สำหรับหมอแล้วครอบครัวของผู้ป่วยคือผู้ช่วยที่ดีที่สุด แต่การเป็นครอบครัวที่ดีของผู้ป่วยนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย พวกเขาต้องเสียสละอย่างมาก ต้องทำอย่างไรจึงจะเป็นครอบครัวที่ดีของผู้ป่วยได้ ครอบครัวจะต้องตระหนักถึงหลัก 5 ข้อดังต่อนี้ :
ข้อ 1 : ปรับสภาพจิตใจของตัวเอง
เมื่อคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็ง ครอบครัวของผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็ต้องรู้สึกตกใจอย่างมากด้วยเช่นกัน ต้องประสบช่วงเวลาอันตึงเครียด วิตกกังวลหรือกระทั่งความหวาดกลัว คิดถึงอนาคตข้างหน้าต้องดูแลผู้ป่วย มีผลกระทบต่อการเรียน การทำงาน รวมถึงต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ครอบครัวเองก็มักจะต้องแบกรับแรงกดดันอันหนักอึ้งนี้ ดังนั้นคนในครอบครัวมีความจำเป็นต้องปรับสภาพจิตใจของตัวเอง ยอมรับความจริง มีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นต่อภาระที่เพิ่มมากขึ้น และต้องเชื่อว่าหลังจากรับการรักษาแล้วผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่จะมีอาการที่ดีขึ้น มีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น
ข้อ 2 : .มอบความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจ การปลอบประโลมและการดูแลใส่ใจให้แก่ผู้ป่วย
เมื่อคนในครอบครัวดูแลผู้ป่วยมักจะต้องเล่นบทบาทของจิตแพทย์ ซึ่งสำคัญมาก เมื่อผู้ป่วยมีความกังวล ข้อสงสัย ความกลัว ฯลฯ ผู้ที่จะเข้าใจได้มากที่สุดคือบุคคลที่ใกล้ชิดอย่างคนในครอบครัว ความต้องการบางอย่างที่ผู้ป่วยต้องการเป็นพิเศษ ครอบครัวควรเข้าใจและทำให้เขาพอใจ อย่าใจร้อนกับผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอ่อนไหวต่อการใช้ชีวิตโดดเดี่ยวเป็นอย่างมาก มักจะรู้สึกว่าตนเองถูกทอดทิ้ง หากไม่มีการสนับสนุนจากคนในครอบครัว ผู้ป่วยจะรู้สึกขาดที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ทำให้สูญเสียกำลังใจในการรักษา
ข้อ 3 : พูดคุยสื่อสารกับแพทย์และพยาบาลเจ้าของไข้ให้มาก
คนในครอบครัวควรพูดคุยกับแพทย์ประจำตัวผู้ป่วยและพยาบาลผู้เชี่ยวชาญให้มาก เพื่อเข้าใจแผนการรักษาของแพทย์และการเตรียมการ สนับสนุนให้กำลังใจผู้ป่วยเข้ารับการรักษา ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ในเรื่องของการเตรียมความพร้อมก่อนและหลังการรักษา มีความเข้าใจถึงอาการและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังการรักษา สังเกตอาการผู้ป่วยและรายงานให้แพทย์ทราบอย่างถูกต้องและทันเวลา เพื่อสร้างการสื่อสารที่ดีระหว่างแพทย์และผู้ป่วย
ข้อ 4:การดูแลชีวิตประจำวันของผู้ป่วย
ครอบครัวจำเป็นต้องเตรียมการอาหารกิน ชีวิตประจำวัน และการออกกำลังฟื้นฟูให้ผู้ป่วยอย่างเหมาะสม มั่นศึกษาความรู้และทักษะในการดูแล สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ไม่ว่ากลางวันหรือกลางคืนควรอยู่เคียงข้างผู้ป่วยให้มากขึ้น ให้ความช่วยเหลือ ทั้งการป้อนข้าว ประคองตัว การอาบน้ำ และรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยในระยะฟื้นตัว ครอบครัวต้องปลูกฝังให้พวกเขามีความคิดที่จะช่วยเหลือตัวเองได้ ความใส่ใจที่มีมากเกินไปอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแย่ หรือทำให้พวกเขามีจิตใจพึ่งพาผู้อื่น ซึ่งจะเป็นผลกระทบต่อความสามารถในการปรับตัวให้เข้าชีวิตประจำวันของผู้ป่วย
ข้อที่ 5:ใส่ใจสุขภาพกายและใจของตนเอง ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
ขณะที่คนในครอบครัวให้การดูแลผู้ป่วย เวลาเดียวกันก็ต้องวุ่นกับชีวิตประจำวันของตนเอง ต้องแบกรับภาระทางจิตใจมากมาย ภายใต้แรงกดดันระยะยาวนี้ คนในครอบครัวอาจจะรู้สึกเหนื่อยหรือขาดกำลังใจ อารมณ์ไม่มั่นคง ดังนั้นหากจะดูแลผู้ป่วยให้ดี คนในครอบครัวเองต้องทานอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนให้เพียงพอด้วย ทุกคนในครอบครัวต้องสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน เพื่อผู้ป่วยและครอบครัว ต้องไม่มีการตำหนิกันและกัน ไม่ทะเลาะ ควรยับยั้งชั่งใจและเสริมสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน ในความเป็นจริงทุกครอบครัวเมื่อพบกับความลำบากยิ่งเป็นการเพิ่มความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น การเผชิญหน้ากับความลำบากร่วมกันจะช่วยให้ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น