การตรวจวินิจฉัยมะเร็งองคชาตในระยะแรกนั้น มีส่วนช่วยอย่างมากในการยกระดับผลลัพธ์ทางการแพทย์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยทางโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวได้นำเข้าอุปกรณ์การตรวจอันทันสมัยในระดับสากล ทั้งยังพร้อมไปด้วยแพทย์ที่มีประสบการณ์มากมายที่จะทำการตรวจให้กับคุณ ซึ่งทำให้การตรวจวินิจฉัยมะเร็งองคชาตมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น
หากคุณมีอาการที่น่าสงสัยว่าจะเป็นมะเร็งองคชาต แพทย์จะทำการตรวจคุณด้วยวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีตามด้านล่างนี้ เพื่อตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัดได้ตั้งแต่ระยะแรก แต่หากมะเร็งองคชาตเกิดการลุกลามแล้วนั้น วิธีการตรวจตามด้านล่างนี้จะสามารถช่วยให้คุณเลือกเทคนิคทางการแพทย์ที่ดีที่สุดได้ :
1. การตรวจวินิจฉัยโดยการคลำ : แพทย์ที่มีประสบการณ์มากมายจะทำการคลำตรวจองคชาตของคุณ เพื่อตรวจดูขนาดของก้อนเนื้อที่องคชาต ตำแหน่ง ระดับการเคลื่อนไหว รวมถึงระดับการรุกรานไปยังเนื้อเยื่อรอบข้าง เป็นต้น โดยการตรวจวินิจฉัยต่อมน้ำเหลืองข้างขาหนีบทั้งสองข้างนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ซึ่งจะสามารถตรวจพบว่ามีการลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองหรือไม่ หากคลำตรวจแล้วพบว่าปกติ ก็ต้องทำการตรวจในขั้นต่อไป เพื่อที่จะวินิจฉัยได้อย่างแน่ชัด
2. การตรวจวินิจฉัยโดยการใช้นิ้วตรวจลำไส้ตรงพร้อมกับการคลำทางหน้าท้อง ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการทำความเข้าใจสภาพของก้อนเนื้องอกที่รุกล้ำไปยังฝีเย็บและก้อนเนื้อที่อุ้งเชิงกราน เป็นต้น
3. การตรวจวินิจฉัยจากภาพถ่ายทางการแพทย์
(1) การตรวจอัลตราซาวด์ : การตรวจอัลตราซาวด์สามารถประเมินเนื้องอกปฐมภูมิได้ในระดับหนึ่ง สามารถวินิจฉัยว่ามีการรุกล้ำไปยังกล้ามเนื้อฟองน้ำขององคชาตหรือไม่ แต่สำหรับการวินิจฉัยว่าก้อนเนื้องอกที่ส่วนหัวขององคชาตมีการรุกล้ำไปยังเนื้อเยื่อเกี่ยวพันใต้ผิวหนังหรือไปยัง corpus spongiosum หรือไม่นั้น จะวินิจฉัยได้ยาก
(2) การตรวจ CT และ MRI : เมื่อการตรวจอัลตราซาวด์ไม่สามารถบอกได้แน่ชัด ก็สามารถใช้การตรวจ MRI ได้ โดยเฉพาะเมื่อเนื้องอกมีการรุกล้ำไปยังกล้ามเนื้อฟองน้ำขององคชาต ซึ่งจะสามารถวิเคราะห์แยกแยะระดับความลึกที่รุกล้ำได้ และมีส่วนช่วยในการแบ่งระยะของมะเร็งอีกด้วย ส่วนการตรวจ CT โดยหลักแล้วควรใช้สแกนบริเวณขาหนีบ อุ้งเชิงกราน รวมถึงวินิจฉัยว่ามีการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไปหรือไม่
(3) การตรวจโดยการถ่ายภาพรังสีระบบน้ำเหลือง : มีส่วนช่วยในการตรวจวินิจฉัยมะเร็งองคชาตที่มีการลุกลามในระดับหนึ่ง โดยสามารถฉีดสารรังสีผ่านตำแหน่งท่อน้ำเหลืองบริเวณหลังเท้า องคชาต สายโยงลูกอัณฑะ เป็นต้น เพื่อตรวจดูจุดที่เกิดการลุกลาม
4. การตรวจชิ้นเนื้อ
ก่อนที่จะเริ่มขั้นตอนต่างๆนั้น แพทย์จะทำการตรวจชิ้นเนื้อที่จุดเกิดมะเร็งรวมถึงต่อมน้ำเหลืองที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนอกจากจะได้ทราบผลทางพยาธิวิทยาแล้ว ยังได้ทราบถึงระดับความลึกในการรุกล้ำของมะเร็ง อีกทั้งมีการรุกล้ำไปยังหลอดเลือดหรือไม่ เซลล์อยู่ในเกรดใด ( Histological grade ) เป็นต้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการเลือกเทคนิคทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยมะเร็งองคชาต หากตรวจชิ้นเนื้อแล้วพบว่ามีเซลล์มะเร็ง ควรรีบวางแผนทันที โดยแผนของทางโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวนั้น ประกอบไปด้วย การผ่าตัด การใช้ความเย็น เทคนิคแบบเฉพาะจุดผ่านหลอดเลือด การใช้เทคนิคภูมิคุ้มกัน เทคนิคยีนเจาะจงเซลล์มะเร็ง เป็นต้น