การดูแลผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปอดระยะสุดท้ายเป็นสิ่งสำคัญมาก เมื่อมะเร็งปอดลุกลามถึงระยะสุดท้ายการรักษาย่อมยากยิ่งกว่าระยะแรก ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงวิธีการดูแลผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้าย ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าในการดูแลชีวิตประจำวันของผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้ายควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. รักษาสภาพแวดล้อมภายในอาคารให้สวยงามและสะดวกสบาย เตียงต้องแห้งและสะอาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ จะต้องช่วยพลิกตัวให้เป็นเวลา ให้อาบน้ำอุ่นเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ
2. การวางแผนด้านโภชนาการที่เหมาะสม ผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้ายโดยทั่วไปมีปัญหาการขาดสารอาหาร ดังนั้นอาหารควรมีความหลากหลาย โดยยึดหลักรสจืดและมีประโยชน์ทางโภชนาการสูง อาจต้องให้ผู้ป่วยกินผักสดและผลไม้มากขึ้น ลดการกินอาหารรสจัด นอกจากให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน ยังเป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ผู้ป่วยอีกด้วย
3. คอยสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกและสภาพจิตใจของผู้ป่วย ผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายมักจะรู้สึกหมดหวังและดูถูกตนเองได้ง่ายๆ สูญเสียความกล้าหาญและความเชื่อมั่นในการใช้ชีวิต เราต้องคอยให้กำลังใจผู้ป่วยอยู่เสมอ คอยปลอบประโลมทางด้านจิตใจ ขจัดความหวาดกลัวของพวกเขาที่มีต่อความตาย สร้างความเชื่อมั่นที่จะเอาชนะโรคให้กับผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้าย
4. ส่งเสริมให้ผู้ป่วยออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมบ้างเท่าที่ร่างกายจะเอื้ออำนวย ทำให้พวกเขาสามารถกลับเข้าสังคมได้เร็วขึ้น แต่ต้องระวังอย่าให้ออกกำลังที่หักโหม ทำให้เหนื่อยง่าย และไม่เอื้อต่อการฟื้นฟูสภาพร่างกาย
5. คอยสังเกตอาการของผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้ายอย่างใกล้ชิด หากไอมีเสมหะ ควรให้ผู้ป่วยขากออกมาเอง หากจำเป็นควรใช้เครื่องดูดเสมหะช่วย การนอนหลับพักผ่อนต้องระวังให้นอนตะแคงข้าง เพื่อป้องกันเสมหะลงคอทำให้หายใจไม่ออก หากพบว่าผู้ป่วยไม่พูดไม่จากะทันหัน สีหน้าเปลี่ยนไป หยุดหายใจ ต้องรีบแจ้งแพทย์ทราบเพื่อช่วยเหลือฉุกเฉิน
6. บรรเทาอาการปวดทันเวลา สำหรับมะเร็งปอดระยะสุดท้ายที่สร้างความเจ็บปวดให้ผู้ป่วย ควรให้ยาแก้ปวดระงับความเจ็บปวดแก่พวกเขา อย่ากลัวว่ายาแก้ปวดที่มีสารมอร์ฟีนจะทำให้เสพติดยา การบรรเทาอาการปวดเป็นวิธีการที่สำคัญที่จะช่วยให้พวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายมีบทบาทสำคัญต่อการรักษาและการฟื้นฟูอย่างมาก การดูแลผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้ายในเบื้องต้นให้ดีนั้น มีผลช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้ ทำให้มีชีวิตนานขึ้น นำมาซึ่งกำลังใจและแรงบันดาลใจอย่างมากแก่ผู้ป่วย