การตรวจทางห้องแล็บ
เซรุ่ม CAl9-9 มีประโยชน์ในการใช้วินิจฉัยมะเร็งท่อน้ำดี โดยเฉพาะถ้าเป็นท่อน้ำดีอักเสบแข็งปฐมภูมิที่กลายเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในตับ ผู้ที่มีภาวะอุดตันของทางเดินน้ำดีหรือการทำงานของตับผิดปกติก็สามารถทำการตรวจทางห้องแล็บได้เช่นกัน
การตรวจโดยภาพถ่ายทางการแพทย์
ทำให้การวินิจฉัยมะเร็งท่อน้ำดีมีความแน่นอน ดูว่ามีการลุกลามหรือไม่และประเมินความน่าเป็นในการใช้วิธีผ่าตัดได้
1.การเอ็กซเรย์ดูภาพท่อน้ำดี (percutaneous transhepaticcholangiogra-phy,PTC) : เป็นวิธีหลักดั้งเดิมในการวินิจฉัยมะเร็งท่อน้ำดีวิธีหนึ่ง สามารถมองเห็นระบบทางเดินน้ำดีทั้งในและนอกตับได้ชัดเจน มองเห็นส่วนที่แยกกันหรือเกิดการอุดตันได้
2.การตรวจอัลตราซาวด์ (B-US) : เป็นวิธีที่ง่าย เร็ว แม่นยำ และประหยัด เมื่อตรวจด้วยวิธีนี้เราจะทราบถึงการขยายตัวของท่อน้ำดี สภาพทางเดินน้ำดีว่ามีการอุดตันหรือไม่ และลักษณะการอุดตันของท่อน้ำดี ดังนั้นแล้วถ้าหากมีอาการดีซ่านควรจะตรวจด้วยการอัลตราซาวด์ดูก่อน
3.การตรวจด้วยซีทีสแกน : ผลการตรวจของซีทีสแกนจะมีความคล้ายคลึงกับการตรวจด้วยอัลตราซาวด์ แต่ภาพที่ได้จะเป็นสามมิติและชัดเจนกว่า มีความแม่นยำในการแสดงการขยายตัวของท่อน้ำดีและตำแหน่งรวมถึงบริเวณที่มีการอุดตัน และสำหรับการกำหนดลักษณะการเปลี่ยนแปลงของโรค วิธีการตรวจนี้จะแม่นยำกว่าวิธีที่ได้กล่าวมาข้างต้น
4.การส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (endoscopicretrograde cholangiopancreatography,ERCP) : การตรวจ ERCP สามารถทราบถึงภาวะของทางเดินน้ำดี ในปัจจุบันนี้นอกจากจะสามารถเก็บเซลล์ที่หลุดออกมาจากมะเร็งท่อน้ำดีและน้ำดีได้โดยตรง ประโยชน์ของการวินิจฉัยวิธีอื่นโดยมากจะถูกแทนที่โดยวิธี ERCP นี้
5. การตรวจ PET-CT : การตรวจ PET-CT เป็นวิธีการตรวจที่ดีที่สุดในปัจจุบันสำหรับมะเร็งที่มีการลุกลามไปต่อมน้ำเหลือง หรือลุกลามไปจุดที่อยู่ห่างไกล โดยเฉพาะกับผู้ป่วยที่มีการผ่าตัดบางส่วน การตรวจ PET-CT มักจะช่วยกำหนดแนวทางๆการแพทย์ได้
การตรวจเซลล์วิทยา
บนพื้นฐานของ PTCD การขยายไซนัสเพื่อส่องกล้องดูทางเดินน้ำดี สามารถสังเกตและนำชิ้นเนื้อมาตรวจทางพยาธิวิทยาได้โดยตรง การทำ PTC หรือ PTCD จะได้น้ำดีซึ่งนำมาตรวจเซลล์วิทยาได้