้านมะเร็งกระดูก ฉีกรูปแบบดั้งเดิม สร้างรูปแบบใหม่ “ เจาะจงบาดแผลเล็ก บูรณาการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบัน ” ขณะเดียวกัน ทางโรงพยาบาลของเราจะอาศัยอาการของผู้ป่วยมากำหนดแผนการการนำยาแพทย์แผนจีนมาใช้กับผู้ป่วยเนื้องอกกระดูก ( Osteosarcoma ) สามารถหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่เกิดจากการฉายแสงและการให้คีโมแบบดั้งเดิม และยังมีประสิทธิภาพในการปรับสมดุลของร่างกายและช่วยในการต้านมะเร็ง สามารถลดความเจ็บปวดของผู้ป่วยได้ อีกทั้งการให้ตัวยาแพทย์แผนจีน ไม่เพียงแต่ไม่มีผลข้างเคียง ยังสามารถบรรเทาอาการข้างเคียงของผู้ป่วยที่ทำการฉายแสงและการให้คีโมมาก่อนหน้านี้ด้วย โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวนำแพทย์แผนจีนมาประสานกับสิบแปดวิธีการ ซึ่งจะเป็นแบบบาดแผลเล็ก เช่น การทำความความเย็น การใช้คลื่นความถี่สูง และการใช้เลเซอร์ เป็นต้น เพื่อรวมข้อดีของแพทย์แผนจีนและแพทย์แผนปัจจุบันไว้ด้วยกัน ผลลัพธ์ได้รับการยกระดับไปอีกก้าวหนึ่ง
โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวแห่งประเทศจีนได้ตั้งสำนักงานขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ทุกปีสำนักงานจะรับผู้ป่วยชาวต่างชาติและส่งตัวมายังโรงพยาบาลจำนวนมาก ผู้ป่วยทั้งหมด ล้วนมาจากหลายประเทศทั่วโลก
ด้านหนึ่งโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเสนอการบริการด้านการแพทย์ที่ครบวงจรให้แก่ผู้ป่วย อีกด้านหนึ่งยกระดับประสิทธิภาพทางการแพทย์ให้สูงขึ้น โดยไม่เพิ่มภาระให้แก่ผู้ป่วย อีกทั้งช่องทางการติดต่อระหว่างแพทย์และผู้ป่วยมีหลายช่องทาง ได้แก่ ทางออนไลน์ ทางอีเมล์ ทางโทรศัพท์ หรือการพบปะกัน เพื่อขยายช่องทางการบริการให้คำปรึกษา ช่วยให้พวกเขาต้านมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย