การก่อตัวเป็นมะเร็งช่องปากเป็นลักษณะของการเกิดโรคเรื้อรังก่อนเข้าสู่อาการของโรคหรือก่อนการเปลี่ยนแปลงเป็นโรคมะเร็งอย่างชัดเจน จะต้องใช้ระยะเวลาหลายปีหรือกระทั่งเป็นสิบกว่าปีกว่ากระบวนการของโรคจะเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็ง ผู้เชี่ยวชาญโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวขอเตือนว่า : การตรวจมะเร็งช่องปากอย่างสม่ำเสมอช่วยให้สามารถตรวจพบมะเร็งช่องปากตั้งแต่เนิ่นๆ หากรีบเข้าปรึกษาแพทย์ จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพทางการแพทย์ได้ดียิ่งขึ้น
1.การตรวจด้วยเครื่องมือถ่ายภาพทางการแพทย์
(1)การตรวจด้วยนิวไคลด์รังสีสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็งช่องปาก มะเร็งลิ้น หรือมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่มีการแพร่กระจายไปกระดูก
(2)การตรวจด้วยฟิลม์เอกซเรย์รวมถึงเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หากมะเร็งช่องปากมีการลุกลามเข้าไปยังกระดูกขากรรไกรโพรงจมูกจะสามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากกว่า
(3)การตรวจด้วยเอกซเรย์สามารถตรวจสอบความสัมพันธ์ของหลอดเลือดสมองคาโรติดรวมถึงเซลล์บริเวณรอบๆขอบเขตและขนาดเนื้องอกทั้งยังสามารถทำให้ทราบว่ามีการลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอหรือไม่หากปรากฏอาการต่อมน้ำเหลืองโตแนะนำให้ทำการตรวจด้วย CT สแกน
2.การตรวจชีววิทยาของเซลล์ที่หลุดลอกออกเหมาะกับใช้ตรวจการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ก่อนที่จะเป็นมะเร็งแต่ไม่มีอาการใดใดหรือขอบเขตการเปลี่ยนแปลงของมะเร็งคาร์ซิโนมา(มะเร็งที่เกิดจากเนื้อเยื่อบุผิว)ในระยะแรกที่ไม่ชัดเจน เหมาะต่อการตรวจคัดกรองและยังสามารถดำเนินการตรวจขั้นต่อไปด้วยการตรวจชิ้นเนื้อเพื่อให้มั่นใจผลของพยาธิสภาพรวมถึงตัวอย่างโรคที่สงสัย
โดยทั่วไปการวินิจฉัยมะเร็งเยื่อบุช่องปากจะใช้คีมคีบเนื้อเยื่อหรือวิธีการตัดเนื้อเยื่อเนื่องจากเยื่อเมือกด้านนอกโดยเฉลี่ยจะเป็นแผลหรือมีความผิดปกติโดยใช้ตำแหน่งผิวด้านบน หลีกเลี่ยงเซลล์เนื้อเยื่อเคราตินที่ตายไปนำเนื้อเยื่อมาใช้บริเวณเขตแดนเนื้อเยื่อเนื้องอกและเนื้อเยื่อปกติ ทำให้ข้อมูลที่ได้รับมีทั้งจากเนื้อเยื่อมะเร็งและเนื้อเยื่อปกติ
3.การตรวจด้วยตัวเอง
(1)การตรวจบริเวณศีรษะ : สามารถตรวจบริเวณศีรษะและลำคอ สังเกตการเปลี่ยนแปลงของศีรษะและลำคอ
(2)การตรวจบริเวณคอ:ใช้มือสัมผัสลำคอจากหูไปยังกระดูกไหปลาร้า เวลาสัมผัสสังเกตว่ามีอาการเจ็บหรือมีก้อนเนื้อหรือไม่ ถ้าพบว่ามีเนื้องอกให้รีบทำการตรวจ CTสแกนเพื่อให้มั่นใจลักษณะและขนาดของเนื้องอก
(3)การตรวจริมฝีปาก :สังเกตภายนอกของริมฝีปากก่อน หลังจากนั้นใช้นิ้วหัวแม่โป้งและนิ้วชี้ลากเข้าไปภายในของริมฝีปากล่าง ตรวจสอบว่ามีอาการเจ็บหรือสัมผัสแล้วมีก้อนเนื้อหรือไม่ จากนั้นใช้วิธีการตรวจเดียวกันนี้ตรวจภายในริมฝีปากบน
(4)ตรวจเหงือก:เปิดริมฝีปากเพื่อตรวจสอบเหงือกพร้อมทั้งสัมผัสบริเวณแก้ม สังเกตว่ามีความผิดปกติหรือไม่
(5)ตรวจลิ้น : แลบลิ้นออกมาใช้ผ้าก๊อซรองมือเพื่อจับลิ้น สังเกตและสัมผัสลิ้นพร้อมกับเคลื่อนไหวลิ้นไปทางด้านซ้ายและขวา สังเกตลิ้นทั้งสองด้าน
(6)ตรวจสอบเพดานปาก :การตรวจสอบเพดานปากบางครั้งจำเป็นต้องใช้ด้ามแปรงสีฟันกดลงไปที่ลิ้น เงยศีรษะขึ้นเล็กน้อย สังเกตสีและลักษณะของเพดานอ่อนและเพดานแข็ง
โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเตือนท่านว่า มะเร็งช่องปากเมื่อก่อตัวขึ้นจะต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน ไม่เช่นนั้นจะส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก