ถ้าหากดูแค่จากอาการของมะเร็งกล่องเสียงแล้วบอกว่าเป็นมะเร็งกล่องเสียงนั้นก็เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แต่การวินิจฉัยมะเร็งกล่องเสียงก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกัน มีเพียงการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องเท่านั้น คุณหมอจึงจะสามารถประเมินอาการของผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุม และให้ผู้ป่วยได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ดังนั้นแล้ว หากมีอาการของมะเร็งกล่องเสียง ผู้ป่วยควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อดำเนินการวินิจฉัยมะเร็งกล่องเสียงทันที
1.การตรวจบริเวณลำคอ : การตรวจนี้รวมไปถึงการสัมผัสและการดูลักษณะภายนอกของลำคอกับต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอ การคลำต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอ ควรเริ่มไล่ตั้งแต่บริเวณขากรรไกร กระดูกไฮออยด์ (hyoid bone) ไครโคไทรอยด์ เมมเบรน (cricothyroid membrane) หลอดลม กระดูกสันอกส่วนบนและกล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ทั้งสองด้าน เป็นต้น เพื่อให้ชัดเจนในตำแหน่งและขนาดของต่อมน้ำเหลืองที่บวมโต เมื่อกลืนแล้วรู้สึกมีสิ่งของผิดปกติในลำคอ สามารถใช้วิธีนี้ตรวจได้
2. การส่องกล้องตรวจกล่องเสียง : การตรวจโดยใช้กระจกส่องในคอดูกล่องเสียงเป็นวิธีการตรวจที่ใช้บ่อยและง่ายที่สุด หากไม่พอใจกับผลการตรวจโดยวิธีนี้หรือไม่สามารถตรวจทางพยาธิวิทยาได้โดยง่าย สามารถเลือกใช้การส่องกล้องเข้าไปดูโดยตรงและการใช้กล้องแบบอ่อนซึ่งสามารถดูสภาพการรุกรานของมะเร็งได้ชัดเจนขึ้น อีกทั้งสามารถนำเซลล์ที่สงสัยว่ามีความผิดปกติไปตรวจทางพยาธิวิทยาได้ หากรู้สึกว่ามีอาการเจ็บหูด้านใน สามารถใช้การตรวจวิธีนี้เพื่อยืนยันอาการของโรคได้ชัดเจนขึ้น
3. การตรวจจากภาพถ่ายทางการแพทย์ :
(1) การตรวจโดยการเอกซเรย์ : ภาพถ่ายเอกซเรย์กล่องเสียงด้านข้างและภาพถ่ายแนวตรงสามารถแสดงให้เห็นถึงจุดตำแหน่ง ขนาด และรูปร่างลักษณะที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยาในภาพรวมได้ชัดเจน รวมไปถึงสภาวะการเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อนบริเวณหลอดลมหรือเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณกระดูกคอ เมื่อจำเป็นสามารถตรวจด้วยวิธีนี้ได้
(2) การตรวจด้วย CT หรือ MRI : การตรวจ CT หรือ MRI มีส่วนช่วยในการตรวจดูขอบเขตการเติบโตของมะเร็งในกล่องเสียง มีการรุกรานมาด้านนอกหรือไม่และระดับของการลุกลาม อีกทั้งสภาวะการลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองส่วนคอ การตรวจวิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงที่มีการลามไปยังต่อมน้ำเหลืองและเป็นระยะสุดท้าย ซึ่งจะมีส่วนช่วยเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะกับผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงระยะสุดท้ายจะมีส่วนช่วยให้คุณหมอสามารถประเมินสภาพอาการของผู้ป่วยได้ทุกส่วน และเป็นการยกระดับผลลัพธ์ทางการแพทย์ให้สูงขึ้น
(3) การตรวจอัลตราซาวด์ : ข้อดีของการตรวจชนิดนี้คือไม่ทำร้ายร่างกาย สะดวก แม่นยำ ราคาไม่สูงและสามารถตรวจซ้ำได้ สามารถใช้ตรวจดูปริมาณต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ ตำแหน่งและความสัมพันธ์กับเซลล์รอบข้าง และยังเป็นวิธีที่สามารถใช้ตรวจได้หลังจากผ่าตัดหรือการฉายแสงวิธีหนึ่ง
โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเตือนว่า หากผลวินิจฉัยออกมาว่าเป็นมะเร็งกล่องเสียง ก็ไม่ต้องเป็นกังวลมากเกินไป เพราะเทคเทคนิคสำหรับโรคมะเร็งกล่องเสียงในปัจจุบันพัฒนาไปมาก ทำให้ผู้ป่วยได้รับผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นได้ สำหรับผู้ป่วยนั้นการกระตือรือร้นให้ความร่วมมือกับคุณหมอและการทำจิตใจให้ปลอดโปร่งถือเป็นกุญแจสำคัญในการดูแลอาการป่วยของตนเองได้