มะเร็งต่อมหมวกไตเป็นเนื้องอกร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณต่อมหมวกไต ซึ่งจะนำอันตรายร้ายแรงมาสู่ผู้ป่วยได้ ผลการตรวจวินิจฉัยที่แน่ชัดจะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยเลือกเทคนิคที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของตนเองได้ดียิ่งขึ้น แล้วการตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมหมวกไตมีอะไรบ้าง?
การตรวจด้วยภาพถ่ายทางการแพทย์
1. การตรวจอัลตราซาวด์ : เป็นวิธีแรกในการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมหมวกไต ซึ่งมีประโยชน์ต่อการตรวจดูตำแหน่งก้อนเนื้อ ขนาด รวมทั้งความเกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อรอบข้างในระดับหนึ่ง ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเตือนว่า เมื่อพบว่าร่างกายมีอาการไม่สบายใดๆ ก็ควรรีบไปตรวจวินิจฉัยและปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที
2. การตรวจ CT : เป็นการตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมหมวกไตอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งการตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมหมวกไตด้วย CT จะแสดงให้เห็นปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้อง เช่น ขนาดของก้อนเนื้อ ไขมันรอบไตมีมากหรือไม่ รวมถึงความหนาแน่นของก้อนเนื้ออยู่ใกล้กับไขมันโดยรอบหรือไม่ เป็นต้น
(1) มะเร็งต่อมหมวกไตชั้นนอก : พบเห็นได้ค่อนข้างน้อย มักพบในหญิงอายุ 30 – 60 ปี ซึ่ง CT จะแสดงให้เห็นว่า : ก้อนเนื้องอกชนิดกึ่งมะเร็ง เส้นผ่านศูนย์กลาง > 5 เซนติเมตร รูปร่างขรุขระ ขอบเขตไม่ชัดเจน เกาะติดกับอวัยวะรอบข้าง ความหนาแน่นเท่ากันหรือความหนาแน่นต่ำ ศูนย์กลางเซลล์เนื้อเยื่อที่มีลักษณะการตายแบบ liquefactive necrosis จะมีความหนาแน่นต่ำกว่า ผู้ป่วยส่วนน้อยจะมีการเกาะของแคลเซียมอย่างหนาแน่นบริเวณรอบๆ หรือตรงกลางรอยโรค และอาจจะสามารถลุกลามไปยังเนื้อเยื่อใกล้เคียงได้
(2) มะเร็งลุกลามมาที่ต่อมหมวกไต : มะเร็งปฐมภูมิ (จุดเกิดมะเร็ง) ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดคือ มะเร็งปอดและมะเร็งเต้านม รองลองมาคือ กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ตับอ่อน เป็นต้น แต่มักจะไม่มีอาการ ซึ่ง CT จะแสดงให้เห็นว่า : ต่อมหมวกไตข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างใหญ่เล็กไม่เท่ากัน เห็นเงารูปร่างของก้อนเนื้อขรุขระ ความหนาแน่นไม่เท่ากัน กลายเป็นถุงน้ำได้ง่าย มีเลือดออก ซึ่งโรคนี้มักจะพบโดยบังเอิญจากการตรวจ CT ด้วยสาเหตุอื่น หากพบจุดเกิดมะเร็ง ก็จะสามารถวินิจฉัยได้แน่ชัด
(3) มะเร็งเซลล์ประสาทต่อมหมวกไต : ค่อนข้างพบเห็นได้บ่อย กว่าครึ่งจะเกิดขึ้นที่ต่อมหมวกไตชั้นใน เป็นเนื้องอกที่มีระดับความร้ายแรงสูงมาก ซึ่ง CT จะแสดงให้เห็นว่า : เป็นก้อนเนื้อแข็งขรุขระ เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อค่อนข้างต่ำ เมื่อเซลล์เนื้องอกตาย กลายเป็นถุงน้ำรวมถึงมีเลือดออก ความหนาแน่นก็จะไม่เท่ากัน ก้อนเนื้องอกมักจะมีเยื่อหุ้ม เนื้องอกที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่อาจจะเติบโตเกินขอบเขต ทั้งยังทะลุออกจากเยื่อหุ้มและรุกล้ำไปยังเนื้อเยื่อรอบข้างได้ง่าย
3. การตรวจ MRI : มีความสำคัญต่อการตรวจและวิเคราะห์แยกแยะเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิด Pheochromocytoma ซึ่ง MRI สามารถแสดงให้เห็นลักษณะเนื้อเยื่อที่ CT ไม่สามารถแสดงให้เห็นได้
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจการทำงานของต่อมหมวกไตประกอบด้วย : การตรวจฮอร์โมนอีพิเนฟฟริน (Epinephrine) และฮอร์โมนนอร์อีพิเนฟฟริน (Norepinephrine) การตรวจคาทิโคลามินส์ (Catecholamines) การตรวจฮอร์โมน Aldosterone การตรวจฮอร์โมนคอร์ติซอล (Plasma cortisol) เป็นต้น
ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเตือนว่า การไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานตามกำหนด จะมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยตรวจพบโรคได้เร็ว และสามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย