โรคมะเร็งท่อน้ำดี หมายถึง ก้อนเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณท่อน้ำดีนอกตับ รวมทั้งบริเวณขั้วตับจนถึงส่วนปลายล่างของท่อน้ำดีใหญ่ โดยมะเร็งท่อน้ำดีสามารถแบ่งตามตำแหน่งของเนื้องอกได้เป็นมะเร็งท่อน้ำดีในตับและมะเร็งท่อน้ำดีนอกตับ มะเร็งท่อน้ำดีนอกตับยังจำแนกได้เป็นมะเร็งท่อน้ำดีส่วนบน ( มะเร็งท่อน้ำดีบริเวณขั้วตับ ) มะเร็งท่อน้ำดีส่วนกลางและมะเร็งท่อน้ำดีส่วนปลาย แต่มะเร็งท่อน้ำดีบริเวณขั้วตับจะพบได้บ่อยที่สุด
โรคมะเร็งท่อน้ำดีเป็นโรคมะเร็งที่พบได้ค่อนข้างน้อย ทุกปีจะมีเคสการเกิดโรคใหม่ของมะเร็งท่อน้ำดีประมาณ 2000 – 3000 เคส และทุกๆ หนึ่งแสนคนจะมีประมาณ 0.01% - 0.46% คน เป็นมะเร็งท่อน้ำดี แต่อัตราการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ค่อนข้างสูง ซึ่งอัตราการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น โดยเพศชายจะมีอัตราการเกิดโรคสูงกว่าเพศหญิง ขณะเดียวกันช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาพบว่า อัตราการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีมีแนวโน้มสูงขึ้น
สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีในปัจจุบันยังไม่แน่ชัด แต่โรคทางเดินน้ำดีอักเสบเรื้อรัง ท่อน้ำดีหรือถุงน้ำดีเป็นนิ่ว โรคพยาธิใบไม้ตับและการผิดรูปร่างของท่อน้ำดี เป็นต้น อาจมีบทบาทสำคัญในการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี
1. อาการท่อน้ำดีอักเสบเรื้อรัง : อาการอักเสบเรื้อรังเป็นเวลานานเป็นพื้นฐานการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี เพราะโรคที่มีการตรวจพบและมีความเกี่ยวข้องกับมะเร็งท่อน้ำดีจะทำให้เกิดอาการท่อน้ำดีอักเสบเรื้อรัง
2. ท่อน้ำดีเป็นนิ่วหรือถุงน้ำดีเป็นนิ่ว : 20% - 57% ของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีจะเป็นนิ่วในท่อน้ำดีหรือในถุงน้ำดี ดังนั้นจึงเห็นว่าการกระตุ้นเรื้อรังของนิ่วอาจเป็นปัจจัยทำให้เกิดโรคมะเร็ง
3. ท่อน้ำดีผิดรูปร่าง ( อาการท่อน้ำดีขยายมาตั้งแต่เกิด ) : การมีซีสต์ในท่อน้ำดีมาตั้งแต่เกิดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งได้ง่าย เมื่อการไหลเวียนของท่อตับอ่อนและท่อน้ำดีผิดปกติ ของเหลวจากตับอ่อนจะไหลย้อนเข้าไปในท่อน้ำดี ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบริเวณเยื่อบุผิวท่อน้ำดี เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็ง
4. โรคพยาธิใบไม้ตับ ( Chinese liver fluke ) : พื้นที่บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากการกินปลาดิบจะทำให้เกิดโรคพยาธิใบไม้ตับและเกิดการติดเชื้อที่ทางเดินน้ำดี ภาวะคั่งของน้ำดี เกิดพังผืดรอบท่อน้ำดีและท่อน้ำดีงอกขยายขึ้น เป็นต้น จึงเป็นหนึ่งในสาเหตุการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี
1. ตัวเหลือง ตาเหลือง ( ดีซ่าน ) : เนื่องจากท่อน้ำดีถูกก้อนมะเร็งอุดตัน จึงทำให้มีอาการดีซ่าน ลักษณะอาการดีซ่านจะเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่ไม่มีอาการปวด อีกทั้งระดับของอาการดีซ่านจะมีความเกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่มีการอุดตัน
2. ปวดบริเวณท้อง : หลังจากรับประทานอาหารแล้วจะรู้สึกไม่สบายบริเวณท้องด้านบนเล็กน้อย หรือปวดเสียดใต้ลิ้นปี่ หรือปวดบริเวณหลัง หรือปวดเค้นบริเวณท้องด้านขวาบน ซึ่งเป็นอาการของเส้นประสาทถูกก้อนมะเร็งลุกลาม
3. ตัวร้อน : ก้อนมะเร็งอุดตันถึงท่อน้ำดี ทำให้ภายในท่อน้ำดีเกิดอาการอักเสบ ทำให้มีอาการตัวร้อน แต่อัตราการเกิดค่อนข้างต่ำ
4. คันบริเวณผิวหนัง : อาการคันที่ผิวหนังจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังการเป็นดีซ่าน เพราะบิลิรูบิน ( bilirubin ) ที่อยู่ในเลือดมีปริมาณเพิ่มขึ้น จึงกระตุ้นให้ปลายประสาทผิวหนังเกิดอาการนี้ขึ้น
5. อาการอื่นๆ : จะมีอาการร่วม เช่น ไม่อยากอาหาร เบื่ออาหารมันๆ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น หรืออาการที่ไม่ผิดปกติจากก้อนมะเร็ง โดยจำนวนน้อยที่จะมีอาการความดันของหลอดเลือดดำพอร์ทัลสูงเนื่องจากก้อนมะเร็งลุกลามไปถึงหลอดเลือดดำพอร์ทัล
1. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ : ตรวจความผิดปกติของสมรรถนะการทำงานของตับที่ทำให้เกิดดีซ่านเป็นหลัก เช่น การเพิ่มสูงขึ้นของบิลิรูบินและเอนไซม์ในเซลล์เยื่อบุท่อน้ำดีของตับ ( alkaline phosphatase ) เป็นต้น
2. การตรวจอัลตราซาวด์ : การตรวจอัลตราซาวด์อย่างละเอียดซ้ำหลายครั้งจะสามารถแสดงให้เห็นท่อน้ำดีที่ขยาย ตำแหน่งอุดตัน แม้กระทั่งแสดงให้เห็นก้อนมะเร็ง
3. การตรวจ MRCP : MRCP สามารถแสดงให้เห็นระบบทางเดินน้ำดีในตับได้อย่างละเอียด รวมทั้งตำแหน่งและขอบเขตที่ก้อนมะเร็งอุดตัน มีการลุกลามหรือแพร่กระจายไปที่เนื้อตับหรือไม่ เป็นต้น มีส่วนช่วยในการแยกแยะก้อนเนื้องอกคล้ายหัวนมบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้นดูโอดีนัมกับมะเร็งหัวตับอ่อน
4. การตรวจ CT : การตรวจ CT สามารถแสดงให้เห็นการขยายของท่อน้ำดี ตำแหน่งและขอบเขตที่ทางเดินน้ำดีถูกอุดตันอย่างค่อนข้างชัดเจน อีกทั้งสามารถแสดงลักษณะการเปลี่ยนแปลงของเซลล์อย่างแม่นยำ
5. การตรวจ ERCP : การตรวจ ERCP จะสามารถเข้าใจสภาพทั้งหมดของทางเดินน้ำดี ทั้งยังสามารถเก็บน้ำดีและเซลล์ที่มะเร็งท่อน้ำดีปล่อยออกมาได้โดยตรง
6. การตรวจ PTC : การตรวจ PTC สามารถแสดงให้เห็นรูปร่างระบบทางเดินน้ำดีทั้งภายในและภายนอกตับ การกระจายและตำแหน่งที่อุดตันได้อย่างละเอียด จึงเป็นวิธีตรวจวินิจฉัยมะเร็งท่อน้ำดีที่ค่อนข้างแม่นยำ
1.การผ่าตัด : ปัจจุบันการผ่าตัดยังคงเป็นวิธีที่พบได้บ่อยสำหรับโรคมะเร็งท่อน้ำดี การผ่าตัดนั้นยังรวมถึง
(1) การผ่าตัดมะเร็งท่อน้ำดีในตับ
(2) การผ่าตัดมะเร็งท่อน้ำดีบริเวณหัวตับ
(3) การผ่าตัดมะเร็งท่อน้ำดีส่วนกลาง
(4) การผ่าตัดมะเร็งท่อน้ำดีส่วนล่าง
2. วิธีการอื่นๆ : เนื่องจากมะเร็งท่อน้ำดีไม่ไวต่อการฉายรังสีและการให้ยาเคมี ดังนั้นปกติจึงใช้ควบคู่หลังการผ่าตัด เพื่อให้มีเสถียรภาพและยกระดับผลลัพธ์โดยการผ่าตัด
ดูแลด้านการดำเนินชีวิต
1. ไปตรวจร่างกายซ้ำที่โรงพยาบาลตามกำหนด
2. ใช้ชีวิตอย่างมีระเบียบ ระมัดระวังการใช้แรงและพักผ่อนให้เพียงพอ
3. ออกกำลังกายที่เหมาะสม เช่น เดินเล่น ฝึกชี่กง
ดูแลด้านโภชนาการ
1. ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในการต้านมะเร็งท่อน้ำดี เช่น หูฉลาม ข้าวบักวีต ลูกเดือย กากเต้าหู้
2. ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในการต้านมะเร็งและต้านการติดเชื้อ เช่น ถั่วเขียว ผักกวางตุ้ง มะระ
3. ควรรับประทานอาหารที่สามารถช่วยขับถ่ายและขับน้ำดี เช่น มะเดื่อ วอลนัต งา ปลิงทะแล
ทีมผู้เชี่ยวชาญหลายแขนงซึ่งรวบรวมแพทย์ศัลยกรรมผ่าตัด ผู้เชี่ยวชาญด้านพยาธิวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านการฉายแสงมะเร็ง ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคแบบบาดแผลเล็กและพยาบาลผู้ดูแลแผนกมะเร็ง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะร่วมกันกำหนดแผนการ โดยประเมินจากสภาพร่างกายและอาการของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี เพื่อวางแผนการตรวจวินิจฉัย และการควบคุมอาการ ยกระดับผลลัพธ์ทางการแพทย์ของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
แพทย์แผนจีนมีประสิทธิภาพในการปรับสมดุลของร่างกาย ช่วยในการต้านมะเร็ง เพิ่มสมรรถนะภูมิคุ้มกันและฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรง เป็นต้น ซึ่งโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวได้บูรณาการแพทย์แผนจีนเข้ากับเทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อบูรณาการข้อดีของการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบันเข้าด้วยกัน สามารถยกระดับผลลัพธ์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
จากผลการปฏิบัติพิสูจน์ให้เห็นว่า การบริการของทีมแพทย์ซึ่งบูรณาการหลายแขนง เช่น แผนกผ่าตัดเนื้องอก แผนกอายุรกรรมเนื้องอก แผนกแพทย์แผนจีน แผนกพยาธิวิทยา แผนกภาพถ่ายทางการแพทย์ วิสัญญีแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาล เป็นต้น ช่วยกำหนดแผนการที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เหมาะสมที่สุด และประหยัดที่สุดให้แก่ผู้ป่วยได้ ช่วยปรับผลลัพธ์ทางการแพทย์ของผู้ป่วยมะเร็งให้ดียิ่งขึ้น
จากระบบทางการแพทย์ที่เน้นการบริการครบถ้วนในครั้งเดียว โดยการบูรณาการหลายแขนงของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว บูรณาการการตรวจให้กับผู้ป่วย ด้านหนึ่งโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเสนอการบริการด้านการแพทย์ที่ครบวงจรให้แก่ผู้ป่วย อีกด้านหนึ่งยกระดับประสิทธิภาพทางการแพทย์ให้สูงขึ้น โดยไม่เพิ่มภาระให้แก่ผู้ป่วย อีกทั้งช่องทางการติดต่อระหว่างแพทย์และผู้ป่วยมีหลายช่องทาง ได้แก่ ทางออนไลน์ ทางอีเมล์ ทางโทรศัพท์ หรือการพบปะกัน เพื่อขยายช่องทางการบริการให้คำปรึกษา ช่วยให้พวกเขาต้านมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ผู้ป่วยจะได้พบนั้นประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักโภชนาการ และล่ามแปลภาษา เป็นต้น เพื่อตอบสนองความต้องการทุกระดับชั้นของผู้ป่วยจากประเทศที่แตกต่างกันให้เป็นที่พอใจ การพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยช่องทางเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือกับทางโรงพยาบาลได้ดียิ่งขึ้น