การเป็นโรคเป็นเรื่องปกติในชีวิต เมื่อความเจ็บป่วยมาสู่เรา ที่เราต้องการที่สุดคือร่างกายและจิตวิญญาณอันดีที่เข้มแข็ง กล้าหาญ และมองโลกในแง่ดี ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กวางโจวให้คำเตือนว่า หากสังเกตว่าผู้ป่วยมีอารมณ์ซึมเศร้า เงียบ ๆ ไร้อารมณ์ เป็นต้น ประการแรก ควรจะให้การสนับสนุนทางด้านจิตใจอย่างเพียงพอ ถ้าจำเป็น ก็ขอความช่วยเหลือจากหมอจิตแพทย์หรือความช่วยเหลือทางด้านจิตใจอื่น ๆ
คุณแซ่ อายุ 60 ปี เป็นผู้บริหารของบริษัทครอบครัวเธอ ร่างกายเธอดีมาก สุขภาพแข็งแรง กระปรี้กระเปร่าและชอบการทำงาน ได้รับความยอมรับจากญาติและเพื่อนๆ ว่าเป็นผู้หญิงที่เก่งและมีความสามารถ ชอบความท้าทาย หลายปีมานี้ เธอพบว่ามีเลือดออกจากช่องคลอด แล้วไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลจึงพบว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก ตอนแรกคุณแซ่ไม่เชื่อและยอมรับไม่ได้ว่าตัวเองเป็นมะเร็งปากมดลูก ในช่วงเวลาที่รักษาที่โรงพยาบาล เธอเงียบ ไม่ค่อยพูดคุย หน้านิ่งๆ ไร้อารมณ์และไม่ค่อยมีความอยากอาหาร ออกจากโรงพยาบาลยังไม่เกินครึ่งปี เธอก็ฆ่าตัวตาย จากครอบครัวที่เธอรักและธุรกิจที่เธอได้ใช้ความพยายามมาตลอดชีวิตไป
ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กวางโจวกล่าวว่า บุคคลที่ยิ่งชอบความท้าทาย ยิ่งยอมรับการทำลายจากความเจ็บป่วยไม่ได้ ผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่ได้ทราบว่าตัวเองเป็นมะเร็งแล้ว จะซึมเศร้า กังวล ภูมิต้านทานลดลง ดังนั้นจึงมีการบอกกล่าวว่าผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่ไม่ใช่ตายเพราะโรคมะเร็ง แต่ตายเพราะการฆ่าตัวเองหรือโรคแทรกซ้อนอื่นต่างหาก การวิจัยพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งมักจะเกิดปัญหาทางจิตใจในแต่ละระดับ ซึ่งมีอาการหลากหลายตามอายุ อาชีพ การศึกษา ฐานะทางสังคม ครอบครัวและนิสัยของแต่ละคน โดยรวมแล้วหลังจากพบว่าเป็นมะเร็ง 1 วันถึง 1 ปี มีผู้ป่วยประมาณ 90% จะเกิดความกังวล ความซึมเศร้า ความกลัว และความสิ้นหวัง ตลอดจนฆ่าตัวตาย เป็นต้น การดูแลจิตใจของผู้ป่วยมะเร็งดี ๆ และให้ผู้ป่วยหลุดพ้นจากภาวะซึมเศร้าจะมีความสำคัญมากกว่าวิธีการฟื้นตัวแบบอื่น ๆ ในระดับหนึ่ง วิธีดังต่อไปนี้จะสามารถปรับปรุงอารมณ์ของผู้ป่วยให้ดีขึ้นและดูแลจิตใจของผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ
สภาพแวดล้อมของบ้านที่อบอุ่นทำให้สบายใจ หลังจากผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลและกลับบ้าน มักจะไร้อารมณ์ ครอบครัวควรตกแต่งห้องนอนของผู้ป่วยตามที่เขาชอบ ใช้สีอ่อนที่สวยงาม อย่างเช่น เปลี่ยนม่าน ผ้าปูที่นอนที่สีสดใส เป็นต้น ซึ่งจะทำให้รู้สึกเบิกบานใจ
ปรุงอาหารอย่างพิถีพิถันให้ผู้ป่วยรับประทานแล้วอิ่มใจ ในช่วงฟื้นตัว ผู้ป่วยอาจจะอาเจียน ไม่มีความอยากอาหารหรือมีอาการอื่น ครอบครัวควรพยายามส่งเสริมความอยากอาหารของผู้ป่วย อาหารไม่ควรมัน รสชาติต้องอร่อย มีทั้งผักและเนื้อ อาหารไม่ควรจำเจและเลี่ยนเกินไป ควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย
เพื่อนคุยกับผู้ป่วย ให้กำลังใจ ให้ผู้ป่วยไม่มีความรู้สึกเหงา หลังการผ่าตัด เคมีบำบัด สภาพจิตวิญญาณผู้ป่วยมักจะไม่ค่อยดี ครอบครัวควรอยู่ข้าง ๆ กัน ถ้าผู้ป่วยมีเพื่อนสนิท ควรให้เพื่อนมาเยี่ยมบ่อย ๆ บางทีการสนับสนุนของเพื่อนมีความสำคัญมากกว่าครอบครัว
คนที่เป็นโรคให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ให้หมดความรู้สึกเหงา ผู้ป่วยมะเร็งสามารถเข้าร่วมชมรมการฟื้นตัวได้ มีผู้ป่วยจำนวนมากที่มีสถานการณ์เดียวกันและจะเป็นเพื่อนกันได้ ผู้ป่วยสามารถให้กำลังใจและการปลอบใจซึ่งกันและกัน ซึ่งสามารถช่วยสร้างความมั่นใจในการต่อสู้กับโรค
หมอจิตแพทย์ให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือ เมื่อผู้ป่วยเกิดภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง ทางที่ดีที่สุดก็คือไปหาหมอจิตแพทย์ และได้รับการรักษาโรคซึมเศร้า
หมอประจำตัว กรุณาเป็นเพื่อนดีของฉัน ผู้ป่วยควรติดต่อกับหมอประจำตัวบ่อย ๆ และตรวจร่างกายประจำตามเวลากำหนดเพื่อที่จะสามารถค้นพบการกำเริบของโรคหรือการแพร่กระจาย
โดยเปรียบเทียบกรณีหลากหลายแล้ว โรงพยาบาลโรคมะเร็งสมัยใหม่กวางโจว พบว่า ผู้ป่วยที่มีอารมณ์ร่าเริง มองโลกในแง่ดี เผชิญหน้ากับมะเร็งด้วยความกล้าหาญ จะ มีชีวิตอยู่ต่อได้นานกว่า คุณภาพชีวิตจะอยู่ในระดับสูง สภาพการพยากรณ์โรคก็ดีมาก จนกระทั่งผู้ป่วยบางคนได้รับการผ่าตัด เคมีบำบัดแล้ว ญาติพวกเขาก็ยังไม่ทราบว่าพวกเขาเป็นผู้ป่วยมะเร็ง ส่วนผู้ป่วยมะเร็งที่ซึมเศร้าและไร้อารมณ์ทุกวัน สภาพการพยากรณ์โรคของพวกเขาส่วนใหญ่จะไม่ค่อยดีเท่าที่คาดหวัง โปรดจำไว้ว่า ในเวลาที่สำคัญ ภาวะซึมเศร้าจะร้ายแรงกว่ามะเร็ง