โรคมะเร็งต่อมหมวกไต เป็นเนื้องอกร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณต่อมหมวกไต โรคมะเร็งต่อมหมวกไตแบ่งเป็น มะเร็งต่อมหมวกไตชั้นนอกกับมะเร็งต่อมหมวกไตชั้นใน เป็นต้น ต่อมหมวกไตเป็นอวัยวะต่อมไร้ท่อที่สำคัญของร่างกาย ตำแหน่งจะอยู่ใกล้กับไต แม้ว่าขนาดและความจุของต่อมหมวกไตจะเล็กมาก แต่ก้อนเนื้องอกที่เจริญเติบโตนั้นมีขนาดต่างกันมาก โดยทั่วไปก้อนที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยว่า 3 เซนติเมตร จะเรียกว่า nodular ขนาดเล็กที่สุดจะไม่ถึง 1 เซนติเมตร ก้อนขนาดใหญ่อาจมีขนาดถึง 10 – 30 เซนติเมตร ซึ่งรูปร่างของก้อนเนื้องอกสามารถเหมือนกับเมล็ดถั่ว ลูกท้อ แอปเปิ้ล เมลอน หมอนเด็ก เป็นต้น อัตราการเกิดโรคมะเร็งต่อมหมวกไตสูงมาก ทั้งยังค่อยๆ เพิ่มขึ้นทุกปี เมื่อโรคพัฒนาไปถึงระยะสุดท้าย ก็จะเพิ่มระดับความยากในการดูแล
มะเร็งต่อมหมวกไตชั้นนอกจะพบเห็นได้น้อยมาก เป็นเนื้องอกร้ายซึ่งเกิดขึ้นที่เนื้อเยื่อชั้นนอกของต่อมหมวกไต ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำลายเนื้อเยื่อปกติของต่อมหมวกไต ยังสามารถรุกล้ำออกไปยังเนื้อเยื่อไขมันโดยรอบ กระทั่งไปยังไตที่อยู่ข้างเดียวกันอีกด้วย
มะเร็งต่อมหมวกไตชั้นใน เป็นเนื้องอกซึ่งเกิดขึ้นที่เนื้อเยื่อชั้นในของต่อมหมวกไต ส่วนประสาทซิมพาเทติกหรือที่ตำแหน่งอื่นๆ เช่น เนื้องอกในเนื้อเยื่อโครมาฟีน เซลล์ดั้งเดิมจะเป็นเซลล์ประสาทซิมพาเทติก ชนิดนิวโรบลาสโตมา (Neuroblastoma ) หลังจากนั้นจะแยกเป็นเซลล์ปมประสาทกับเซลล์โครมาฟีน ดังนั้นจึงประกอบเป็นมะเร็งประสาทนิวโรบลาสโตมา
ปัจจุบันปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งต่อมหมวกไตนั้นยังไม่แน่ชัด แต่อาจมีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยดังต่อไปนี้
1. วัณโรคต่อมหมวกไต : หลังผ่านพ้นขั้นตอนทางการแพทย์สำหรับวัณโรคต่อมหมวกไต การทำงานของต่อมหมวกไตจะถดถอยเรื้อรัง ทำให้เกิดโรคมะเร็งต่อมหมวกไตได้
2. โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง : โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองที่เกิดขึ้นฉับพลันทำให้ต่อมหมวกไตชั้นนอกหดตัวลง เป็นสาเหตุการเกิดโรคที่พบได้มากที่สุดในปัจจุบัน
3. มะเร็งในตำแหน่งอื่นๆ ของร่างกายลุกลามถึงต่อมหมวกไต เป็น 26% - 50% ของมะเร็งต่อมหมวกไต เช่น มะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งไฝ เป็นต้น
เนื้อเยื่อชั้นนอกและชั้นในของต่อมหมวกไตสามารถเกิดเนื้องอกได้ เนื้องอกที่ทำให้การทำงานของต่อมไร้ท่อเปลี่ยนแปลงไป จึงเรียกว่า functioning tumor ส่วนเนื้องอกที่ไม่ทำให้การทำงานของต่อมไร้ท่อเปลี่ยนแปลงไป เรียกว่า Non-functioning tumors
ภาวะ hypercortisolism เนื่องจากต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลมากขึ้น อาจเกิดจากการงอกขยายเพิ่มขึ้นของเนื้อเยื่อชั้นนอกต่อมหมวกไตหรือเกิดจากเนื้องอก จะปรากฏอาการหน้าบวม เกิดก้อนไขมันบริเวณต้นคอ ( หนอกควาย ) อ้วนลงพุง อีกทั้งแขนขาเล็ก ปวดเอวและหลัง ความดันโลหิตสูง ขนขึ้นหนาแน่น ผมร่วง เป็นสิว เกิดความผิดปกติทางเพศ ประจำเดือนขาดหรือประจำเดือนน้อยลง
ต่อมเพศผิดปกติ เกิดจากเนื้องอกที่ต่อมหมวกไตชั้นนอก จะทำให้อวัยวะสืบพันธุ์เจริญเร็ว เกิดภาวะ ทวิเพศแบบหญิงและทวิเพศแบบชาย
อาการหลักของเนื้องอกชนิด pheochromocytoma คือ ความดันโลหิตสูงและการเปลี่ยนแปลงของเมแทบอไลต์ ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ หายใจถี่ ปวดหัว เหงื่อออก เกิดความเครียด แขนขาสั่น
การนำเลือดและปัสสาวะของผู้ป่วยไปตรวจ สามารถจำแนกเป็น functioning tumor กับ Non-functioning tumors
1. การตรวจ CT : เป็นการตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมหมวกไตอีกขั้นหนึ่ง
2. การตรวจ MRI : มีความสำคัญต่อการตรวจมะเร็งต่อมหมวกไตชนิด pheochromocytoma
3. การตรวจอัลตราซาวด์ : เป็นการตรวจอันดับแรกในการคัดกรองมะเร็งต่อมหมวกไต
1. ผู้ป่วยควรมองโลกในแง่ดีและสร้างความเชื่อมั่นที่จะเอาชนะโรค
2. ผู้ป่วยควรให้ความสำคัญกับการพักผ่อน : หลีกเลี่ยงการออกกำลังอย่างหนักและบาดแผลบริเวณช่องท้อง (แผลที่ไม่ใช่แผลผ่าตัด หมายถึงบาดแผลที่ได้จากการบาดเจ็บภายนอก) เมื่อไตบวมโตค่อนข้างเห็นได้ชัด ควรใช้สายโยงกางเกงรัดแทนเข็มขัด เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ก้อนเนื้อแตก โดยทั่วไปให้ตรวจซ้ำทุกครึ่งปี
3. อาหารการกินของผู้ป่วย : ไม่ทานอาหารรสเค็มเกินไป (รวมทั้งอาหารประเภทหมักดอง) ไม่ทานอาหารรสเผ็ด (รวมทั้งพริก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กุ้ง ปู เป็นต้น) ไม่ทานอาหารที่ปนเปื้อน (รวมทั้งอาหารที่เน่าเสีย อาหารเหลือ เป็นต้น) ไม่ทานอาหารประเภทปิ้งย่าง สำหรับผู้ป่วยที่ไตทำงานไม่สมบูรณ์หรือปัสสาวะเป็นพิษควรระมัดระวังงดทานอาหารประเภทถั่วและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง จำกัดการทานอาหารที่มีโปรตีนจากสัตว์สูง อาหารมันเลี่ยน เป็นต้น
4. ผู้ป่วยควรระวังและป้องกันการติดเชื้อ
5. เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะไตทำงานไม่สมบูรณ์ ควรควบคุมความดันโลหิตสูง
ที่กล่าวมานี้เป็นวิธีการดูแลพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งต่อมหมวกไตในชีวิตประจำวัน ควรดูแลเอาใจใส่อย่างเป็นประจำทุกวัน จึงจะทำได้ง่ายและฟื้นฟูรวดเร็ว
1. การผ่าตัด : เนื้องอกต่อมหมวกไตซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยาที่ค่อนข้างจำกัดสามารถผ่าตัดออกได้ แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีก้อนเนื้องอกค่อนข้างใหญ่ มีการกลับมาเป็นซ้ำและลุกลาม ส่วนใหญ่จะไม่สามารถผ่าตัดออกได้
2. เทคโนโลยีแบบบาดแผลเล็ก : สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดเนื้องอกหรือผ่าตัดแล้วกลับมาเป็นซ้ำและลุกลาม สามารถใช้วิธีการแบบบาดแผลเล็กได้
(1) การทำความเย็น : การทำความเย็นภายใต้การนำของเครื่องอัลตราซาวด์หรือ CT กำจัดเซลล์มะเร็ง มีผลต่อเนื้อเยื่อปกติโดยรอบในวงแคบ และมีความปลอดภัยสูง
(2) การใช้คลื่นความถี่สูง : เป็นการนำเข็มขั้วไฟฟ้าเจาะลงไปในเนื้องอก อาศัยคลื่นความถี่สูง จะทำให้โมเลกุลของเนื้อเยื่อรอบๆ เข็มสั่นสะเทือนและเสียดสีกันจนเกิดความร้อน ทำให้ก้อนเนื้อแข็งตัวและตายไป กำจัดเซลล์มะเร็งที่มีชีวิต
การทานยาหรือฉีดยาจีน ให้ยาจีนไปจัดการกับเซลล์มะเร็ง กำจัดเนื้องอก ปรับสภาพร่างกายให้สมดุล สร้างความต้านทานโรค กำจัดสภาพแวดล้อมที่เซลล์มะเร็งอาศัยอยู่ บรรลุถึงผลลัพธ์ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ระบบการตรวจและการใช้วิธีการแบบเจาะจงและบาดแผลเล็กของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีการมากมาย เช่น การทำความเย็น การใช้คลื่นความถี่สูง การอุดหลอดเลือดเฉพาะจุด การฝังแร่ไอโอดีน การใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด เป็นต้น ซึ่งความก้าวหน้าของเทคโนโลยีนั้นได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยรูปแบบการ “เจาะจงและบาดแผลเล็ก บูรณาการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบัน” ที่ทางโรงพยาบาลคิดค้นขึ้นนั้น มีจุดเด่นคือ บาดแผลเล็ก เห็นผลไว ฟื้นตัวเร็ว ตำแหน่งถูกต้อง แม่นยำ รูปแบบนี้จะกำจัดมะเร็งตรงจุดเฉพาะส่วน เมื่อเปรียบเทียบกับการส่งตัวยาไปยังทุกส่วนของร่างกายแล้ว จะมีข้อดีคือ ไม่ทำลายเนื้อเยื่ออวัยวะโดยรอบที่เป็นปกติ หลีกเลี่ยงข้อเสียของการทำลายภูมิคุ้มกันในร่างกายผู้ป่วยจากการฉายรังสีและเคมีบำบัด ลดความเจ็บปวดของผู้ป่วย ยืดอายุของผู้ป่วยออกไป ยกระดับคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในระยะยาว