การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปยังตับเป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบเห็นได้บ่อยที่ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเสียชีวิต การวิจัยรายงานหนึ่งของ 2013 ASCO ที่เกี่ยวข้องกับการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งพบว่า จากการเปรียบเทียบระหว่างอัตราการบรรเทา (RR) กับค่าเฉลี่ยรวมของระยะการมีชีวิต (OS) หลังจากใช้วิธีอุดหลอดเลือด (TACE) โดยผ่านทางหลอดเลือดแดงของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีการแพร่กระจายไปตับแล้ว แสดงให้เห็นว่าสามารถใช้วิธีการอุดหลอดเลือด (TACE) โดยผ่านทางหลอดเลือดแดงวิธีการนี้เพียงอย่างเดียว โดยให้ประสิทธิภาพที่ดีและสามารถยืดชีวิตให้กับผู้ป่วยให้อยู่ได้นานยิ่งขึ้น
ขั้นตอนการทดสอบมะเร็งเต้านมโดยวิเคราะห์จากผู้ป่วยมะเร็งเต้านมจาก 14 ตัวอย่าง โดยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ลามไปที่ตับ มารักษาด้วยการอุดหลอดเลือดหนึ่งจุดหรือหลายจุด เพื่อมาประเมินระยะเวลาการพัฒนาของโรค (TTP) และค่าเฉลี่ยการมีชีวิตรอด (OS) ก่อนและหลังทำการรักษาด้วย TACE ผลปรากฏว่า ผู้ป่วย 14 คนระหว่างที่ได้รับการรักษาด้วยการอุดหลอดเลือดเฉพาะจุด (TACE) ในจำนวนนั้น มีผู้ป่วย 1คนที่ได้รับการบรรเทาอย่างสมบูรณ์ ผู้ป่วย 4 คนได้รับการบรรเทาบางส่วน โรคของผู้ป่วย 4 คนได้รับการควบคุมอย่างคงที่ ผู้ป่วยอีก 5 คนไม่มีการตอบสนอง ค่าเฉลี่ยเวลาการพัฒนาของโรคในผู้ป่วยที่มีการตอบสนองต่อการรักษาด้วยการให้อุดหลอดเลือดเฉพาะจุดคือ 13.2 เดือน และค่าเฉลี่ยของผู้ป่วยที่ไม่มีการตอบสนองต่อวิธีการรักษานี้คือ 2.9 เดือน นอกจากนี้ค่าเฉลี่ยการมีชีวิตหลังการรักษาในผู้ป่วยที่มีการตอบสนอง สูงถึง 25.6 เดือน
ผู้วิจัยที่ทำการทดลองกล่าวว่า “จากประสบการณ์การอุดหลอดเลือดเฉพาะจุดเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพที่ใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีการแพร่กระจายไปยังตับ และผลตอบสนองของผู้ป่วยจะแตกต่างจากการรักษาทั่วไปที่ใช้ในปัจจุบัน รวมถึงสามารถยืดอายุผู้ป่วยให้อยู่ได้นานยิ่งขึ้น”
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวหวังหรงหัว ได้ไขข้อข้องใจดังนี้
ผู้อำนวยการหวังหรงหัว อธิบายว่าประสิทธิภาพของยาเคมี นอกจากจะเกี่ยวข้องกับผลกระทบของยาที่มีต่อร่างกายและตัวมะเร็งที่ไวต่อการกระตุ้นของตัวยาแล้ว ความเข้มข้นของยาบริเวณเซลล์มะเร็งและเวลาในการให้ยาก็เป็นปัจจัยสำคัญ รวมถึงวิธีการให้ยาที่แตกต่างกันก็มีผลสำคัญต่อปัจจัยข้างต้น ที่ผ่านมาวิธีการให้ยาเคมีบำบัดจะเป็นลักษณะให้ผ่านหลอดเลือดดำและการรับประทานเป็นหลัก เมื่อยาผ่านระบบหมุนเวียนในร่างกาย เข้าไปผสมเจือจางและรวมตัวกับโปรตีนแล้ว กว่าจะมาถึงอวัยวะเป้าหมายตัวยาก็เหลืออยู่น้อย ไม่เพียงแต่ประสิทธิภาพการรักษาไม่สูงเท่าที่ควร แต่ยังเพิ่มผลข้างเคียงในการรักษา ด้วยเหตุนี้จึงแทบจะไม่สามารถใช้แนวทางการรักษาแบบเดิมมาแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างการเพิ่มประสิทธิภาพและการลดผลข้างเคียง การเกิดขึ้นของวิธีการรักษาโดยให้เคมีผ่านทางหลอดเลือดแดงกลับทำให้สถานการณ์เกิดการเปลี่ยนแปลง การให้ยาเคมีหรือยาอุดหลอดเลือดผ่านหลอดเลือดแดงเข้าไปยังหลอดเลือดเลี้ยงมะเร็งโดยตรง จะทำให้ความเข้มข้นตรงจุดมะเร็งนั้นสูงขึ้น ยืดเวลาที่ยาจะสัมผัสกับเซลล์มะเร็ง ในขณะเดียวกันก็สกัดกั้นเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงเซลล์มะเร็ง บรรลุผลของการทำลายเซลล์มะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพสูง ทำให้เนื้อร้ายหดตัวเล็กลง อีกด้านหนึ่ง เนื่องจากให้ยาเคมีผ่านทางหลอดเลือดแดง จึงมีผลกระทบต่อเซลล์ปกติรอบๆ น้อยมาก และผลข้างเคียงจากการรักษาก็น้อยลงตามไปด้วย
เนื่องจากการอุดหลอดเลือดโดยผ่านทางหลอดเลือดแดงเป็นการรักษาแบบบาดแผลเล็ก (Minimize invasive) ทำให้มีบาดแผลน้อย เจ็บปวดน้อย สามารถนำมาใช้ได้กับมะเร็งหลากหลายชนิด เช่น มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งโพรงจมูกมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เนื้องอกเชิงกราน เป็นต้น ซึ่งใช้ได้ทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด รวมถึงการรักษาแบบประคับประคองอาการ นอกจากนี้ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่มีอาการแทรกซ้อนคือเลือดออก สามารถใช้การรักษาด้วยวิธีนี้ได้ เพื่อสกัดกั้นเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงเซลล์มะเร็งและควบคุมอาการเลือดออก