ความเข้าใจผิดประการที่ 1:ยาแก้ปวดสามารถบรรเทาอาการปวดได้เพียงส่วนหนึ่ง
ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยควรมีความชัดเจน การบรรเทาอาการปวดเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย ความต้องการขั้นต่ำของยาแก้ปวดคือการทำให้นอนหลับได้โดยไม่มีอาการเจ็บปวด ซึ่งความต้องการที่จะปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในความหมายที่แท้จริงนั้น ประกอบด้วย นอนหลับโดยไม่ปวด พักผ่อนโดยไม่ปวด ดำเนินชีวิตโดยไม่ปวด
ความเข้าใจผิดประการที่ 2:ผลของการใช้ยาประเภทสารเข้าฝิ่น ในระยะยาว จะทำให้เกิดการ “เสพติด” ได้ การเพิ่มปริมาณของยา บ่งบอกถึงการเสพติดแล้ว
อาการเสพติดที่ว่า คือการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ความต้องการที่จะใช้ยาจะเพิ่มสูงขึ้น เป้าหมายเพื่อ "ความรู้สึกสบาย" แต่การใช้ยาบรรเทาอาการปวดไม่ได้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้ ความต้องการยาที่เพิ่มขึ้นไม่ได้เป็นสัญญาณของการเสพติด เมื่ออาการเริ่มทุเลา เจ็บปวดลดลง ก็สามารถลดปริมาณการใช้ยาได้
ความเข้าใจผิดประการที่ 3:ยาฉีด (เช่น pethidine) มีประสิทธิผลดีกว่ายาเม็ด
ในความเป็นจริงยาแก้ปวดแบบเม็ดทำให้เสพติดน้อยกว่าแบบการฉีดยา สาร pethidine จะมีฤทธิ์ระงับปวดเพียง 1 ใน 10 ของมอร์ฟีนเท่านั้น และจะออกฤทธิ์แค่ 2-4 ชั่วโมง นอกจากนี้การให้ยาโดยการฉีดต้องมีความเจ็บปวดอยู่แล้ว การใช้ในระยะยาวอาจทำให้มีผลข้างเคียงต่อระบบประสาท จึงไม่ควรนำมาใช้เพื่อรักษาอาการปวดมะเร็งและรักษาอาการปวดเรื้องรัง
(หมายเหตุ: ในความเป็นจริง ให้พิษต่อร่างกาย ให้ค่อยได้ผลในการแก้ปวด และ WHO ไม่อนุญาตให้ใช้ยา pethidine ในการระงับอาการปวดจากโรคมะเร็ง)
ความเข้าใจผิดประการที่ 4:หากทนได้ก็ทน เมื่อปวดรุนแรงจึงค่อยใช้ยาแก้ปวด
ในความเป็นจริง ใช้ยาแก้ปวดในเวลาที่เหมาะสม และตรงเวลาจะปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากกว่า และมีความจำเป็นใช้ยาก็เป็นปริมาณที่น้อย ผู้ป่วยที่ไม่ใช้ยาแก้ปวดในระยะยาว มีแนวโน้มที่จะวิตกกังวล กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ทำให้มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และยังทำให้ร่างกายผอมแห้ง อ่อนเพลีย ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทนต่อการรักษาโรคในเบื้องต้นได้ (เช่น การผ่าตัด การฉายรังสี และเคมีบำบัด) การใช้ยาแก้ปวดในปริมาณที่เหมาะสม ไม่เพียงแต่จะช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย แต่ยังรวมถึงหลีกเลี่ยงระบบประสาทรับรู้ผิดปกติ อันเกิดจากความเจ็บปวดในระยะยาวอีกด้วย
ความเข้าใจผิดประการที่ 5 : การใช้ยาแก้ปวดประเภทไม่มีสารเข้าฝิ่น จะปลอดภัยกว่า
สำหรับผู้ป่วยมะเร็งเรื้อรังที่ต้องใช้ยาแก้ปวดในระยะยาว การใช้ยาประเภทสารเข้าฝิ่น (เช่นมอร์ฟีน) จะปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากกว่า ผลข้างเคียงของยาไม่ใช่กลุ่มสารเข้าฝิ่นจะทำให้เกิดการมองข้ามได้ง่าย และฟทธิ์ของมันก็มี “ประสิทธิผลที่จำกัด” สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดมะเร็งปานกลางจนถึงรุนแรง ยาในกลุ่มสารเข้าฝิ่นจะให้ประสิทธิภาพที่ยาไม่สามารถแทนกันได้
ความเข้าใจผิดประการที่ 6: ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ใช้มอร์ฟีนหมายความว่ากำลังเผชิญหน้ากับความตาย
ผู้ป่วยบางคนคิดว่าการใช้ยาแก้ปวด หมายถึง อาการอยู่ในระยะสุดท้ายแล้วหรือกระทั่งคิดว่ากำลังเผชิญกับความตายแล้ว ทำให้ขาดกำลังใจในการรักษาและมีชีวิตอยู่รอดต่อไป ในความเป็นจริงของการใช้ยาแก้ปวดไม่ได้กำหนดโดยขึ้นกับระยะเวลาสั้นยาวที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่รอดของผู้ป่วย แต่การตัดสินใจขึ้นอยู่กับระดับของความเจ็บปวด ความเจ็บปวดเป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคมะเร็ง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นในมะเร็งระยะต่างๆ และจากสถิติในทางการรักษาชี้ว่า การใช้ยากลุ่มสารเข้าฝิ่นอย่างถูกต้อง จะช่วยยืดชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งได้ เพราะยาแก้ปวดช่วยให้ผู้ป่วยไม่มีอาการปอด ช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น มีความอยากอาหารมากขึ้น และทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น