เราจะดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีอาการคลื่นไส้และอาเจียนได้อย่างไร

อาการคลื่นไส้และอาเจียนเป็นอาการที่พบมากที่สุดของผู้ป่วยโรคมะเร็ง เนื่องจากกระบวนการรักษาโรคมะเร็งมีผลกระทบต่อระบบการย่อยอาหารบ้างไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับมะเร็งในระบบย่อยอาหาร จะมีผลกระทบมากเป็นพิเศษ ผู้ป่วยบางรายมีอาการคลื่นไส้อาเจียนอาจเนื่องมาจากการรักษาด้วยรังสีหรือเคมีบำบัด ผู้ป่วยมีอาการไม่อยากอาหาร คลื่นไส้และอาเจียนจะทำให้เกิดภาวะขาดน้ำและความไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย อาจทำให้เกิดปัญหาของหลอดลมและการหายใจ ผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้และอาเจียนมีความวิตกกังวล กลัว ซึมเศร้า ดังนั้นการดูแลบรรเทาอาการผู้ป่วยเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสุขกายสบายใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ

การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง

การลดอาการคลื่นไส้อาเจียนสามารถใช้วิธีการดังต่อไป

1. สามารถใช้ยาตอนท้องว่างหรือก่อนนอน หากคาดว่าหลังจากให้เคมีบำบัดแล้วอาจจะอาเจียน ควรงดอาหารก่อนเข้ารับการรักษา หากมีเพียงแค่รู้สึกคลื่นไส้ การกินอะไรเล็กน้อยก่อนทำการรักษา จะช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ได้

2. ผู้ป่วยควรลดความวิตกกังวลในจิตใจ ผู้ป่วยที่แบกรับภาระทางความคิด หรือความกลัวไว้ จะทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองรุนแรงของทางเดินอาหาร

3. ค่อยๆปรับเปลี่ยนอุปนิสัยในการรับประทานอาหารโดยทานในปริมาณน้อยแต่หลายมื้อ ทานให้ช้าลง ถึงแม้จะต้องกินให้มากขึ้นแต่ก็ไม่ควรฝืนตนเอง

4.สภาพร่างกายของผู้ป่วยเอื้ออำนวย ก่อนและหลังรับประทานอาหารควรเดินเล่นอย่างพอเหมาะ นอกจากนี้ยังสามารถพักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ ดูหนัง ฟังเพลง พูดคุยกับเพื่อนหรือคนในครอบครัวเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากโรค เมื่อผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ ต้องทำใจให้สบายและหายใจเข้าออกช้าๆ

5. เมื่อเกิดการอาเจียนขณะที่นอนอยู่ ควรนอนตะแคงเพื่อป้องกันการสำลัก ผู้ดูแลควรช่วยเหลือผู้ป่วยให้บ้วนปากเพื่อรักษาความสะอาดในช่องปากของผู้ป่วย ควรใส่ใจกับปริมาณและลักษณะของการอาเจียน แล้วจดบันทึก เมื่อจำเป็นสามารถนำมาทดสอบในห้องปฏิบัติการ

6. ถ้าผู้ป่วยมีอาการอาเจียนต่อเนื่องหรืออาเจียนแบบพุ่ง ให้รีบบอกแพทย์ทันที ซึ่งในกรณีแรกโดยมากจะเกิดจากลำไส้อุดตัน กรณีหลังพบมากในผู้ป่วยที่มีอาการเยื่อหุ้มสมองระคายเคือง ทั้งสองอาการนี้ต้องรีบปรึกษาแพทย์และรักษาในเวลาที่เหมาะสม

อาการคลื่นไส้และอาเจียน จะทำอย่างไรไม่ให้ขาดสารอาหาร

อาการคลื่นไส้อาเจียนตามมาด้วยความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารหรือความอยากอาหารลดลง ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยควรให้พวกเขาเอาชนะความตื่นเต้น ความวิตกกังวลหงุดหงิดและอารมณ์ในเชิงลบเสียก่อน รวมถึงความเข้าใจในเรื่องสารอาหารสำหรับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยมีความแข็งแรง เพื่อให้มั่นใจว่าได้บริโภคสารอาหารอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารได้ดีในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่าการรักษาได้รับการพัฒนาที่ดีขึ้น เพื่อรักษาภูมิคุ้มกันร่างกายของผู้ป่วยไม่ให้ลดลง ควรให้ความสนใจไปยังอาหารที่รับประทาน สามารถบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน เสริมการดูดซึมสารอาหาร

1.อาหารปริมาณน้อยแต่หลายมื้อ เพื่อลดภาระในการทานอาหาร

2.อาหารไม่ควรร้อนเกินไป ควรจะให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่เย็นแล้วหรือมีอุณหภูมิห้องเพื่อลดกลิ่นของอาหาร

3.อาหารในแต่ละมื้อควรมีหลากหลาย เพื่อให้ผู้ป่วยเลือกรับประทานและเพิ่มความอยากอาหารให้แก่ผู้ป่วย

4.ควรรับประทานอาหารที่แห้งและมีแยกน้ำซุปออกมา

5.ควรทานอาหารเหลวและมีรสจืด หลีกเลี่ยงอาหารที่หวาน มัน เผ็ด และอาหารที่มีกลิ่นฉุน

6.สามารถทานลูกอมที่มีกลิ่นของมะนาวและมิ้นท์ได้

7.ดื่มเครื่องดื่มที่มีความสด เช่น น้ำแอปเปิ้ล น้ำส้มคั้น น้ำชา เป็นต้น

8. เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดได้บริโภคอาหารที่ครบถ้วนในแต่ละวัน ต้องไม่ควรทานอาหารเช้าก่อนเวลา 6 โมงและอาหารค่ำหลังจากเวลาหนึ่งทุ่ม เพื่อยืดเวลาในในการกินยาและการทานอาหารออกไป เพื่อลดปฏิกิริยา และเป็นการเสริมสร้างการดูดซึมสารอาหาร

9.ในกรณีของผู้ป่วยที่มีการอาเจียนบ่อย ควรระวังการให้ทานอาหารเหลว หากจำเป็น ต้องให้ของเหลวทางหลอดเลือดดำเพื่อรักษาความสมดุลของน้ำและเกลือแร่

มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งเต้านม
มะเร็งปอด
มะเร็งตับ
มะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งกระดูก
มะเร็งผิวหนัง
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งตับอ่อน
มะเร็งหลอดอาหาร
มะเร็งสมอง
มะเร็งช่องปาก
มะเร็งท่อน้ำดี
มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
มะเร็งคอ
มะเร็งถุงน้ำดี
มะเร็งช่องคลอด
มะเร็งองคชาติ
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
มะเร็งโพรงจมูก
มะเร็งลำไส้เล็ก
มะเร็งไต
มะเร็งทวารหนัก
มะเร็งอัณฑะ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Multiple myeloma
มะเร็งต่อมหมวกไต
มะเร็งกระดูกสันหลัง
มะเร็งลำไส้
มะเร็งตา
โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน
มะเร็งลิ้น
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งรังไข่
มะเร็งต่อมไทรอยด์
อาการโรคมะเร็ง การวินิจฉัยโรคมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็ง
ผู้สื่อข่าวสำนักพิมพ์ไทยรัฐประเทศไทย เดินทางไปสัมภาษณ์โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวถึงเมืองกวางเจา และเห
โครงการ 2,000,000 บาท ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งของมูลนิธิบ่ออ้าย (ประเทศไทย)
งานมอบรางวัล “ผู้กล้าสู้มะเร็งประจำเดือนมีนาคม”
ผู้บริหารของโรงพยาบาลเราได้พบคุณห่าวซีซานสมาชิกสถาบันด้านวิศวกรรมแห่งประเทศจีน เพื่อเสาะหาความร่วมมือและการพัฒนา
กลุ่ม MDT ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีสุขภาพที่แข็งแรงและกลับมามีความมั่นใจอีกครั้ง
นำโรงพยาบาลเข้าสู่มาตรฐาน JCI ยกระดับให้โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว
สุขไปกับชีวิตสายการแพทย์ เติมเต็มคุณค่าของชีวิต
การฝังแร่ไอโอดีน เสียงสวรรค์ของผู้ป่วยมะเร็ง --การประชุมใหญ่ด้านเทคโนโลยีการรักษามะเร็งด้วยการฝังแร่ไอโอดีนครั้งที่ 13 ณ ประเทศจีน