มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ หมายถึง เนื้องอกร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณเยื่อเมือกกระเพาะปัสสาวะ เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในระบบขับถ่ายปัสสาวะ เซลล์เยื่อบุผิวของเยื่อเมือกกระเพาะปัสสาวะ เรียกว่า เซลล์เยื่อบุผิวทางเดินปัสสาวะ มะเร็งที่เกิดจากเซลล์เยื่อบุผิวทางเดินปัสสาวะ เรียกว่า มะเร็งเยื่อบุผิวทางเดินปัสสาวะ ซึ่งเป็น 90% - 95% ของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะทั้งหมด และเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะที่พบได้บ่อยที่สุด ส่วนมะเร็งประเภทอื่นๆ ที่พบได้ค่อนข้างน้อย ได้แก่ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะชนิด Squamous cell carcinoma และมะเร็งชนิดต่อม
โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะเป็น 3% ของโรคมะเร็งทั้งหมด ในแต่ละปีทั่วโลกจะมีผู้ป่วยจำนวนมากกว่า 350000 คน ถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งมะเร็งกระเพาะปัสสาวะเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัย แต่อัตราการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะจะค่อนข้างสูงในกลุ่มคนอายุระหว่าง 50 - 60 ปี ซึ่งอัตราการเกิดโรคในเพศชายจะสูงกว่าในเพศหญิง 3 – 4 เท่า
โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะเกิดจากหลายๆ ปัจจัยมาปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งการสูบบุหรี่และการทำงานสัมผัสกับสารอะโรมาติก เอมีน ( Aromatic amines ) เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะอย่างแน่ชัดในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก ได้แก่
1. สารก่อมะเร็งในน้ำดื่ม : ดื่มน้ำประปาที่ผ่านการฆ่าเชื้อและมีคลอรีน จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้
2. โรคทางเดินปัสสาวะ : เยื่อบุผิวทางเดินปัสสาวะถูกกระตุ้นเรื้อรังเป็นเวลานาน หรือสารเมทาบอไลท์ในร่างกายทำให้ระดับสารก่อมะเร็งในปัสสาวะสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้เยื่อบุผิวทางเดินปัสสาวะเพิ่มจำนวนและกลายเป็นมะเร็งได้
3. ยา : การรับประทานยาแก้ปวดที่มีสารฟีนาเซติ ( Phenacetin ) ในปริมาณมาก จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้
1. ปัสสาวะเป็นเลือด : ส่วนใหญ่จะปัสสาวะเป็นเลือดครั้งคราวหรือทั้งหมด และอาจปัสสาวะเป็นเลือดตอนเริ่มถ่ายหรือปัสสาวะเป็นเลือดตอนสุดท้าย ผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะบางส่วนจะมีก้อนเลือดหรือเนื้อเยื่อคล้ายเนื้อเปื่อยขับออกมาด้วย
2. มีอาการระคายเคืองกระเพาะปัสสาวะ : เนื้องอกที่เกิดขึ้นบริเวณส่วนของกระเพาะปัสสาวะที่อยู่ระหว่างรูเปิดสามรู ขอบเขตการเปลี่ยนแปลงของโรคขยายใหญ่ขึ้นหรือเมื่อรวมกับการติดเชื้อ ก็จะไปกระตุ้นกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อยและกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
3. มีอาการปัสสาวะติดขัด : ก้อนมะเร็งขนาดค่อนข้างใหญ่ ก้อนมะเร็งบริเวณกล้ามเนื้อคอกระเพาะปัสสาวะ รวมทั้งก้อนเลือดอุดตันจะทำให้ปัสสาวะติดขัดจนกระทั่งปัสสาวะขัง ก้อนมะเร็งที่รุกล้ำไปถึงรูเปิดของท่อปัสสาวะจะทำให้ทางเดินปัสสาวะอุดตัน จึงปรากฏอาการปวดเอว ไตบวมน้ำและสมรรถนะการทำงานของไตเสียหาย
4. อาการลุกลาม : มะเร็งระยะสุดท้ายจะลุกลามไปถึงเนื้อเยื่อโดยรอบกระเพาะปัสสาวะ อวัยวะหรือลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองช่องกระดูกเชิงกราน ทำให้เจ็บปวดบริเวณกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะและช่องคลอดทะลุ ขากับเท้าบวมน้ำ เป็นต้น เมื่อมีการลุกลามไปไกลจะทำให้สมรรถนะของอวัยวะที่มีการลุกลามถูกทำลาย ปวดกระดูก อีกทั้งผอมหนังหุ้มกระดูก เป็นต้น
1. การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ : สามารถเห็นตำแหน่งที่ก้อนมะเร็งเจริญเติบโต ขนาด จำนวน รูปร่างและขอบเขตการรุกล้ำได้โดยตรง เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็สามารถตัดชิ้นเนื้อไปตรวจได้อีกด้วย
2. การตรวจ CT : สามารถตรวจพบเนื้องอกและต่อมน้ำเหลืองที่โตขึ้น อัตราความแม่นยำสูงถึง 80%
3. การตรวจอัลตราซาวด์ : ทำให้กระเพาะปัสสาวะเต็ม เยื่อเมือกผนังกระเพาะปัสสาวะจะขยายเต็มที่ การตรวจอัลตราซาวด์จะสามารถแสดงขนาดและตำแหน่ง รวมถึงระดับการรุกล้ำเข้าไปในเยื่อเมือกอีกด้วย
4. การตรวจโดยการถ่ายภาพรังสี : การถ่ายภาพรังสีสามารถแสดงสภาพการเต็มภายในกระเพาะปัสสาวะ รวมถึงขอบเขตและความลึกของการรุกล้ำของมะเร็ง หากถ่ายภาพรังสีบริเวณกรวยไตและท่อส่งปัสสาวะก็จะสามารถเห็นได้ว่ามีอาการไตบวมน้ำหรือรุกล้ำไปท่อส่งปัสสาวะหรือไม่และระดับความรุกล้ำเป็นอย่างไร
ระยะ0 : เรียกได้อีกชื่อว่า มะเร็งระยะอยู่เฉพาะที่ จะพบก้อนมะเร็งระดับตื้นที่ริมขอบเนื้อเยื่อบริเวณภายในกระเพาะปัสสาวะ
ระยะ1 : เซลล์มะเร็งกระจายไปถึงผนังภายในกระเพาะปัสสาวะชั้นนอก
ระยะ2 : เซลล์มะเร็งกระจายไปถึงชั้นกล้ามเนื้อของผนังกระเพาะปัสสาวะ
ระยะ3 : เซลล์มะเร็งกระจายไปถึงเนื้อเยื่อไขมันรอบกระเพาะปัสสาวะ อาจกระจายไปถึงอวัยวะสืบพันธุ์
ระยะ4 : เซลล์มะเร็งกระจายจากกระเพาะปัสสาวะไปยังเยื่อบุช่องท้องหรือช่องกระดูกเชิงกราน ซึ่งเซลล์มะเร็งอาจส่งผลกระทบต่อต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย
ระยะกลับมาเป็นซ้ำ : มีแนวโน้มที่อาจกลับมาเป็นซ้ำที่กระเพาะปัสสาวะหรือส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
1. การผ่าตัด : การผ่าตัดจะอาศัยจากการตรวจวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ร่วมกับสภาพอาการของผู้ป่วยมาเลือกรูปแบบการผ่าตัดที่เหมาะสม ซึ่งได้แก่
(1) การผ่าตัดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะผ่านทางเดินปัสสาวะ
(2) การผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะทั้งหมด
2. การฉายรังสีและเคมีบำบัด : การฉายรังสีและเคมีบำบัด สามารถใช้เป็นวิธีเสริม ซึ่งสามารถเลือกใช้การฉายรังสีและเคมีบำบัดก่อนผ่าตัดหรือหลังผ่าตัดเพื่อยกระดับผลลัพธ์ทางการแพทย์โดยการผ่าตัดให้สูงขึ้น และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะให้สูงขึ้นอีกด้วย
3. แพทย์แผนจีน : ยาแพทย์แผนจีนสามารถใช้ได้ทั้งกระบวนการทางการแพทย์สำหรับโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สามารถใช้เพียงวิธีเดียว หรือใช้ควบคู่กันกับการผ่าตัด การฉายรังสีและเคมีบำบัดได้ ซึ่งสามารถควบคุมมะเร็งและยกระดับคุณภาพชีวิต เป็นต้น
ดูแลด้านโภชนาการ
1. ผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะควรทานผักและผลไม้สดให้มาก
2. ควรให้ผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น ไข่ นมสด ปลา เป็นต้น
3. ปรับปรุงอาหารตามที่ผู้ป่วยชอบ แต่ต้องหลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดและอาหารที่ย่อยยาก
ดูแลหลังการผ่าตัด
1. ต้องดูแลความสะอาดสิ่งแวดล้อมภายในห้อง ให้อากาศถ่ายเท
2. ผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะต้องป้องกันการติดเชื้อ ต้องกระตุ้นภูมิต้านทานของผู้ป่วย
3. ครอบครัวต้องให้กำลังใจผู้ป่วย ช่วยขจัดอารมณ์ที่ไม่ดีของผู้ป่วยออกไป
ทีมผู้เชี่ยวชาญหลายแขนงซึ่งรวบรวมแพทย์ศัลยกรรมด้านมะเร็ง ผู้เชี่ยวชาญด้านพยาธิวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านการฉายแสงมะเร็ง ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคแบบบาดแผลเล็ก พยาบาลผู้ดูแลแผนกมะเร็งและเจ้าหน้าที่ล่าม ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะร่วมกันกำหนดแผนการโดยประเมินจากสภาพร่างกายและอาการของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เพื่อยกระดับผลลัพธ์ทางการแพทย์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
จากผลการปฏิบัติพิสูจน์ให้เห็นว่า การบริการของทีมแพทย์ซึ่งบูรณาการหลายแขนง เช่น แผนกผ่าตัดเนื้องอก แผนกอายุรกรรมเนื้องอก แผนกแพทย์แผนจีน แผนกพยาธิวิทยา แผนกภาพถ่ายทางการแพทย์ วิสัญญีแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาล เป็นต้น ช่วยกำหนดแผนการที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เหมาะสมที่สุด และประหยัดที่สุดให้แก่ผู้ป่วยได้ ช่วยปรับผลลัพธ์ทางการแพทย์ของผู้ป่วยมะเร็งให้ดียิ่งขึ้น
จากระบบทางการแพทย์ที่เน้นการบริการครบถ้วนในครั้งเดียว โดยการบูรณาการหลายแขนงของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว บูรณาการการตรวจให้กับผู้ป่วย ด้านหนึ่งโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเสนอการบริการด้านการแพทย์ที่ครบวงจรให้แก่ผู้ป่วย อีกด้านหนึ่งยกระดับประสิทธิภาพทางการแพทย์ให้สูงขึ้น โดยไม่เพิ่มภาระให้แก่ผู้ป่วย อีกทั้งช่องทางการติดต่อระหว่างแพทย์และผู้ป่วยมีหลายช่องทาง ได้แก่ ทางออนไลน์ ทางอีเมล์ ทางโทรศัพท์ หรือการพบปะกัน เพื่อขยายช่องทางการบริการให้คำปรึกษา ช่วยให้พวกเขาต้านมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ผู้ป่วยจะได้พบนั้นประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักโภชนาการ และล่ามแปลภาษา เป็นต้น เพื่อตอบสนองความต้องการทุกระดับชั้นของผู้ป่วยจากประเทศที่แตกต่างกันให้เป็นที่พอใจ การพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยช่องทางเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือกับทางโรงพยาบาลได้ดียิ่งขึ้น