การฉายรังสีแบบทั่วไปมีอันตรายสูง
การฉายรังสีเป็น 1 ใน 3 วิธีการของโรคมะเร็งชนิดร้ายแรงแบบทั่วไป สถิติในประเทศและต่างประเทศแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งประมาณ 60-70% ต้องใช้การฉายรังสี หลักการของมะเร็งด้วยการฉายรังสีคือการใช้รังสีกำจัดเซลล์มะเร็ง แต่เนื่องจากเซลล์มะเร็งเกิดในเนื้อเยื่อปกติและมีรูปร่างหลากหลาย ดังนั้นตามเทคนิคการฉายรังสีแบบทั่วไปจะต้องขยายบริเวณการฉายรังสีให้ใหญ่ขึ้นเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งได้ทั้งหมด แต่อย่างนี้ก็จะทำให้เนื้อเยื่อปกติได้รังสีโดยไม่จำเป็น และผลที่ตามมาก็คือจะเพิ่มผลข้างเคียงของการฉายรังสี ในขณะเดียวกัน มีผลข้างเคียงเพิ่มขึ้น แต่กลับไม่สามารถเพิ่มปริมาณรังสี ( ความเข้มของรังสี ) ได้ ทำให้เนื้องอกมากมายไม่ได้ผลที่ดี การฉายรังสีเป็นวิธีเพื่อมะเร็งเฉพาะที่และการฉายรังสีที่เหมาะสมควรกำจัดเซลล์มะเร็งในปริมาณที่สูงสุดเท่าที่จะทำได้ และป้องกันเนื้อเยื่อและอวัยวะที่ปกติข้างเคียงให้มากที่สุด การฉายรังสีที่ดีเปรียบเสมือนขีปนาวุธที่แม่นยำ ต้องยิงถูกที่โดยไม่ทำร้ายประชาชนซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์
การฉายรังสี 3 มิติสามารถกำจัดเซลล์มะเร็งได้อย่างแม่นยำ
การฉายรังสีด้วยภาพ 3 มิติ (3D-CRT) เป็นการฉายรังสีขั้นสูงซึ่งให้ความแม่นยำมาก โดยเมื่อเปรียบเทียบกับการฉายรังสีแบบเดิมแล้ว ความได้เปรียบก็คือความแม่นยำ สามารถเพิ่มปริมาณรังสีให้แก่ก้อนเนื้องอกและลดปริมาณรังสีที่เนื้อเยื่อปกติได้ และยึดมั่นความแม่นยำในกระบวนการการฉายรังสี การฉายรังสีด้วยภาพ 3 มิติจะใช้ภาพ CT สร้างภาพ 3 มิติของโครงสร้างเนื้องอก โดยกระจายรังสีในทิศทางที่แตกต่างกัน สามารถสร้างภาพหาทิศทางการเข้าที่เหมาะสมของรังสี ทำให้การกระจายของรังสีในภาพสามมิติ (หน้าหลัง ซ้ายขวา บนล่าง) เป็นไปตามรูปร่างของเป้าหมายมากที่สุด และลดปริมาณรังสีที่เนื้อเยื่อปกติจะได้รับซึ่งอยู่บริเวณรอบๆได้
โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวได้นำเข้าระบบการฉายรังสีแบบปรับความเข้ม ( IMRT ) ที่ทันสมัย และตั้งเครื่องเร่งอนุภาค ( Linear accelerator ) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ขนาดใหญ่สำหรับมะเร็งด้วยการฉายรังสีและสามารถดำเนินการฉายรังสีอย่างแม่นยำตามวิธีการที่คำนวณไว้ ทำให้เครื่องโฟตอน เครื่องแกมม่า ฯลฯ นำมาใช้ควบคู่กันในการฉายรังสีอย่างครอบคลุมและแม่นยำได้ เทคนิคการฉายรังสีด้วยภาพ 3 มิติมีระบบการวางแผนขั้นสูงและอุปกรณ์เครื่องเร่งดิจิตอลเป็นพื้นฐาน รวมกับเทคนิคการควบคุมเครื่องฉายรังสีที่ชำนาญของแพทย์ สามารถปรับปริมาณรังสีต่อเซลล์มะเร็ง ลดปริมาณรังสีที่เนื้อเยื่อปกติจะได้รับ โดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่ออวัยวะข้างเคียง เพิ่มอัตราการควบคุมรอยโรคเฉพาะอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มอัตราการอยู่รอด และโอกาสการหายขาดจากโรค ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กวางโจวมีประสบการณ์ในการฉายรังสี จะฉายอย่างไร ฉายเฉพาะที่ไหน ฉายเป้าหมายรูปสามมิติแบบไหนก็สามารถทำได้อย่างชำนาญ และยังสามารถปรับปริมาณรังสีต่อเซลล์มะเร็งและหลีกเลี่ยงการที่เนื้อเยื่อปกติจะได้รับปริมาณรังสีมากเกินไปตามที่ต้องการ เป็นต้น
ผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูกได้ชีวิตใหม่
นายรวนเป็นผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูกที่มาจากประเทศอินโดนีเซีย ผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูกส่วนใหญ่จะมีความไวต่อการฉายรังสี การฉายรังสีเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูก ซึ่งได้ผลที่ดีและมีอัตราการรอดสูง แต่โครงสร้างของหลังโพรงจมูกซับซ้อนมาก เนื้องอกเป็นรูปเกือกม้า ใกล้เคียงกับเนื้อเยื่อปกติและอวัยวะจำนวนมากที่มีความเสี่ยงและหนาแน่น เทคนิคการฉายรังสีแบบธรรมดาไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือป้องกันอวัยวะปกติได้ และจะมีผลกระทบค่อนข้างมากต่อคุณภาพชีวิตประจำวันหลังจากที่ฉายรังสี เมื่อนายรวนได้รับการฉายรังสีที่โรงพยาบาลท้องถิ่นแล้ว มีผลข้างเคียงอย่างรุนแรง ซึ่งได้ทำร้ายร่างกายของนายรวนเป็นอย่างมาก เมื่อได้รับการฉายรังสีด้วยภาพ 3 มิติที่โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวแล้ว ปริมาณรังสีและบริเวณที่ได้รับรังสีปริมาณสูงของต่อมน้ำลายและข้อต่อขากรรไกรได้ลดน้อยลงอย่างชัดเจน โดยเปรียบเทียบกับการฉายรังสีแบบธรรมดา อาการปากแห้ง เจ็บคอ อ้าปากลำบาก รับประทานอาหารลำบาก และอาการอื่นๆ ได้บรรเทาลงอย่างชัดเจน การฉายรังสีด้วยภาพ 3 มิติของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว สามารถแก้ไขปัญหาที่ยากลำบากในการป้องกันฟังก์ชั่นต่อมน้ำลายหน้าหู อวัยวะทำหน้าที่รับภาพ อวัยวะฟังเสียง ตลอดจนอวัยวะสำคัญที่ข้างเคียงเนื้องอกหรือถูกเนื้องอกล้อมรอบซึ่งมีความเสี่ยงมากได้
อาการที่เหมาะกับการฉายรังสีแบบปรับความเข้ม ( IMRT ) ได้แก่
1. เนื้องอกของระบบประสาท: Glioma เนื้องอกต่อมใต้สมอง เนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง มะเร็งที่กระจายมาสมอง ฯลฯ
2. มะเร็งศีรษะและลำคอ : มะเร็งหลังโพรงจมูก มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งขากรรไกรบน มะเร็งในช่องปาก ฯลฯ
3. มะเร็งบริเวณทรวงอก: มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งปอด mediastinal mass และมะเร็งเต้านม ฯลฯ
4. เนื้องอกในช่องท้อง: มะเร็งตับอ่อน มะเร็งตับ มะเร็งท่อน้ำดี ฯลฯ
5. เนื้องอกในระบบขับถ่ายปัสสาวะ: มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งไต ฯลฯ
6. เนื้องอกกระดูก : ออสทีโอซาร์โคมา (Osteosarcoma) คอนโดรซาร์โคมา(Chondrosarcoma) ฯลฯ
7. เนื้องอกและมะเร็งอื่น : Hemangioma ฯลฯ
ขั้นตอนการฉายรังสีแบบปรับความเข้ม ( IMRT ) :
1. การยึดเนื้องอก ใช้เครื่องมือพิเศษหลายอย่างยึดเนื้องอกผู้ป่วยเพื่อให้เนื้องอกไม่ขยับเขยื้อนในตำแหน่งที่คงที่
2. การกำหนดตำแหน่งและขอบเขตของเนื้องอก ตรวจโดยภาพสะท้อนคลื่นแม่เหล็ก (MRI) หรือภาพ CT Scan แพทย์จะทราบตำแหน่งและขอบเขตของเนื้องอกซึ่งเป็นเป้าหมายการฉายรังสีแบบปรับความเข้ม ( IMRT ) ต้องกำหนดเป้าหมายให้ถูกต้อง มิฉะนั้นก็จะไม่สามารถบรรลุผลที่ต้องการได้
3. การกำหนดเนื้อเยื่อและอวัยวะที่ต้องปกป้อง อย่างเช่นเส้นประสาทไขสันหลัง ต่อมน้ำลายหน้า หู ตา ปอด ตับ ไต ฯลฯ
4. การตรวจสอบแผนการในกระบวนการการฉายรังสีแบบปรับความเข้ม ( IMRT ) เซลล์มะเร็งทั้งหมดต้องได้รับรังสีปริมาณสูงที่สุด ในขณะเดียวกัน เนื้อเยื่อและอวัยวะอันสำคัญก็ต้องได้รับการปกป้องอย่างดีที่สุดเช่นกัน