ปัญหาที่พบบ่อยในการผ่าตัดแบบดั้งเดิมประยุกต์พร้อมการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่สำหรับมะเร็งเต้านม

การเสริมสร้างเต้านมขึ้นใหม่

Q 1 เราสามารถเลือกรูปแบบการเสริมสร้างเต้านมขึ้นมาใหม่ได้กี่ชนิด

1.การฝังเต้านมเทียม

2.การใช้เนื้อเยื่อในร่างกายตนเองในการเสริมสร้างเต้านม

3.การใช้เนื้อเยื่อในร่างกายตนเองในการเสริมสร้างเต้านม และการฝังเต้านมเทียม

Q2 วิธีการเสริมสร้างเต้านมวิธีไหนเหมาะกับเราที่สุด?

ปัจจัยในการเลือกวิธีผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมขึ้นมาใหม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยสภาพร่างกายของคุณ ตัวอย่างเช่น สภาพความแข็งแรงทางร่างกาย ระยะการเกิดมะเร็งเต้านม ขนาดเต้านมของคุณ ความสามารถในการรับภาระทางการเงิน ( ตัวอย่างเช่น การปลูกถ่ายเนื้อเยื่อจากร่างกายจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก) ผลรูปลักษณ์ภายนอกที่คุณคาดหวังหลังจากที่ทำการเสริมสร้างเต้านมใหม่ เป็นต้น คุณกับแพทย์จำเป็นที่จะต้องปรึกษาร่วมกัน

Q3 การผ่าตัดและการให้ยาชาใช้เวลานาน จะมีอันตรายหรือไม่

ตำแหน่งการผ่าตัดไม่ได้เข้าไปถึงในส่วนของช่องอกและช่องท้อง ด้วยเหตุนี้อันตรายของการผ่าตัดค่อนข้างต่ำ ความเสี่ยงที่มีอยู่โดยทั่วไปคือ เลือดออก ติดเชื้อ ปัญหาการหายสนิทของบาดแผล การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมขึ้นใหม่ใช้เวลานาน เพื่อหลีกเลี่ยงความอันตรายที่จะเกิดขึ้นก่อนทำการผ่าตัดจำเป็นที่จะต้องทำการให้ยาชา โดยวิสัญญีแพทย์จะเป็นผู้ประเมินความเสี่ยงของยาชาในแต่ละบุคคลในขั้นตอนของการทำการผ่าตัดจะต้องมีทีมวิสัญญีแพทย์คอยตรวจวัดและสังเกตอาการตลอดเวลา ทำให้ความเสี่ยงลดลงจนกะทั่งน้อยที่สุด

Q4 หลังจากผ่าตัดจะมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ หรือไม่

ภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดประกอบด้วย : ส่วนไขมันจะถูกทำลายประมาณ 3-13% (ขอบเขตค่อนข้างน้อย) ส่วนเนื้อเยื่อผิวหนังถูกทำลายประมาณ 1-2% ผิวหนังของบาดแผลอักเสบ 2-3% หลังจากผ่าตัดต้องเพิ่มการดูแล ใช้ยาอย่างเหมาะสม จะทำให้ภาวะแทรกซ้อนลดลงจนกะทั่งเหลือน้อยที่สุด

Q5 หลังการผ่าตัดเต้านมแบบดั้งเดิมประยุกต์ บริเวณเต้านมที่เป็นโรคหรือรักแร้รู้สึกชาหรือเจ็บ ปกติหรือไม่

การผ่าตัดเต้านมในขณะเดียวกันก็ยังสามารถตัดเส้นประสาทบริเวณรอบผิวหนัง ด้วยเหตุนี้บริเวณรอบๆ บาดแผลหลังการผ่าตัดและรักแร้ รวมถึงแขนจะรู้สึกถึงความผิดปกติ (ปวด รู้สึกเจ็บจี๊ดหรือชา) ซึ่งเป็นอาการปกติ ความรู้สึกผิดปกตินี้จะมีอาการต่อเนื่องประมาณครึ่งปีจนถึงหนึ่งปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงอากาศหนาวจะรู้สึกได้อย่างชัดเจน เนื่องจากสภาพร่างกายแต่ละคนมีอาการต่างกัน ซึ่งแนะนำให้ใช้มือ ตบเบาๆ ไปบริเวณเพื่อให้เกิดการกระตุ้น

Q6 หลังจากผ่าตัดสามารถสัมผัสบริเวณที่เสริมสร้างเต้านมขึ้นมาใหม่ได้หรือไม่

เนื้อเยื่อผิวหนังจากการผ่าตัด สามารถสัมผัสได้ แต่ว่าภายในสามสัปดาห์ไม่ควรกดทับ เพราะจะทำให้ขัดขวางการไหลเวียนของเลือดบริเวณผิวหนัง

Q7 การผ่าตัดสร้างเต้านมขึ้นมาใหม่จะส่งผลต่อเทคนิคอื่นๆ หรือไม่

การผ่าตัดเต้านมแบบดั้งเดิมประยุกต์พร้อมกับการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมขึ้นมาใหม่ โดยทั่วไปไม่ส่งผลกระทบในภายหลัง แต่ว่าแพทย์เจ้าของไข้ มักเลือกที่จะรอให้บาดแผลหายสนิท หลังจากนั้นค่อยให้เคมีบำบัด การทำแบบนี้ ก็เพื่อหลีกเลี่ยงการที่บาดแผลไม่หายสนิทและการติดเชื้อ ถ้าหากคุณผ่านการให้เคมีบำบัดมาแล้ว ศัลยแพทย์จะรออย่างน้อยหนึ่งเดือนแล้วค่อยพิจารณาในการใช้เทคนิคแบบดั้งเดิมประยุกต์และเทคนิคเพื่อเสริมสร้างเต้านม นอกจากนี้หลังจากการผ่าตัดแพทย์จะดูจากสภาพร่างกาย และแนะนำคุณเกี่ยวกับการใช้เทคนิคภูมิคุ้มกัน เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันต่อไป

Q8 การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมขึ้นมาใหม่จะเพิ่มอันตรายของการกำเริบมะเร็งหรือไม่ จะส่งผลต่อการวินิจฉัยโรคมะเร็งหรือไม่

จนถึงขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานการทดลองพิสูจน์ว่าการเสริมสร้างเต้านมขึ้นมาใหม่เพิ่มอัตราการกำเริบของมะเร็งหรือรบกวนการวินิจฉัยของโรคมะเร็ง เนื่องจาการกำเริบแต่ละส่วนเดิมทีมาจากส่วนใต้ผิวหนังของเต้านม และผิวชั้นบนของเต้านม เมื่อใช้มือสัมผัสเพื่อตรวจสอบ ผู้ป่วยยังคงต้องอยู่ในการวินิจฉัยติดตามของแพทย์ด้านเนื้องอกวิทยารวมถึงศัลยแพทย์ด้านเต้านม

Q9 หลังการผ่าตัดสามารถสระผม อาบน้ำได้หรือไม่ จะกลับมาดำเนินชีวิตประจำวันอย่างปกติได้เมื่อไหร่ และจะใส่ชุดชั้นในได้เมื่อไหร่

หลังจากทำการผ่าตัดเมื่อกลับไปพักที่ห้องผู้ป่วยแล้ว จำเป็นต้องให้ญาติช่วยทำการเช็ดตัว ต้องรอหลังจากนำท่อระบายของเหลวจากบาดแผลออกและเอาไหมเย็บแผลออกก่อนจึงจะสามารถอาบน้ำได้ หลังจากทำการผ่าตัดครบสามสัปดาห์สามารถสระผม และก็ยังสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ หลังการผ่าตัดหกถึงแปดวัน แพทย์เจ้าของไข้จะตัดสินใจว่า คุณควรสวมชุดชั้นในหรือไม่ โดยทั่วไปจะแนะนำให้ใส่ชุดชั้นในไม่มีโครง จะได้ไม่ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือด

Q10 หลังจากขั้นตอนทางการแพทย์ นานเท่าไหร่จึงจะสามารถกลับไปทำงานหรือเดินทางท่องเที่ยวต่อได้

ขึ้นอยู่กับการฟื้นฟูสภาพร่างกายของแต่ละคน โดนทั่วไปหลังการผ่าตัดสี่สัปดาห์ สามารถกลับไปทำงาน และเริ่มการเดินทางท่องเที่ยว กิจกรรมยามว่างที่ช่วยส่งเสริมการฟื้นฟูร่างกาย แต่แนะนำให้มีการพักผ่อนมากๆ เป็นหลัก

Q11 หลังการผ่าตัดอีกครึ่งหนึ่งสามารถลูบคลำได้หรือไม่ เมื่อไรจึงจะสามารถกลับมาทำกิจกรรมทางเพศได้

หลังจากทำการผ่าตัดได้สี่สัปดาห์ อีกครึ่งหนึ่งสามารถลูบคลำได้ และก็ยังสามารถกลับมาใช้ชีวิตแบบสามีภรรยา คุณสามารถพูดคุยกับคู่ของคุณ ให้เขาเข้าใจถึงความกังวล ในการที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องอดทนรอเป็นเวลานาน เป็นต้น

Q12  แผลเป็นจาการผ่าตัดต้องดูแลอย่างไร

ปัจจัยของการตบแต่งบาดแผลที่สวยงาม : เทคนิคการเย็บแผล คุณภาพของไหมที่เย็บ สภาพของโรคที่เป็น การดูแลรอยแผลเป็นด้วยตนเอง เป็นต้น รอยแผลเป็นทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณครึ่งปีถึงหนึ่งปี การดูแลรอยแผลเป็นสามารถทำได้ ดังนี้

1. การนวดบาดแผล สามารถใช้รูปแบบการนวดบริเวณแผลเป็น ทุกๆ เช้า-เย็นประมาณ 15-20 นาที หลีกเลี่ยงการใช้แรงกดลงไปในเนื้อเยื่อที่เป็นรอยผ่าตัด

2.การใช้แผ่นพลาสเตอร์ การใช้แผ่นพลาสเตอร์สามารถติดลงไปยังรอยแผลเป็น หากมีการแพ้แผ่นพลาสเตอร์ สามารถซื้อแผ่นระบายอากาศของเด็กได้

3.การใช้แผ่นเจลรอยแผลเป็น ประสิทธิภาพของแผ่นเจลดีกว่าแผ่นพลาสเตอร์ มีลักษณะนุ่มและเรียบ รวมถึงช่วยลดการอักเสบของบาดแผลได้

Q13 หลังจากทำการผ่าตัดด้วยการเสริมสร้างเต้านมขึ้นมาใหม่ หากรู้สึกว่าประสิทธิผลด้านความงามไม่ดีหรือเต้านมอีกข้างหนึ่งไม่สมส่วน สามารถทำการแก้ไขได้หรือไม่

เต้านมที่ได้รับการผ่าตัดเสริมสร้าง จำเป็นต้องใช้เวลาเพื่อให้แผลหายสนิท 3-6 เดือน สามารถทำการเสริมสร้างเต้านมอีกข้างหนึ่ง อาจเกี่ยวข้องไปถึงการผ่าตัดศัลยกรรมเสริมเต้านม ดึงเต้านม ลดเต้านม และอื่นๆ เป็นต้น


มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งเต้านม
มะเร็งปอด
มะเร็งตับ
มะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งกระดูก
มะเร็งผิวหนัง
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งตับอ่อน
มะเร็งหลอดอาหาร
มะเร็งสมอง
มะเร็งช่องปาก
มะเร็งท่อน้ำดี
มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
มะเร็งคอ
มะเร็งถุงน้ำดี
มะเร็งช่องคลอด
มะเร็งองคชาติ
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
มะเร็งโพรงจมูก
มะเร็งลำไส้เล็ก
มะเร็งไต
มะเร็งทวารหนัก
มะเร็งอัณฑะ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Multiple myeloma
มะเร็งต่อมหมวกไต
มะเร็งกระดูกสันหลัง
มะเร็งลำไส้
มะเร็งตา
โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน
มะเร็งลิ้น
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งรังไข่
มะเร็งต่อมไทรอยด์
อาการโรคมะเร็ง การวินิจฉัยโรคมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็ง
ผู้สื่อข่าวสำนักพิมพ์ไทยรัฐประเทศไทย เดินทางไปสัมภาษณ์โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวถึงเมืองกวางเจา และเห
โครงการ 2,000,000 บาท ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งของมูลนิธิบ่ออ้าย (ประเทศไทย)
งานมอบรางวัล “ผู้กล้าสู้มะเร็งประจำเดือนมีนาคม”
ผู้บริหารของโรงพยาบาลเราได้พบคุณห่าวซีซานสมาชิกสถาบันด้านวิศวกรรมแห่งประเทศจีน เพื่อเสาะหาความร่วมมือและการพัฒนา
กลุ่ม MDT ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีสุขภาพที่แข็งแรงและกลับมามีความมั่นใจอีกครั้ง
นำโรงพยาบาลเข้าสู่มาตรฐาน JCI ยกระดับให้โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว
สุขไปกับชีวิตสายการแพทย์ เติมเต็มคุณค่าของชีวิต
การฝังแร่ไอโอดีน เสียงสวรรค์ของผู้ป่วยมะเร็ง --การประชุมใหญ่ด้านเทคโนโลยีการรักษามะเร็งด้วยการฝังแร่ไอโอดีนครั้งที่ 13 ณ ประเทศจีน