เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556 สื่อมวลชนจีนและต่างประเทศรวมตัวกันมาที่โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเพื่อทำการสัมภาษณ์ซึ่งในครั้งนี้สื่อมวลชนที่มามีทั้งจากหนังสือพิมพ์เศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในไทยคือหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ หนังสือพิมพ์ไทยที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองลงมาคือหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ สถานีโทรทัศน์ทีเอ็นเอ็นและยังมีสถานีโทรทัศน์กวางตุ้งของประเทศจีน เช่น สถานีโทรทัศน์กว่างโจว หนังสือพิมพ์หนานฟังตูซื่อเป้า หนังสือพิมพ์หยางเฉิงหว่าน หนังสือพิมพ์ซินไขว้ หนังสือพิมพ์ซิ่นซีสือ เครือข่ายซินหลาง เครือข่ายหนานฟัง เป็นต้น ทุกสื่อมวลชนต่างสัมภาษณ์ผู้ป่วยที่ต่อสู้กับมะเร็งร้ายและหัวหน้าผู้เชี่ยวชาญในโรงพยาบาลผู้อำนวยการเผิงอย่างละเอียด
ปฏิเสธการผ่าตัด เทคโนโลยีบาดแผลเล็กได้รับความสนใจ
หลัวซือหมิง ผู้ป่วยวัย 83 ปีจากประเทศไทย เนื่องด้วยมีอาการปวดฟัน เมื่อเดือนพฤษภาคมของปีนี้จึงไปตรวจที่โรงพยาบาลมะเร็งในไทยซึ่งหมอตรวจพบว่าเป็นมะเร็งช่องปาก คุณหมอแนะนำคุณลุงหลัวให้ทำการผ่าตัดทันที แต่คุณลุงหลัวเห็นว่าตัวเองมีอายุมากแล้ว ยากที่จะรับมือกับแผลผ่าตัดขนาดใหญ่ สุดท้ายลุงหลัวจึงปฎิเสธการผ่าตัด
เมื่อคุณลุงหลัวได้ทำความรู้จักกับเทคโนโลยีการรักษาแบบบาดแผลเล็กของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว ซึ่งมีขนาดบาดแผลเล็กเท่ารูกุญแจ ไม่ต้องทำการผ่าตัดแล้วยังรักษามะเร็งได้อีก ดังนั้นคุณลุงหลัวจึงตัดสินใจไปที่โรงพยาบาลแห่งนี้ รับการรักษาด้วยวิธีฝังแร่ไอโอดีนและคีโมเฉพาะจุดตามคำแนะนำของแพทย์
ก่อนการรักษา ปากของคุณลุงหลัวมีอาการบวมปวดถึงขั้นไม่สามารถทานอะไรได้แล้ว แต่ตอนนี้คุณลุงหลัวมีผลการรักษาที่ดีมาก สามารถอ้าปากได้ พูดคุยเสียงดังได้ มีชีวิตชีวามากขึ้น ซึ่งทำให้คุณลุงหลัวมีความสุขมาก
คุณลุงหลัวซือหมิงผู้ป่วยชาวไทยให้สัมภาษณ์กับนักข่าว
การรักษาแบบบูรณาการหลากหลายศาสตร์ได้ผลลัพธ์ที่ดี
นอกจากเทคโนโลยีการรักษาแบบบาดแผลเล็กที่ทันสมัยแล้ว ยังมีการรักษาแบบบูรณาการหลากหลายศาสตร์เข้าด้วยกันซึ่งทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ดีกว่า ผู้อำนวยการเผิงมีความเห็นว่ามะเร็งเป็นโรคที่ซับซ้อน เทคโนโลยีใดก็ตามที่ใช้วิธีการเพียงหนึ่งเดียวนั้นไม่สามารถทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ดีที่สุดได้ โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวมีผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายศาสตร์ทั้งการรักษาด้วยความเย็น การฝังแร่ไอโอดีน คีโมเฉพาะจุด และภูมิคุ้มกันบำบัด เป็นต้น ซึ่งทางโรงพยาบาลจะดูจากผลการตรวจของผู้ป่วย แล้วร่วมกันปรึกษาหาวิธีการรักษา โดยยึดข้อดีของแต่ละวิธีการรักษามาบูรณาการเพื่อการรักษาที่ได้ผลดีที่สุดของผู้ป่วย
สิงคโปร์ มาเลเซียค่าใช้จ่ายสูง
เมื่อปีพ.ศ. 2553 คุณหยวนเค่อจาง ผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารชาวเวียดนามได้มารักษาตัวที่โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว และหลังจากที่ทำการรักษาแบบบูรณาการแล้ว ในปัจจุบันผลการตรวจ PET/CT ของเขาไม่พบการเกิดใหม่ของมะเร็งแต่อย่างใด ภรรยาของคุณหยวนเค่อจางบอกว่าตอนที่นักข่าวถามเขาว่า ทำไมไม่เลือกรักษากับโรงพยาบาลที่อยู่ในเวียดนาม เขาตอบว่ามาตรฐานการรักษาของเวียดนามเมื่อเทียบกับจีนแล้วยังล้าสมัยมาก โดยเฉพาะด้านมะเร็งซึ่งเป็นโรคที่ซับซ้อนเข้าใจยาก พวกเขาไม่มีความเชื่อมั่นทางด้านการแพทย์ของเวียดนาม นักข่าวจึงถามต่อว่าแล้วถ้าอย่างนั้นทำไมถึงไม่เลือกรักษาที่สิงคโปร์หรือมาเลเซียล่ะ ภรรยาตอบว่าเพราะว่าค่าใช้จ่ายที่นั่นสูง ไม่เพียงแค่ค่ารักษายังมีค่าอยู่อาศัย ค่าครองชีพล้วนแพงกว่าประเทศจีนทั้งนั้น คุณหมอระดับอาวุโสที่สิงคโปร์สามารถหารายได้ต่อวันได้ถึงหนึ่งหมื่นถึงสองหมื่นดอลลาร์สิงคโปร์ แล้วถ้าหากต้องผ่าตัดจะได้ถึงสองหมื่นถึงสี่หมื่นดอลลาร์สิงคโปร์ แล้วถ้าหากเป็นโรงพยาบาลใหญ่ๆในสิงคโปร์ เมื่อผู้ป่วยต้องเข้าโรงพยาบาลอย่างน้อยต้องจ่ายค่ามัดจำสามหมื่นดอลลาร์สิงคโปร์ซึ่งก็เท่ากับหนึ่งแสนห้าหมื่นหยวนของจีน คือประมาณห้าแสนหนึ่งหมื่นหกพันดองของเวียดนาม ตอนที่ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลค่าใช้จ่ายจึงมักจะสูงกว่าค่ามัดจำที่จ่ายไปถึง 3 - 10เท่า
สองปีมานี้ คุณหยวนเค่อจางและภรรยาอาศัยโอกาสที่มารักษาตัวที่จีนนี้ ไปเที่ยวตามเมืองต่างๆมากมาย ชื่นชมกับความงามของทัศนียภาพซึ่งคุณหยวนเค่อจางดูแล้วมีชีวิตชีวาขึ้นมาก
คุณหยวนเค่อจางผู้ป่วยชาวเวียดนามให้สัมภาษณ์กับนักข่าว