เนื่องจากมะเร็งกระเพาะอาหารเป็นมะเร็งทางเดินอาหารที่พบบ่อยและมีอันตรายสูง
การวิจัยพบว่าสาเหตุการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการรับประทาน โรคที่เกี่ยวกับกระเพาะ ฯลฯ ดังนั้นการเข้าใจวิธีการป้องกันการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารมีความสำคัญอย่างยิ่ง
วิธีการป้องกันมะเร็งกระเพราะอาหาร 7 ประการ
แม้ว่าสาเหตุการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารยังไม่ได้รับการระบุอย่างเต็มที่ แต่มีการวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่ามะเร็งกระเพาะอาหารมีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับปัจจัยสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมการรับประทาน รอยโรคก่อนเกิดมะเร็ง พันธุกรรม และปัจจัยอื่น
1. รับประทานผักดองให้น้อยลงหรือเลิกรับประทาน
ในผักดองมีไนไตรท์และเอมีนทุติยภูมิจำนวนมาก และสามารถสังเคราะห์เป็นสารไนโตรซามีนซึ่งเป็นสารประกอบเคมีด้วยบทบาทของสภาพกรดที่เหมาะสมในกระเพาะอาหารหรือบทบาทของแบคทีเรีย สารประกอบเคมีชนิดนี้เป็นสารก่อมะเร็งที่ร้ายแรงมาก ดังนั้น อาหารที่รับประทานควรจะสด และเสนอให้เก็บอาหารไว้ในตู้เย็น
2. เลิกรับประทานหรือรับประทานอาหารรมควันและอาหารทอดน้อยลง
ในปลารมควันและเนื้อรมควันมีสารก่อมะเร็งจำนวนมากมาย อย่างเช่น3-4Benzopyrene ในอาหารรมควัน อาหารปิ้ง ย่างและทอด และน้ำมันประกอบอาหารที่ใช้ซ้ำมีสารก่อมะเร็งประเภทนี้ ดังนั้นควรรับประทานอาหารรมควันและอาหารทอดน้อยลงเท่าที่จะทำได้
3. ไม่รับประทานอาหารที่ขึ้นราหรือเน่าเสียแล้ว
ในชีวิตประจำวันจะพบอาหารที่ขึ้นราหรือเน่าเสียบ่อย การขึ้นราเกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อรา เชื้อราบางอย่างเป็นพิษซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่ร้ายแรงมาก อาหารบางอย่างจะเกิดไนไตรท์และเอมีนทุติยภูมิจำนวนมากด้วยบทบาทของเชื้อราที่เป็นพิษ เมื่อสารเหล่านี้เข้าไปร่างกายคนเราแล้วจะสังเคราะห์เป็นสารไนโตรซามีนในกระเพาะอาหารภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสมและจะทำให้ก่อมะเร็ง
4. ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา
ในควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็งและสารส่งเสริมการเกิดมะเร็งหลายอย่าง อย่างเช่น เบนโซไพรีน (Benzopyrene) โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic aromatic hydrocarbon) ซึ่งเป็น 1 ในสาเหตุการเกิดมะเร็งหลอดอาหารและมะเร็งกระเพาะอาหาร แม้ว่าแอลกอฮอล์ไม่ใช่สารก่อมะเร็ง แต่สุราที่มีระดับดีกรีของแอลกอฮอล์สูงจะระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ตลอดจนจะส่งเสริมการดูดซึมสารก่อมะเร็ง ถ้าทั้งดื่มสุราและสูบบุหรี่ จะยิ่งอันตราย เพราะแอลกอฮอล์จะส่งเสริมการซึมผ่านของเยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างการดูดซึมของสารก่อมะเร็งในควันบุหรี่
5. เสริมสร้างพฤติกรรมการรับประทานที่ถูกต้อง
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา รับประทานอาหารมากเกินไป เร็วเกินไปหรือร้อนเกินไป จะระคายเคืองกระเพาะอาหารซึ่งจะทำลายกระเพาะอาหาร ตลอดจนจะทำให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร นอกจากนี้แล้ว การรับประทานเกลือปริมาณมากเกินไปและความรู้สึกโกรธหรือหงุดหงิดเวลารับประทานอาหารก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับมะเร็งกระเพาะอาหาร
6. รับประทานผักและผลไม้สดให้มากๆ
การรับประทานอาหารที่อุดมด้วยวิตามิน A B E มากและรับประทานโปรตีนปริมาณที่พอสมควร จะช่วยรักษาเยื่อบุกระเพาะอาหารและป้องกันการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร
7. การรักษารอยโรคก่อนเกิดมะเร็งอย่างแข็งขัน
การอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหารชนิดที่มีเยื่อบุฝ่อ (Atrophic gastritis)มีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหารมี 5% -10% เกิดจากโรคแผลในกระเพาะอาหาร อัตราการเกิดมะเร็งของ multiple adenomatous polyps ของกระเพาะอาหารสูงกว่า solitary polyps หากเส้นผ่าศูนย์กลางของติ่งเนื้อ (Polyp) เกิน 2 ซม. ก็แสดงว่ามีแนวโน้มที่ร้ายแรงขึ้น โรคโลหิตจางชนิดขาดวิตามินบี 12 (Pernicious Anemia) ก็มีความเกี่ยวข้องกับมะเร็งกระเพาะอาหารด้วย ดังนั้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคเยื่อบุกระเพาะอาหารอักเสบชนิดที่มีเยื่อบุฝ่อ (Atrophic gastritis) โรคแผลในกระเพาะอาหารและโรคโลหิตจางชนิดขาดวิตามินบี 12 (Pernicious Anemia) ควรไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล เพื่อรักษารอยโรคก่อนเกิดมะเร็งและป้องกันการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร